สำหรับปัญหาสุขภาพ สามารถพบได้ทั่วไปรอบตัว เพราะมีปัจจัยเสี่ยงรอบตัว ที่เต็มไปด้วยเชื้อโรค และมลพิษเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบที่เกิดต่อระบบทางเดินหายใจ แต่หลายคนก็อาจจะลืมนึกไปแล้วว่า โรคที่ควรระมัดระวัง และมีโอกาสสูงมากที่จะเป็นได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับ มลภาวะรอบตัว ก็คือ โรคความดันโลหิต มีความเสี่ยงที่จะเป็นได้ทุกเพศทุกวัย ดังนั้นตามเราไปทำความรู้จักกันเลย วัดความดันตอนไหนดี? ตามไปรู้จักการวัดความดันโลหิตให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ก่อนที่จะสายจนเกินไป
ความดันโลหิตคืออะไร
ความดันโลหิต ก็คือ ค่าของความดันกระแสเลือด ที่ได้มีการส่งแรงกระทบ กับผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งจะมีการเกิดกระบวนการสูบฉีดเลือดของหัวใจ สามารถที่จะวัดความดันโลหิตได้ด้วยการ 2 ค่า ก็คือ ค่าความดันโลหิตช่วงบน ที่เกิดมาจากการบีบตัวของหัวใจ และค่าความดันโลหิตช่วงล่าง ที่ได้เกิดมาจากการคลายตัวของหัวใจ ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้น ก็จะมีทั้งความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตต่ำ สามารถหาค่าดังกล่าวได้ด้วยจากการวัดความดันโลหิต โดยเครื่องวัดความดันโลหิต
เครื่องวัดความดัน ควรมีติดบ้านไว้ วัดได้ทุกวัน
เครื่องวัดความดันดิจิตอล เป็นอุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้านไว้ โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ที่จะต้องมีการระมัดระวังค่าความดันโลหิตเป็นประจำ นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ยังควรมีเครื่องวัดความดันไว้กับตัวตลอดเวลา โดยเครื่องวัดความดันโลหิตจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินการรักษาได้ดี และได้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลง เห็นถึงความผิดปกติ ได้ก่อนที่จะเกิดอันตรายแก่ร่างกาย
วัดความดันตอนไหนดีที่สุด?
โดยหลักการแล้ว ในช่วงแรกหรือเริ่มต้นใช้เครื่องวัดความดัน ควรวัดความดันทุก 2 ช.ม. เพื่อดูว่า ความดันขึ้นหรือลงในช่วงใดบ้างของชีวิตประจำวัน มีความสัมพันธ์กับยาลดความดัน อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์อย่างไรบ้าง แต่ไม่ควรวัดเกิน 4 ครั้งต่อวัน เนื่องจากการวัดความดันโลหิตบ่อยครั้ง ถือว่าเป็นวิธีการวัดที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากจะได้การอ่านค่าเครื่องวัดความดันที่ไม่แม่นยำ จนทำให้คนไข้บางคนอาจจะคิดว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งหากถามว่า วัดความดันตอนไหนดี? สามารถจัดสรรช่วงเวลาในการวัดความดันได้ดังนี้
- วัดช่วงเช้า ภายใน 1 ชั่วโมง หลังตื่นนอนและปัสสาวะ จำนวน 2 ครั้งติดกัน ห่างกัน 1 นาที
- วัดช่วงเย็นก่อนเข้านอน 2 ครั้งติดกัน ห่างกัน 1 นาที
โดยหลังวัดความดันทุกครั้ง ควรบันทึกข้อมูลของความดันโลหิต ความเร็วของชีพจร ยาที่รับประทานทั้งชนิด ขนาด จำนวนครั้ง รวมถึงบันทึกย่อในเรื่องของอาหารและกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงเวลานั้น ๆ ไว้ด้วย หลังจากได้ข้อมูลพื้นฐานแล้ว จะทราบได้ด้วยตนเองว่า ยาออกฤทธิ์เมื่อใด มาก น้อย หรือนานเพียงใด สมควรที่จะต้องปรับยาหรือไม่? รวมถึงมีผลข้างเคียงของยาอย่างไรบ้าง? และเมื่อมีข้อมูลพื้นฐานของตนเองตามสมควรแล้ว ก็ควรวัดความดันวันละ 2-3 ครั้ง คือ
- ครั้งที่ 1 ช่วงเช้า เมื่อตื่นนอนตอนเช้าก็วัดเลย ซึ่งเป็นช่วงที่ยามักจะหมดฤทธิ์แล้ว และความดันก็มักจะขึ้นสูงในช่วงเวลานี้
- ครั้งที่ 2 ช่วงบ่าย ประมาณบ่าย 2-4 โมง เป็นช่วงที่ความดันมักจะต่ำ เพราะยาลดความดันมักจะออกฤทธิ์เต็มที่ในช่วงเวลานี้
- ครั้งที่ 3 ช่วงค่ำ ประมาณ 2 ทุ่ม ซึ่งมักจะเป็นช่วงเวลาที่ยาเริ่มออกฤทธิ์ลดลง
ระดับความดันโลหิตแต่ละช่วง?
- ต่ำกว่า 120 มม. ปรอท / ต่ำกว่า 80 มม. ปรอท ความดันโลหิตที่เหมาะสม
- 20 – 129 มม. ปรอท / 80 – 84 มม. ปรอท ความดันโลหิตปกติ
- 130 – 139 มม. ปรอท / 85 – 89 มม. ปรอท เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง
- 140 – 159 มม. ปรอท / 90 – 99 มม. ปรอท ความดันโลหิตสูงขั้นที่
- 160 – 179 มม. ปรอท / 100 – 109 มม. ปรอท ความดันโลหิตสูงขั้นที่ 2
ค่าความดันปกติ แต่ละช่วงอายุ ควรอยู่ที่เท่าไหร่?
