อาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุอันตรายกว่าที่คิด รีบเช็กด่วนก่อนสายเกินไป โดยเราจะเห็นอยู่บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุไม่ค่อยทานอะไร ทานน้อย หรือแม้แต่ทานไปแล้วแต่รู้สึกไม่อร่อย ทำให้ผู้ดูแลมีความกังวลใจ
เพราะเมื่อเกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุขึ้น จะส่งผลให้เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เพราะร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ในบทความนี้ SAMH จะมาแนะนำข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ พร้อมวิธีการแก้ปัญหานี้ให้กับทุกท่านกัน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุมีหลายประการด้วยกัน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ฮอร์โมน การเจ็บป่วยเรื้อรัง ความต้องการสารอาหาร และปัญหาช่องปาก โดยมีรายละเอียดแต่ละปัจจัยดังต่อไปนี้
1. การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุขึ้น อย่างเช่น
- ร่างกายมีการผลิตน้ำลายลดลง : ทำให้ผู้สูงอายุมีการกลืนที่ลำบาก รวมไปถึงการคลุกเคล้าอาหารมีปัญหา
- ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบทางเดินอาหาร : ในผู้สูงอายุจะใช้ระยะเวลาในการย่อยอาหารนานขึ้น เนื่องจากมีน้ำย่อยในกระเพาะอาหารน้อยลง การบีบและคลายตัวของกระเพาะอาหารช้าลง ลำไส้ทำงานผิดปกติ ย่อยอาหารได้ยากขึ้น และผู้สูงอายุอาจรู้สึกแน่นท้องร่วมด้วย จึงทำให้มีความอยากอาหารในมื้อต่อไปลดลง
- อาการท้องผูก : สำหรับปัญหานี้พบได้บ่อยและมีส่วนทำให้ความอยากอาหารลดลงและรู้สึกท้องอืด จนก่อให้เกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุในที่สุด
2. การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน
สำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ฮอร์โมนกรีลิน (ghrelin) ลดลง : เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความหิว โดยฮอร์โมนนี้หลั่งออกมาให้กับเซลล์กระเพาะอาหาร หลังจากที่ปล่อยพลังงานออกมาที่สมองแล้ว ต่อจากนั้นจะมีการกระตุ้นความหิวของร่างกาย หากฮอร์โมนกรีลินลดลง ความอยากอาหารจึงลดลงตามไปด้วย
- ฮอร์โมนคอเลซิสโทไคนิน (Cholecystokinin) เพิ่มขึ้น : เป็นฮอร์โมนที่ช่วยระงับความหิว หากฮอร์โมนนี้ในร่างกายเพิ่ม ก็จะเกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุตามไปด้วย
- ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) เพิ่มขึ้น : เป็นฮอร์โมนความอิ่ม โดยมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมน้ำหนักตัวและความอยากอาหาร หากฮอร์โมนเลปตินเพิ่ม ทำให้ความอยากอาหารลดลงนั่นเอง
3. การเจ็บป่วยเรื้อรัง
การที่ร่างกายผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ ไตวาย โรคตับ รวมไปถึงการใช้ยารักษาโรคที่ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เช่น ยารักษาความดันโลหิต ยาฆ่าเชื้อบางชนิด ยาโรคหัวใจ ยาขับปัสสาวะ และโดยเฉพาะยาลดไขมัน สิ่งเหล่านี้มักส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความยากอาหารลดลง
แนวทางที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเบื้องต้น เพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นนั้น คือ ไอเทมเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดจะช่วยป้องกันการน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคต่าง ๆ แทรกซ้อนได้อย่างเช่น โรคความดันโลหิต โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น
4. ความต้องการสารอาหาร
ความต้องการสารอาหารในร่างกาย ขึ้นอยู่กับกิจกรรมในแต่ละวันและพลังงานที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ ผู้สูงวัยมีการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง ส่งผลทำให้มวลกล้ามเนื้อลดตามไปด้วย และแน่นอนว่าไขมันจะเพิ่มขึ้น ทำให้มีแหล่งสะสมพลังงานในร่างกายเพียงพอต่อการใช้งาน จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุขึ้นนั่นเอง
