วิธีวัดไข้ลูกน้อยที่ถูกต้อง

วิธีวัดไข้ลูกน้อยที่ถูกต้อง

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่คงจะประสบปัญหาไม่น้อยกับการวัดไข้ลูกให้ถูกต้อง เพราะการวัดไข้มีความสำคัญในการระบุอาหารว่าลูกน้อยเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด ซึ่งการวัดไข้ก็สามารถวัดได้หลายทางอาทิเช่น ทางหู จมูก ปาก ทวารหนัก แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป อาการไข้ หรือ อาการตัวร้อน หมายถึงการที่ร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น มากกว่า 37.4 องศา เพราะอุณภูมิปกติทั่วไป คือ 36.5 – 37.4 องศา ซึ่งหากมีอุณภูมิสูงมากขึ้น ร่างกายจะสั่นสะท้านได้เนื่องมาจากกล้ามเนื้อตึงตัวเพิ่มขึ้น ทีนี้การวัดไข้ก็ต้องทราบว่าระดับของไข้มีอุณหภูมิแตกต่างกันดังนี้

ไข้ต่ำอุณหภูมิ 37.5 – 38.4 องศา

ไข้ปานกลาง 38.5 – 39.4 องศา

ไข้สูง 39.5 – 40.4 องศาเซลเซียส

และหากวัดไข้แล้วมีอุณหภูมิตั้งแต่ 40.5 องศาขึ้นไป แสดงว่ามีไข้สูงมาก โดยหากมีไข้สูงถือว่าเป็นระดับที่อันตรายแล้ว ควรรีบพบแพทย์ด่วน และเพื่อให้การวัดไข้ถูกต้องมาดูวิธีการวัดไข้แต่ละประเภทกันเลยค่ะ

 

1. การวัดไข้ ใต้รักแร้

เป็นวิธีการวัดไข้ที่ง่ายและสะดวก ใช้ได้ทั้งเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทและดิจิตอล วิธีการคือต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าบริเวณใต้วงแขนของเด็กน้อยแห้งสนิท จากนั้นใส่บริเวณกระเปาะไว้ใต้แขน ให้แนบชิดกับผิวหนัง หากเด็กดิ้นให้หาอะไรให้เด็กทำเพื่อผ่อนคลาย โดยให้เทอร์โมมิเตอร์ค้างไว้ประมาณ 2 นาที แล้วอ่านค่า

 

2. การวัดไข้ทางปาก

วิธีนี้ต้องระวังโดยเฉพาะถ้าใช้ปรอทวัดไข้ โดยเหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป เพราะถ้าเด็กเกินไปอาจกัดปรอทวัดไข้หัก จนเกิดอันตรายได้ ซึ่งหากไม่แน่ใจก็ควรใช้ดิจิตอลเทอร์โมมิเตอร์ ที่ไม่มีส่วนผสมของปรอท ถ้าเด็กเผลอไปกัดก็ไม่เป็นอะไร โดยวิธีทางปากจะวัดอุณหภูมิได้แม่นยำ และไม่ยุ่งยาก เพียงวางเทอร์โมมิเตอร์ใต้ลิ้นประมาณ 2 นาที แล้วอ่านค่า

 

3. การวัดไข้ทางทวารหนัก

วิธีนี้อาจไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าใดนัก แต่ก็ยังมีใช้กันบ้างตามอาการของผู้ป่วย อีกทั้งยังอ่านค่าได้เร็วด้วย วิธีการคือทากระเปาะของปรอทด้วยวาสลีนเพื่อหล่อลื่น แล้วจับเด็กนอนหงายในท่าที่สบาย ใช้มือข้างหนึ่งจับข้อเท้าทั้ง 2 ข้างของเด็กยกขึ้น หรือจับให้ลูกนอนคว่ำบนตัก วางมือบนหลังเพื่อป้องกันเด็กดิ้น ค่อยๆ สอดแท่งปรอทเข้าไปในก้นลึกประมาณ 1 นิ้ว ปล่อยไว้ 30 วินาที  แล้วดึงออกเช็ดวาสลีนที่ติดอยู่แล้วอ่านอุณหภูมิ

 

4. การวัดไข้ทางหู

โดยการวัดไข้ทางหูนั้นต้องอาศัยดิจิตอลเทอร์โมมิเตอร์ วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป เพราะถ้าต่ำกว่านี้ร่องหูเด็กจะแคบไม่สามารถสอดใส่เซ็นเซอร์ได้ การวัดวิธีนี้ดีตรงที่เด็กจะรู้สึกสะดวกสบาย ไม่อันตรายต่อแก้วหู แต่ปัญหาคืออาจเกิดความคลาดเคลื่อนสูงเช่นวางไม่ตรงกึ่งกลางของรูหูบ้าง วิธีการคือจับลูกนอนตะแคงในท่าที่ลูกสบายและอยู่นิ่งเฉย จากนั้นก็เสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในช่องหู ( บริเวณรูหู) รอจนกระทั่งเสียงดังปี๊บ แสดงว่าวัดไข้เสร็จแล้ว ในปัจจุบันมีอินฟาเรดเทอร์โมมิเตอร์ ที่มีแสงสีฟ้าช่วยนำทางในการวัดไข้ทางหู จึงทำให้อ่านค่าได้แม่นยำ และรวดเร็วกว่ามาก

 

5. การวัดไข้ทางหน้าผาก

เป็นวิธีการวัดที่เหมาะกับเด็กทุกวัย โดยปัจจุบันมี ใช้งานง่ายเพียงวางบนหน้าผากของลูก แต่การวัดทางหน้าผากไม่ค่อยแม่นยำมากนัก วิธีการคือให้ทาบแถบเทอร์โมมิเตอร์ไว้กับหน้าผากของเด็ก อย่าให้มือแตะถูกบริเวณตัวเลย ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที ตัวเลขจะค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้น สามารถอ่านค่าอุณหภูมิ หลังจากที่ตัวเลขหยุดการเคลื่อนไหวแล้ว ในปัจจุบันมีอินฟาเรดเทอร์โมมิเตอร์ที่จะมีแสงสีฟ้าไว้วัดไข้ลูกน้อย เพียงกดปุ่มและจ่อไว้ที่หน้าผากก็จะอ่านค่าได้แม่นยำ อีกทั้งสามารถวัดไข้ลูกขณะนอนหลับโดยไม่ทำให้ตื่นด้วย

รู้วิธีวัดไข้กันให้ถูกต้องแล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพตนเองให้ดีด้วยนะคะ