ทำความรู้จักกับ ภาวะตัวเย็นกว่าปกติ hypothermia คืออะไร

ภาวะตัวเย็น เป็นอีกหนึ่งภัยอันตรายที่หลายคนอาจยังไม่คุ้นชื่อและไม่เคยรู้จักมาก่อน โดยภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวควรรู้จักวิธีป้องกันตัวเองเพื่อให้ห่างไกลภาวะนี้ เพราะถ้าหากได้รับผลกระทบอาจส่งผลอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักภาวะตัวเย็นกว่าปกติ พร้อมกันในบทความนี้

hypothermia คืออะไร

Hypothermia หรือภาวะตัวเย็น คือภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ซึ่งปกติแล้วอุณหภูมิร่างกายควรอยู่ที่ประมาณ 36.2 – 36.3 องศาเซลเซียส โดยร่างกายจะสูญเสียความร้อนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมไปถึงระบบประสาทส่วนกลาง จนทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดบวม ไข้หวัด หลอดเลือดสมอง และความดันโลหิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

สาเหตุของภาวะตัวเย็น hypothermia มาจากอะไร

ภาวะตัวเย็น (Hypothermia) เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ร่างกายสูญเสียอุณหภูมิความร้อนลดลงอย่างต่อเนื่อง  จนถึงขั้นลดลงไปอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกายที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะตัวเย็นสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ดังนี้

  • ร่างกายสัมผัสความเย็นโดยตรง
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่มีความหนาไม่มากพอ
  • อยู่ในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ
  • ร่างกายสูญเสียกลไกในการปรับอุณหภูมิ
  • ร่างกายมีปริมาณไขมันน้อย
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความผิดปกติต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
  • มีการใช้ยาบางชนิด
  • ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนเร็วกว่าปกติ

อาการของ hypothermia เป็นแบ่งได้ 3 ระดับ

ภาวะตัวเย็น หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว แต่ถ้าหากได้รับการรักษาจากแพทย์ก็จะมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าร้อยละ 75 ซึ่งอาการของภาวะตัวเย็นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

อาการไม่รุนแรง

หากร่างกายมีอุณหภูมิลดลงถึงระดับประมาณ 32 – 35 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หนาวสั่น หายใจถี่ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ พูดไม่ชัด และมีปัญหาในการควบคุมร่างกาย

อาการรุนแรงปานกลาง

ในส่วนผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิร่างกายประมาณ 28 – 32 องศาเซลเซียส จะมีอาการคล้ายคลึงกับในกลุ่มแรกที่ไม่รุนแรงมากนัก แต่จะเพิ่มระดับความรุนแรงที่อาจส่งผลทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันหรือกระทำบางอย่างได้ง่ายเหมือนเดิม

อาการรุนแรงมาก

ส่วนผู้ป่วยที่ถูกจัดอยู่ในระดับอาการรุนแรงมากจะมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส พร้อมด้วยอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ชีพจรเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ มีการหายใจที่ช้าลง เกิดอาการมึนงง มีภาวะโคม่าถึงขั้นเสียชีวิตได้

สรุปเรื่องภาวะตัวเย็น

อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีอาการเข้าข่ายภาวะตัวเย็น ควรรีบหาวิธีเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย เพื่อให้ระบบการทำงานภายในร่างกายสามารถกลับมาทำงานได้อย่างปกติ ซึ่งควรได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันอาการทรุดลงที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิต นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่อยู่ในระดับปกติ และการหลีกเลี่ยงอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง พร้อมจัดสภาพแวดล้อมให้มีความอบอุ่นอยู่เสมอ และตรวจเช็กอุณหภูมิร่างกายด้วยที่วัดอุณหภูมิดิจิทัล เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงภาวะตัวเย็น