5. ปัญหาช่องปาก
ปัญหาช่องปากนับว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ เนื่องจากทำให้การเคี้ยวอาหารมีประสิทธิภาพลดลง รวมทั้งอาจมีปัญหาสุขภาพเหงือกและฟันที่ไม่แข็งแรง เช่น ฟันบิ่น ฟันหัก ฟันผุ เหงือกร่น และฟันปลอมหลวม ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดขณะเคี้ยวหรือกลืนอาหาร จึงพยายามเลี่ยงการทานอาหารอยู่บ่อยครั้ง
แต่ในผู้สูงอายุบางรายก็มีอาการภาวะน้ำลายแห้ง ฝืดคอขณะเคี้ยวอาหาร เนื่องจากความชื้นในช่องปากลดลง และต้องเผชิญกับภาวะกลืนลำบาก สำลักอาหารและน้ำบ่อย จนทำให้ไม่อยากทานอาหารไปเลย ถึงจะเป็นอาหารจานโปรดก็ตาม
อาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุส่งผลเสียยังไง
เมื่อเกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ จะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุหลายประการดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ร่างกายจะติดเชื้อ และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เนื่องจากร่างกายไม่แข็งแรง และระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดีดังเดิม
- เผชิญกับโรคขาดสารอาหาร เช่น ร่างกายขาดโปรตีน ทำให้น้ำหนักลดลง กล้ามเนื้อแขนขาลีบ ทรงตัวยาก และเกิดอาการท้องผูก
- ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย
- เกิดโรคขาดวิตามิน โรคกระดูกพรุน เลือดออกง่ายผิดปกติและยิ่งป่วยเป็นโรคเบาหวานด้วยอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งในการดูแลผู้สูงอายุจึงควรมีอุปกรณ์เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เพื่อคอยติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
- ในผู้สูงอายุบางรายหากร่างกายขาดสารอาหารสะสม อาจเกิดอาการต่าง ๆ เช่น หมดสติ ตะคริว หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
แก้ปัญหาอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ
สำหรับวิธีการแก้ปัญหาหากเกิดอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุนั้น มีด้วยกันหลายแนวทาง เช่น
- เลือกอาหารชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุทานได้ง่าย ไม่แน่นท้อง เคี้ยวง่าย เนื้อนิ่มละเอียด และไม่แห้งจนเกินไป อีกทั้งต้องเลือกอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุหรืออาหารที่สอดคล้องกับโรคที่รักษาอยู่
- วางแผนการรับประทานทานอาหารให้ผู้สูงอายุ โดยจดเวลาที่แน่นอน และสร้างตาราง เพื่อช่วยเตรียมอาหารในแต่มื้อให้ผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
- หากผู้สูงอายุเกิดอาการปากแห้ง อันเนื่องจากการผลิตน้ำลายลดลง แนะนำให้หมั่นจิบน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพื่อลดอาการปากแห้ง ทั้งนี้สามารถหาซื้อเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนการสร้างน้ำลายได้
- ตรวจสุขภาพช่องปากเสมอ หากมีปัญหาเกี่ยวกับการเคี้ยวอาหาร หรือเกี่ยวกับฟัน ให้ปรึกษาทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
สรุปบทความ
จะเห็นได้ว่าอาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุนั้น เป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอันตรายกว่าที่คิด ก่อให้เกิดโรคและอาการต่าง ๆ ที่ไม่พึงประสงค์ตามมา โดยสิ่งแรกที่ต้องทำ คือ หาสาเหตุของปัญหานี้ก่อนว่าเกิดจากปัจจัยใดเป็นหลัก ตรวจเช็กอาการ เพื่อหาแนวทางการรักษาต่อไป
ทั้งนี้หากแก้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตามครอบครัวจะต้องดูแลเอาใจใส่และเข้าใจในตัวผู้สูงอายุ จะทำให้สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมนั่นเอง