เมื่อลูกเป็นไข้ควรทำอย่างไร?

เมื่อลูกเป็นไข้ควรทำอย่างไร?

ปกติการที่ลูกมีไข้ต่ำมักจะไม่มีอันตรายรุนแรงแต่บางคนที่ระดับอุณหภูมิพุ่งขึ้นสูงอาจทำให้เกิดเป็นลมชักได้ อาการของลมชักเด็กจะซีด ตัวเกร็งแข็ง กระตุกแบบที่ควบคุมไม่ได้และอาจหมดสติอาการจะเป็นนานประมาณ 1-2 นาที บางคนอาจถึง 10 นาที หากลูกเกิดลมชัก พยายามตั้งสติให้มั่นอย่าตกใจ หาผ้านุ่ม ๆ หรือช้อนเล็กๆ ใส่ปากเด็กเพื่อระวังการกัดลิ้นตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจ อุ้มให้อยู่ในที่ที่ปลอดภัยต่อวัตถุอันตรายหรือการกลิ้งตกจากที่สูง แล้วรีบนำเด็กไปพบแพทย์ทันที

 

โรคลมชัก

โรคลมชักจากการเป็นไข้สูงนี้มีโอกาสน้อยที่จะทำลายสมอง และยังไม่อันตรายเท่ากับการเป็นลมจากความร้อนภายนอก อย่างเช่นการปล่อยเด็กไว้กลางแดดเป็นเวลานาน ๆ หรือทิ้งเด็กไว้ในรถที่จอดตากแดด ทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงอย่างนั้นมีโอกาสเป็นอันตรายมากกว่า โดยการป้องกันโรคลมชักจากการเป็นไข้ก็ควรใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดหุณหภูมิ ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิทางหู วัดอุณหภูมิทางส่วนอื่นๆก็ได้

 

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีไข้ไม่สูงมาก

1. คลายรัดชุดที่ลูกสวมใส่ให้หลวม ควรให้ลูกใส่เสื้อพวกผ้าฝ้ายเนื้อเบา น้ำหนักเบา ห่มผ้าที่ไม่หนาเกินไป พยายามอย่าห่มตัว เพราะจะทำให้ไข้สูงขึ้นโดยใช่เหตุ

2. ปรับอุณหภูมิในห้องที่เด็กอยู่ให้เย็นขึ้น อย่างน้อยควรมีพัดลมเพื่อพัดให้อากาศถ่ายเทสะดวก และไม่ร้อนเกินไป ระวังใบพัดให้ห่างจากมือเด็ก

3. ให้เด็กดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยเฉพาะหากเด็กอาเจียนหรือท้องเสียร่วมด้วย ควรเพิ่มปริมาณอาหารหรือเครื่องดื่มตามปกติ เช่น นมแม่ นมสูตร หรือน้ำ และหากเด็กโตพอจะดื่มเครื่องดื่มอื่นๆ ลองให้เขาดื่มน้ำหวานซุปใส หรือน้ำผลไม้เจือจางดูบ้าง

4. ให้ยา Acetaminophen หรือปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการให้ยา ibuprofenและทำตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลากยาอย่างเคร่งครัด อย่าให้ทารกหรือเด็กรับประทานแอสไพริน เพราะแอสไพรินนั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรค Reye’s syndrome ซึ่งเป็นโรคที่แม้จะเกิดได้ยาก แต่อาจนำมาซึ่งการเจ็บป่วยรุนแรงได้

5. คลายความร้อนด้วยการเช็ดตัวด้วยฟองน้ำหรือผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่น (อย่าให้ร้อนมาก) ทีละส่วน ปล่อยให้น้ำระเหยแต่ ไม่แห้ง จะทำให้ตัวลูกเย็นลงได้ และเช็ดตัวไปเรื่อย ๆ จนเขารู้สึกสบายตัวขึ้น ใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที กว่าที่ไข้จะลด

6. หากอาการไข้เกิดจากโรคติดต่อ พยายามให้ลูกอยู่ห่างจากเด็กอื่นๆ และคนสูงอายุ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค

7. ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ วัดอุณหภูมิทางหูก็จะได้ค่าเร็วและเที่ยงตรง แต่ถ้าลูกนอนหลับอยู่ก็ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทางหน้าผากก็ได้

 

 

สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำเมื่อลูกมีไข้

♦ อย่าฝืนให้ลูกนอนเพียงอย่างเดียว แต่ก็ต้องระวังอย่าให้เขาเล่น หรือใช้แรงมากจนเกินไป

♦ อย่าให้เขาอดอาหาร เพราะเด็กเล็กที่กำลังป่วยต้องการพลังงานและน้ำมากกว่าปกติ

♦ อย่าวิตกกังวลจนเกินเหตุ

 

การเลือกใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ แทนการใช้ปรอทวัดอุณหภูมิ

ควรเลือกใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิที่มีคุณภาพ อย่าลืมอุปกรณ์จำเป็นที่ต้องมีติดบ้านไว้ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หรือปรอทวัดไข้ มีทั้งแบบด้ามสำหรับวัดทางปากหรือหนีบที่ใต้รักแร้ แต่แพทย์ไม่แนะนำให้วัดปรอททางปากในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการกัดปรอท อันอาจเกิดขึ้นได้ และอีกแบบที่นิยมใช้คือ เป็นแถบวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก ทั้งนี้ในปัจจุบันมีอีกวิธีหนึ่งที่ศึกษามาแล้วว่าเป็นการวัดอุณหภูมิของร่างกายได้ค่าคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด คือ การวัดอุณหภูมิทางหู เพราะในช่องหูใช้การจ่ายเลือดส่วนเดียวกับศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายในสมอง (ไฮโปธาลามัส) ซึ่งจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายได้เร็ว และใกล้เคียงความเป็นจริงกว่าจุดอื่นๆ วิธีนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้