อาการความดันโลหิตสูง สังเกตยังไง ป้องกันไว้ก่อนเป็นอันตราย

โรคความดันโลหิตสูง นับว่าเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่ต้องให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เนื่องจากความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูงอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ มาดูกันว่าอาการความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร เพื่อป้องกันและรับมือได้อย่างถูกวิธี 

อาการความดันโลหิตสูงเป็นยังไง

สำหรับอาการความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ ซึ่งมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย โรคหัวใจ เป็นต้น  โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ในบางรายอาจมีอาการความดันโลหิตสูง ดังนี้

  • ใจสั่น
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • หน้ามืด
  • เวียนศีรษะ
  • รู้สึกว่ามือและเท้าชา
  • ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด
  • เหนื่อยหอบง่าย
 

ภาวะแทรกซ้อนจากอาการความดันโลหิตสูง

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจะไม่แสดงอาการใด ๆ จึงนับว่าเป็นภัยเงียบที่สามารถทำลายสุขภาพของผู้ป่วยได้ทุกเมื่อ ซึ่งระดับความดันโลหิตสูงและอาการความดันโลหิตสูงเฉียบพลันมักก่อให้เกิดความเสียหายที่มากขึ้นตามลำดับ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจะเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนี้

  • โรคหัวใจวาย
  • โรคหลอดเลือดในสมองแตก
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองตีบ
  • โรคไตวาย
  • หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
 

แนวทางรักษาอาการความดันโลหิตสูง

หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วพบว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งแนวทางการรักษาเพื่อป้องกันและทำให้อาการความดันโลหิตสูงดีขึ้นนั้น สามารถเริ่มต้นได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ดังนี้

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม
  • งดสูบบุหรี่
  • งดดื่มแอลกอฮอล์
  • ทำจิตใจให้ผ่อนคลายไม่เครียด
  • วัดความดันด้วยตัวเองที่บ้าน
 

สรุปเรื่องอาการความดันโลหิตสูง

สำหรับผู้ป่วยที่พบว่ามีอาการความดันโลหิตสูง การเข้าพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และจะต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยความดันโลหิตที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 120 – 129 มิลลิเมตรปรอท สำหรับตัวบน และ 80 – 84 มิลลิเมตรปรอท สำหรับตัวล่าง ซึ่งสามารถวัดความดันด้วยตัวเองที่บ้านแบบง่าย ๆ ด้วย Microlife B3 Basic เครื่องวัดความดันด้วยตัวเองที่มาพร้อมเทคโนโลยี Smart MAM ช่วยให้ได้ค่าเฉลี่ยที่ถูกต้องและแม่นยำ รวมถึงยังมีเทคโนโลยี PAD ตรวจชีพจรและตรวจวัดการเต้นของหัวใจผิดปกติ โดยผ่านการทดสอบทางการแพทย์ในระดับสากล ได้แก่ ESH, BHS และ AAMI เพื่อเป็นตัวช่วยสำคัญรู้ทันภัยเงียบและสามารถป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงได้อย่างทันท่วงที