กล่องใส่ยา หรือ ตลับยาคืออะไร?
กล่องใส่ยา หรือตลับยา เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ตอบโจทย์คนที่ต้องรับประทานยาหรือวิตามินเป็นประจำ
เพราะนอกจากจะสามารถแบ่งยาหรือวิตามินที่ต้องทานแยกใส่ตลับยาพกพาได้แล้ว ยังสามารถแบ่งใส่ได้ 7 วัน
และมีตัวอักษรขนาดใหญ่ติดไว้ด้านหน้า ทำให้สามารถหยิบมารับประทานในแต่ละวันได้โดยไม่สับสน
อีกทั้งกล่องใส่ยายังช่วยรักษาคุณภาพยาไม่ให้เสื่อมคุณภาพก่อนวันหมดอายุของยาได้อีกด้วย
กล่องใส่ยา หรือตลับยา เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ตอบโจทย์คนที่ต้องรับประทานยาหรือวิตามินเป็นประจำ เพราะนอกจากจะสามารถแบ่งยาหรือวิตามินที่ต้องทานแยกใส่ตลับยาพกพาได้แล้ว ยังสามารถแบ่งใส่ได้ 7 วันและมีตัวอักษรขนาดใหญ่ติดไว้ด้านหน้า ทำให้สามารถหยิบมารับประทานในแต่ละวันได้โดยไม่สับสน อีกทั้งกล่องใส่ยายังช่วยรักษาคุณภาพยาไม่ให้เสื่อมคุณภาพก่อนวันหมดอายุของยาได้อีกด้วย
ประโยชน์ของกล่องใส่ยา หรือตลับยา
ป้องกันการเสื่อมสลายของตัวยาสำคัญ
ไม่ว่าจะเป็นความชื้น อุณหภูมิ สารเคมี หรือแสงแดด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสื่อมสลายของตัวยา และทำให้ปริมาณของตัวยาที่สำคัญในการรักษาอาการลดลง จนไม่สามารถรักษาหรือบรรเทาอาการได้ดีเท่าที่ควร
พกพาสะดวก
เพราะถูกออกแบบมาให้มีขนาดที่เหมาะสมต่อการพกพา ทำให้สามารถแบ่งยาและพกพาไปรับประทานระหว่างวันได้อย่างสะดวกสบาย
ช่องเก็บยามีขนาดที่พอเหมาะ
ช่องเก็บยาถูกออกแบบมาให้มีขนาดพอเหมาะ ไม่ว่าเม็ดยาจะมีขนาดใหญ่ หรือต้องการใส่ในปริมาณมาก ก็สามารถใส่ได้ครบ
แบ่งยาได้ 7 วัน
ช่องใส่ยาสามารถแบ่งใส่ยาได้ 7 วัน และบริเวณฝาของแต่ละช่อง จะมีตัวอักษรกำกับขนาดใหญ่ พร้อมอักษรเบรลล์ เพื่อป้องกันความสับสนในการรับประทานยาได้อีกด้วย
คำแนะนำในการจัดเก็บหรือบรรจุยาลงในกล่องใส่ยา หรือตลับยา
ไม่ควรแกะยาที่บรรจุในแผงหรือภาชนะออกมา
ไม่ควรแกะยาที่บรรจุในแผงหรือแบ่งออกจากภาชนะ เช่น แผงยา กระปุกยา หรือขวดยา เป็นต้น ที่ทางผู้ผลิตได้บรรจุมาไว้แต่แรกเพราะประเภทบรรจุภัณฑ์เริ่มแรกนั้นจะได้มาตรฐานตามที่ตำรายาระบุไว้
ตัดแบ่งแผงยาเป็นขนาดย่อย
กรณีที่ต้องการแบ่งยาที่บรรจุในแผง สามารถทำได้ด้วยการตัดแบ่งแผงยาออกเป็นขนาดย่อย ๆ และบรรจุลงในกล่องใส่ยา หรือตลับยาที่เตรียมไว้ โดยขอบแผงยาที่ตัดแล้วจะต้องไม่มีส่วนใดฉีกขาด หรือมีรูรั่วทะลุถึงส่วนที่บรรจุเม็ดยา
เลือกภาชนะเก็บยาที่ปิดแน่น
กรณีที่ต้องการแบ่งยาออกจากกระปุกหรือแกะยาออกจากแผง ให้เลือกภาชนะที่ปิดแน่นและมีคุณสมบัติกันแสงได้ เช่น กล่องใส่ยา ตลับยา ซองยา เป็นต้น และจะต้องปิดภาชนะให้สนิทอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังไม่ควรแบ่งยาเพื่อรับประทานเกิน 1 อาทิตย์
หมั่นสังเกตลักษณะยา
หากแบ่งยามาเก็บไว้ในกล่องใส่ยา ควรจะสังเกตลักษณะของยาก่อนรับประทานทุกครั้ง หากพบว่าเม็ดยามีลักษณะที่ผิดปกติ หรือเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยทาน ควรงดการรับประทานยาดังกล่าว และปรึกษาเภสัชกร
FAQ ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับกล่องใส่ยา
รวมข้อสงสัยเพิ่มเติม เกี่ยวกับกล่องใส่ยา ตลับยา สามารถหาคำตอบได้ที่นี่
สำหรับผู้พิการทางสายตา สามารถใช้งานกล่องใส่ยาของเราได้ เนื่องจากบริเวณฝาปิดจะมีอักษรเบรลล์ระบุไว้ที่ด้านบนของช่องบรรจุยาของแต่ละช่อง
– เปิดช่องบรรจุยาเพื่อบรรจุยาใส่ในช่องยาตามแพทย์สั่ง
– จัดลำดับการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง จากนั้นปิดช่องบรรจุยาให้สนิท
– มีอักษรเบรลล์ระบุไว้ที่ด้านบนของช่องบรรจุยาของแต่ละช่อง สำหรับผู้พิการทางตาสาย
หากต้องการสังเกตว่า ยาเม็ดที่นำมาแบ่งไว้ในกล่องใส่ยาเกิดการเสื่อมสภาพหรือไม่ สามารถสังเกตได้ดังนี้
– หากเป็นยาเม็ดจะมีลักษณะแตกร่วน สีเปลี่ยน มีจุดด่างและขึ้นรา
– หากเป็นยาเม็ดเคลือบน้ำตาลอาจมีการเยิ้มเหนียวหรือมีกลิ่นผิดไปจากเดิม
– หากเป็นแคปซูลจะมีลักษณะพองออก และผงยาในแคปซูลเปลี่ยนสี จับกันเป็นก้อน
– หากเป็นแคปซูลเนื้อนิ่ม เปลือกแคปซูลจะเยิ้มเหลว เหนียวกว่าปกติ แคปซูลเปื่อยทะลุ ทำให้ตัวยาไหลออกมาด้านนอก
สอบถามข้อมูลและรับส่วนลดราคาพิเศษ คลิก
สอบถามข้อมูลและรับส่วนลดราคาพิเศษ คลิก