ดูแลตนเอง… เมื่อความดันโลหิตสูง

ดูแลตนเอง… เมื่อความดันโลหิตสูง

กาวัดความดันต้องรู้ว่า ค่าความดันค่าบนและค่าล่างหมายความว่าอย่างไร ความดันโลหิต หรือ แรงดันในเส้นเลือดแดงมี 2 ค่าคือ ค่าความดันขณะหัวใจบีบตัว (ค่าตัวบน) และค่าความดันขณะหัวใจคลายตัว (ค่าตัวล่าง) ซึ่งใช้ หน่วยวัดเป็นมิลเมตรปรอท ในคนที่อายุ 18 ปี ขึ้นไปค่าความดันโลหิตไม่ควรเกิน 120/80 มม.ปรอท ส่วนผู้ที่มีค่าความดันโลหิต อยู่ระหว่าง  120 – 139 / 80 – 89  มม.ปรอท จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราว คือ อารมณ์หรือลักษณะกิจกรรมที่ทําในแต่ละวัน โดยทั่วไปควรวัดความดันตอนเช้าหลังตื่น เพราะเป็นช่วงเวลาที่เรายังไม่ทานอาหารหรือออกกำลังกาย การวัดความดันช่วงเวลานี้จะได้ค่าที่แม่นยำกว่า

 

ความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร

ความดันโลหิตสูง หมายถึง การมีค่าความดันโลหิตตัวบน 140 มม.ปรอท หรือมากกว่า หรือมีค่าความดันตัวล่าง 90 มม.ปรอท หรือมากกว่า โดยวัดหลังจากนั่งพัก 5 นาที และวัดซ้ำใน 2 – 3 วันต่อมา หรือจะวัดความดันหลังตื่นนอนตอนเช้า ก็จะให้ค่าที่แม่นยำ

 

ประเภทของโรคความดันโลหิตสูง

ประเภทที่มีสาเหตุจากโรคอื่น เช่น โรคเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต ภาวะไตวาย โรคเนื้องอกของสมอง ภาวะครรภ์เป็นพิษ การได้รับยาหรือสารบางชนิด เป็นต้น ซึ่งพบประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ป่วยประเภทที่ไม่ทราบสาเหตุพบประมาณร้อยละ 90-95 ของผู้ป่วยส่วนใหญ่ ตรวจพบโดยบังเอิญ โดยมักพบในผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุหรือกลุ่มที่มีปัจจัย เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง คือ กรรมพันธุ์ อ้วน ไขมันในเลือดสูง ขาดการ ออกกำลังกายและรับประทานอาหารเค็ม

 

อาการแสดงของโรคความดันโลหิตสูง

ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้มีความดันโลหิตสูงจะไม่มีอาการ จึงไม่รู้ว่าตนเอง จะแสดงอาการก็เมื่อเป็นมากและเป็นนาน อาการที่พบ ก็เช่น ปวดศีรษะ บริเวณท้ายทอยในตอนเช้าอาจมีคลื่นไส้หรือ ตามัวร่วมด้วย ส่วนอาการที่ พบในคนที่ความดันโลหิตสูงระดับรุนแรงหรือความดันโลหิตเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว คือ มีเลือดกําเดาออก เหนื่อยง่าย เพราะหัวใจต้องรับภาวะของความดันโลหิตสูงนาน

 

การรักษา

โรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมให้ อยู่ในระดับปกติได้เพื่อป้องกันความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ โดยใช้ยาร่วมกับ การปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม รวมทั้งการรับประทานยา เพื่อควบคุมความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ซึ่งตัวยามีหลายชนิด ได้แก่ ยาขับปัสสาวะเพื่อลดจํานวนเกลือและน้ําในร่างกาย ทําให้ความดันโลหิต ลดลง หลังกินยาจะปัสสาวะบ่อย อาจมีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด ท้องอืดหรือเป็นตะคริวได้ ยาช่วยลดความดันโลหิต มีหลายชนิดแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้ตาม ความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่าง สม่ำเสมอ หากมีอาการข้างเคียงต้องปรึกษาแพทย์ทันที ทั้งนี้เพื่อปรับ เลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับอาการ

 

อันตรายจากโรคความดันโลหิตสูง

♦ อัมพาต เนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ แตก หรืออุดตัน

♦ ตามัว หรือตาบอด เนื่องจากหลอดเลือดในลูกตาตีบตัน หรือแตก

♦ ไตวายหรือ ไตพิการ เนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบ

♦ หัวใจวาย ถ้ารุนแรงอาจชัก หมดสติและเสียชีวิตได้

 

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง

♦ อาหาร ควรงดอาหารที่มีรสเค็ม หรือปรุงโดยสารที่ให้รสเค็ม เช่น เกลือ รวมทั้งผงชูรสและผงฟูทําขนมปัง

♦ รับประทานผักผลไม้ทุกมื้อเพราะมีแมกนีเซียมและกากใยช่วยลด ความดันโลหิต รวมทั้งรับประทานถั่วและธัญพืชอย่างเพียงพอ เพราะมี กากใยชนิดละลายน้ําช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ ที่สําคัญควรลด หรืองดรับประทานไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ น้ํามันสัตว์ เนื้อสัตว์ติดมัน

♦ ควรควบคุมน้ําหนัก โดยลดการรับประทานน้ํามันไขมันน้ําตาลแป้ง

♦ ออกกําลังกาย แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนออกกําลังกาย เนื่องจาก บางรายอาจต้องควบคุมความดันโลหิตก่อนและเลือกออกกําลังกายที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องชนิดเบาถึงปานกลาง ระยะเวลา 30-40 นาที 3-5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เช่น เดินเร็ว 30-40 นาที ทุกวัน แต่ควร หลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่ใช้การออกแรงดัน เช่น การยกน้ําหนัก เพราะจะทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

♦ ความเครียดมีผลต่อความดันโลหิต จึงควรฝึกการผ่อนคลาย โดยการ บริหารจิต การมีเมตตา การเจริญสติ สมาธิ

♦ งดสูบบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่ทําให้เกิดการอักเสบของผนัง เส้นเลือด หลอดเลือดแข็งตัวเร็วขึ้น

♦ งดดื่มสุรา ยาดองของมึนเมาที่มีแอลกอฮอล์ทําให้ความดันโลหิตสูง หัวใจวายได้

♦ รับประทานยาให้สม่ำเสมอและต่อเนื่องตามที่แพทย์กําหนด ไม่ปรับเพิ่ม หรือลดยาเอง พร้อมทั้งวัดความดันโลหิตเป็นระยะ