หลายคนคงรู้จักกับภาวะความดันโลหิตสูงกันเป็นอย่างดี ซึ่งนับว่าเป็นอีกหนึ่งภาวะที่ต้องให้การดูแลใส่ใจมากเป็นพิเศษ แต่ในขณะเดียวกันภาวะอาการความดันต่ำก็เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ครอบครัวเคยมีประวัติความดันโลหิตต่ำมาก่อน ก็นับว่าเข้าข่ายเป็นภาวะความดันต่ำได้ง่ายกว่าบุคคลปกติทั่วไป เพื่อเป็นการป้องกันและห่างไกลจากภาวะนี้ มาดูกันว่าอาการความดันต่ำเป็นอย่างไร พร้อมแนะนำวิธีป้องกันที่ทุกคนต้องรู้
อาการความดันต่ำ เป็นอย่างไร
ภาวะความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะในช่วงอายุ 65 ขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะนี้ได้มากกว่าปกติ ซึ่งอาการส่วนใหญ่มักไม่มีความรุนแรง แต่ถ้าหากเกิดภาวะนี้บ่อย ๆ อาจบ่งบอกได้ว่าเป็นสัญญาณอันตรายของโรคบางอย่างที่กำลังคืบคลานเข้ามา โดยผู้ที่มีภาวะอาการความดันต่ำอาจมีอาการ ดังนี้
- วิงเวียนศีรษะ
- หน้ามืดเป็นลม
- อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้
- สายตาพร่ามัว
- ไม่มีสมาธิ
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการความดันต่ำ
สาเหตุของอาการความดันโลหิตต่ำ มักเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น การลุกขึ้นยืน เปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่านอน เป็นต้น เพราะในระหว่างที่เปลี่ยนอิริยาบถจะทำให้หัวใจมีเลือดไหลเวียนกลับมาน้อยกว่าปกติ เลือดในร่างกายไหลเวียนลงสู่ช่วงท้องและขาตามแรงโน้มถ่วง จึงทำให้ร่างกายจะปรับความดันโลหิตให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติด้วยการกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วมากขึ้น เพื่อสูบฉีดเลือดทำให้หลอดเลือดบริเวณช่วงท้องหดตัวและขาตีบลง โดยอาจมีสาเหตุหรือปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการความดันต่ำ ดังนี้
- ภาวะขาดสารอาหาร
- อายุเพิ่มมากขึ้น
- ความผิดปกติทางระบบประสาทและหัวใจ
- การสูญเสียโลหิตแบบเรื้อรัง
- การลุกนั่งกะทันหัน
- ภาวะขาดน้ำ
- มีโรคประจำตัว
- การใช้ยาบางชนิด
ภาวะแทรกซ้อนจากความดันต่ำ
ผู้ที่มีภาวะอาการความดันต่ำ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุอาจมีความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ได้รับบาดเจ็บจากการเป็นลม เช่น กระดูกหัก สมองได้รับความกระทบกระเทือน รวมทั้งยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะผิดปกติขั้นรุนแรงอื่น ๆ ที่อาจตามมา เช่น ภาวะหัวใจวาย การทำงานของอวัยวะล้มเหลว หรือโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจากภายในสมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น
การป้องกันไม่ให้เกิดอาการความดันต่ำ
อย่างที่ได้กล่าวไปว่าภาวะอาการความดันต่ำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย การป้องกันจึงอาจเป็นไปได้ยาก แต่สิ่งที่สามารถทำได้คือการดูแลตัวเองเบื้องต้น พร้อมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยสามารถทำตามได้ ดังนี้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
- ควบคุมการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงให้เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง
- หลีกเลี่ยงการลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็ว
- ขยับเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ หากต้องอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน
- ในขณะนอนควรปรับหมอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สรุปเรื่องอาการความดันต่ำ
อย่างไรก็ตาม ภาวะอาการความดันต่ำ เป็นภัยเงียบที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ในความจริงแล้วเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้อย่างมากมาย ซึ่งผู้ที่เป็นภาวะนี้อาจไม่แสดงอาการใด ๆ และไม่มีสัญญาณเตือน จึงทำให้เป็นภัยเงียบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกวัยและมีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น การตรวจเช็กสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการมีเครื่องวัดความดันด้วยตัวเองที่บ้านแบบง่าย ๆ อย่าง Microlife B3 Basic ที่มีเทคโนโลยี Smart MAM แสดงค่าเฉลี่ยความดันโลหิตที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ พร้อมรู้ทันและป้องกันภัยเงียบนี้ให้ห่างไกลได้มากที่สุด