เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง

ครื่องวัดน้ำตาลในเลือด หรือเครื่องตรวจเบาหวานด้วยตัวเองนวัตกรรมใหม่เพื่อการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ที่สามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ ภายใน 5 วินาที สำหรับผู้ที่มีภาวะเบาหวาน หรือผู้ที่น้ำตาลในเลือดสูงและต่ำบ่อย ๆ สามารถพกพาได้สะดวก และใช้ได้กับทุกคน

เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด สำคัญอย่างไร ?

เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดสามารถใช้คัดกรอง และยังสามารถวินิจฉัยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจะเป็นเบาหวานได้ เป็นนวัตกรรมที่ตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยเอนไซม์ GDH-FAD with HIC ที่มีความเฉพาะในการตรวจจับน้ำตาลกลูโคส และยังช่วยลดการรบกวนของสารอาหารในเลือด และใช้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และยังช่วยตรวจเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือน้ำตาลต่ำเกินไปในผู้ป่วยเบาหวานได้

ใครที่ควรใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด ?

  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
  • ผู้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25
  • ผู้ที่มีความดันโลหิต หรือมีน้ำตาลในเลือดสูง
  • ผู้มีไขมันในเลือดสูง

วิธีใช้เข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว ทำอย่างไร ?

  • หมุนเกลียวเพื่อถอดปลอกปากกาออก 
  • ใส่เข็มเจาะเลือดลงไปให้ลงล็อคจากนั้นบิดส่วนปิดเข็มเจาะเลือดออก แล้วปิดปลอกปากกาให้ลงล็อค
  • หมุนส่วนหัวของปากกาเพื่อปรับระดับความลึกในการเจาะเลือด (ระดับ 1-6)
  • จากนั้นดึงปลายปากกาให้ได้ยินเสียงคลิ๊ก เป็นอันเตรียมเข็มเสร็จเรียบร้อย 
  • นำสำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดปลายนิ้วที่ต้องการเจาะ รอให้แห้งหมาดๆ 
  • นำปากกาที่เตรียมเข็มไว้แล้ว เจาะตรงปลายนิ้วโดยการกดตรงปุ่มข้างปากกา

ข้อดีของการใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด

การใช้เครื่องวัดน้ำตาลในเลือด มีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่มีภาวะเบาหวาน หรือผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการดูแลสุขภาพ เป็นเครื่องที่สามารถมีติดบ้านเอาไว้ได้

  1. ตรวจน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็ว สามารถวัดน้ำตาลในเลือดที่บ้านหรือที่ทำงานได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาลหรือคลินิก
  2. มีความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะตัวเครื่องมีขนาดเล็กและพกพาได้ง่าย
  3. ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถติดตามและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ 
  4. การตรวจน้ำตาลในเลือดช่วยให้สามารถติดตามและประเมินผลของการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง 
  5. เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองภาวะเบาหวาน และสามารถใช้ในการตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีภาวะเบาหวานหรือไม่ ทำให้สามารถรับรู้และรักษาโรคในระยะเริ่มต้นได้
  6. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะสามารถตรวจน้ำตาลในเลือดเองได้ที่บ้าน ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังโรงพยาบาลหรือคลินิกได้
  7.  

ระดับและเกณฑ์ของค่าน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม

ความถี่ในการตรวจระดับน้ำตาลจากปลายนิ้ว
เบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจน้ำตาลทุกวัน วันละ 3 – 4 ครั้ง
เบาหวานชนิดที่ 2 ตรวจทุก 2 – 3 วัน (ควบคุมได้ไม่ดี), ตรวจทุก 1 – 2 สัปดาห์ (ควบคุมได้ดี)

ระดับและเกณฑ์ของค่าน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม

ความถี่ในการตรวจระดับน้ำตาลจากปลายนิ้ว
เบาหวานชนิดที่ 1 ควรตรวจน้ำตาลทุกวัน วันละ 3 – 4 ครั้ง
เบาหวานชนิดที่ 2 ตรวจทุก 2 – 3 วัน (ควบคุมได้ไม่ดี), ตรวจทุก 1 – 2 สัปดาห์ (ควบคุมได้ดี)

สอบถามข้อมูลและรับส่วนลดราคาพิเศษ คลิก

สอบถามข้อมูลและรับส่วนลดราคาพิเศษ คลิก