- วัยทารก : ไม่เกิน 90/60 มิลลิเมตรปรอท
- อายุ3 – 6 ปี : ไม่เกิน 110/70 มิลลิเมตรปรอท
- อายุ 7 – 17 ปี : ไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท
- อายุ 18 ปีขึ้นไป : ไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท
- ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป : ไม่เกิน 160/90 มิลลิเมตรปรอท
กินยาลดความดันแล้วมีอาการแบบนี้ หมายถึงอะไร?
ในยุคปัจจุบัน เรามักชอบที่จะใช้ยาแบบรับประทานวันละ 1 เม็ด ตอนเช้า เพราะเป็นยาที่ออกฤทธิ์ 24 ชั่วโมง ซึ่งข้อดีของยาแบบนี้ คือ รับประทานเพียงวันละ 1 ครั้งเท่านั้น แต่ข้อเสียคือ มักจะควบคุมความดันได้ดีเฉพาะในช่วงบ่าย เนื่องจากเป็นช่วงที่ยาออกฤทธิ์เต็มที่ ดังนั้น ผู้ที่รับประทานยาแบบนี้แล้วพบว่า ความดันในช่วงเช้ามืดยังสูงเกินไป ก็ควรรายงานคุณแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อพิจารณาปรับยาหรือเพิ่มยาในช่วงค่ำ จะได้ทำให้สามารถควบคุมความดันตอนใกล้สว่างและเช้ามืด แต่หากมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้น สามารถพิจารณาสาเหตุได้ ดังนี้
- ยาลดความดันที่รับประทานตอนเช้าแล้วทำให้ความดันช่วงบ่ายพอดี ถือว่า ยามื้อเช้ากำลังพอเหมาะสำหรับการควบคุมความดันตอนบ่าย
- ถ้าพบว่า ความดันในช่วงบ่ายยังสูงเกินไป ก็แสดงว่า ยาลดความดันในมื้อเช้านั้น มีความแรงน้อยเกินไป สมควรพิจารณาเพิ่มยาหรือเสริมยาในมื้อเช้าของวันถัดไป
- ถ้าพบว่า ความดันในช่วงบ่ายต่ำมากเกินไป ก็แสดงว่า ยาลดความดันในมื้อเช้านั้น มีความแรงมากเกินไป สมควรพิจารณาลดยาในมื้อเช้าของวันถัดไป
- ถ้าพบว่า ความดันในช่วงค่ำสูงเกินไป ก็แสดงว่า ยาลดความดันในมื้อเช้านั้น หมดฤทธิ์ อาจจะเป็นผลให้ตอนกลางดึกและตอนเช้ามืดมีความดันสูง
ทำไมตอนเช้าความดันสูง?
โดยทั่วไปแล้ว ความดันมักชอบขึ้นตอนใกล้สว่างและเช้ามืด เพราะเป็นช่วงเวลาที่ยาหมดฤทธิ์ ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่รับประทานตั้งแต่เช้านั้น มักจะเริ่มหมดฤทธิ์ตั้งแต่ตอนค่ำแล้ว จึงเป็นผลให้บางคนมีปัญหาจากเส้นเลือดในสมองแตกตอนใกล้สว่างเนื่องจากความดันที่สูงเกินไป
ดังนั้น คนที่รับประทานยาความดันชนิดวันละครั้งหรือชนิดออกฤทธิ์ 24 ชั่วโมง และรับประทานในช่วงเช้าแล้วมีความดันสูงเกินไปในช่วงค่ำเช่นนี้ ควรพิจารณารับประทานยาเสริมตัวอื่นในช่วงค่ำ หรือใช้ยาตัวเดิมแต่รับประทานทานเสริมอีกครั้งในช่วงค่ำ เพื่อควบคุมความดันไว้ได้ทั้งคืนไปจนถึงเช้ามืด
ทั้งนี้ การเสริมยาในช่วงค่ำจำเป็นจะต้องปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้เสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายที่คุณหมอไม่ได้สั่งไว้ก่อน เพราะการเสริมยาโดยไม่ถูกต้อง การรับประทานยาที่ออกฤทธิ์แรง หรือรับประทานในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดอันตรายจากความดันที่ลดลงทั้งคืน จนทำให้สมองขาดเลือด หรือเส้นเลือดในสมองเกิดการอุดตันได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ “วัดความดันตอนไหนดี”
1. วัดความดันตอนไหนดี ควรวัดความดันทุกวันไหม
วัดความดันโลหิตได้ทุกวัน วันละ 4 ครั้ง
2. ความดันปกติควรอยู่ที่เท่าไร
ค่าความดันปกติอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตร
3. เครื่องวัดความดันควรมีติดบ้านไหม
ควรมี เพื่อช่วยประเมินการรักษาได้ดี ทราบถึงความเปลี่ยนแปลง เห็นถึงความผิดปกติ
4. ความดัน 100/60 ปกติไหม
ปกติ
5. วัดความดันบ่อยมีผลเสียไหม
มี เนื่องจากจะได้ผลการวัดความดันโลหิตที่ไม่แม่นยำ ควรวัดเพียง วันละ 4 ครั้ง
6. ความดันขนาดไหนอันตราย
160 – 179 มม. ปรอท / 100 – 109 มม. ปรอท
7. ผู้สูงอายุควรมีความดันเท่าไร
ไม่เกิน 160/90 มิลลิเมตรปรอท