White-coat hypertension (ความดันโลหิตสูงชั่วคราวเฉพาะที่โรงพยาบาล) เป็นภาวะความดันโลหิตสูงเกินเกิดจากมีความเครียดความวิตกกังวล หรืออาจตื่นเต้นมากจนเกินไปขณะวัดที่โรงพยาบาล ทำให้มีความดันโลหิตสูงกว่าปกติ (139/89 มม.ปรอท) แต่เมื่อวัดที่บ้านค่าความดันก็เป็นปกติ (<120/80 มม.ปรอท) อาการ White coat hypertension สามารถเช็คได้โดยการนั่งสงบสติอรมณ์ ประมาณ 5-10 นาทีร่างกายจะเริ่มปรับตัวให้อยู่ในภาวะปกติ หัวใจจะเต้นช้าลง ความตื่นเต้นไม่มีแล้ว ความดันโลหิตก็จะกลับมาลดลงเป็นปกติได้ โดยค่าความดันโลหิตปกติวัดแต่ละครั้งจะมีค่าไม่เท่ากัน ถ้าวัดที่โรงพยาบาลจะมีค่าสูงกว่าวัดที่บ้านประมาณ 5 มม.ปรอท
รู้หรือไม่! White coat hypertension เป็นสัญญาณเตือนถึงความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นควรมีเครื่องวัดความดันติดบ้าน เพื่อวัดความดันโลหิตทุกวัน เพื่อให้ทราบค่าที่แท้จริง
ตารางจำแนกค่าความดันโลหิตแต่ละระดับ
ระดับความดันโลหิต | Systolic | Diastolic | คำแนะนำ | |
เหมาะสม | <120 | และ | <80 | ตรวจเช็คความดันโลหิตสม่ำเสมอ |
เริ่มมีความดันโลหิตสูง | 120-139 | และ/หรือ | 80-89 | ตรวจเช็คความดันโลหิตสม่ำเสมอ |
ความดันโลหิตสูง | 140-159 | และ/หรือ | 90-99 | ควรพบแพทย์ |
สูงมากและเริ่มอันตราย | 160-179 | และ/หรือ | 100-109 | ควรพบแพทย์ |
ระดับอันตรายมาก | >180 | และ/หรือ | >110 | ควรพบแพทย์ด่วน |
วิธีนั่งวัดความดันที่ถูกต้องและเหมาะสม คือ นั่งพักก่อนการวัดความดัน 5 นาที แล้ววัดความดันในท่าดังต่อไปนี้
1. นั่งตัวตรงบนเก้าอี้
2. สอดมือเข้าไปในปลอกแขนในลักษณะดังรูป
3. พันปลอกแขนให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ โดยปลอกแขนอยู่ห่างเหนือจากข้อพับ 2-3 เซนติเมตร
4. พันปลอกแขนให้แน่นพอดี และไม่ให้มีช่องว่างระหว่างปลอกแขนกับต้นแขนมากเกินไป
5. วางแขนตรงและหงายผ่ามือขึ้น
Ref
: กรมวิทย์. ท่าขณะวัดความดันโลหิต และการพันปลอกแขนที่ถูกต้อง สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564 จาก https://xn--12c8b3afcz5g8i.com/knowledge/detail/31
: โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. ความดันโลหิตสูง สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564 จาก https://www.bumrungrad.com/th/conditions/hypertension