หอบหืด…เรื่องไม่ง่ายที่ต้องระวัง

หอบหืด…เรื่องไม่ง่ายที่ต้องระวัง

ถ้าคุณเป็นโรคหอบหืด คุณคงทราบดีถึงผลกระทบที่มีต่อชีวิตประจำวันอย่างใหญ่หลวง บางครั้งคุณพบว่าตัวเองแทบวิ่งตามรถเมล์ไม่ไหว งานบ้านถึงกับทำให้คุณหายใจเสียงดังหรือไอ เวลายืนอยู่ข้างคนสูบบุหรี่ หอบหืดเป็นโรคภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุทำให้ระบบทางเดินหายใจและหลอดลมเกิดการอักเสบและอ่อนไหวง่ายเวลาสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ควัน หมอก และขนสัตว์ ผลคือทำให้หลอดลมตีบ หายใจติดขัด มีน้ำมูกในทางเดินหายใจทำให้หายใจเสียงดังครืดๆ และไอ ผู้เป็นโรคหอบหืดควรเลือกใช้เครื่องพ่นละอองยาแบบเป็นละออง ทำให้ยาโรคหอบหืดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจเป็นการช่วยส่งยาไปในจุดที่ต้องการ

 

โรคหอบหืดคืออะไร

โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากกว่าภาวะปกติทำให้หลอดลมของผู้ป่วยหดเกร็ง มีขนาดตีบแคบลงและมีอาการบวมเนื่องจากมีการอักเสบรวมทั้งจะมีการสร้างเสมหะมากกว่าปกติ

 

สาเหตุของโรค

1. พันธุกรรม โรคหอบหืดไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรงเสมอไป แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการหืดจับร่วมกับมีประวัติโรคภูมิแพ้หรือหอบหืดในครอบครัว ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเป็นโรคนี้

2. สิ่งกระตุ้นต่างๆ อาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นบ้าน ตัวไรฝุ่น ละอองซากแมลงสาบ เกสรดอกไม้ ละอองเชื้อรา ขนหรือสะเก็ดรังแคผิวหนังสัตว์เลี้ยง อาหารบางชนิด ควันบุหรี่ ควันพิษจากสิ่งแวดล้อม หรือการเป็นหวัด

3. การออกกำลังกายอย่างหักโหม

 

ผลของโรคหอบหืดในเด็ก

ในเด็กที่มีอาการไม่มากจะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อชีวิตประจำวัน การใช้ยาเพื่อควบคุมอาการอาจจะมีความจำเป็นเฉพาะเวลาที่มีอาการจับหืดเท่านั้นส่วนในเด็กที่มีอาการของโรคหอบหืดที่มีอาการรุนแรงและเป็นบ่อยๆ จะมีผลกระทบต่ออารมณ์ จิตใจ การเรียนและการดำรงชีวิตประจำวันได้มากอาจต้องขาดเรียนบ่อยทำให้ผู้ป่วยกลัวเเรียนไม่ทันเพื่อนๆ อาจถูกห้ามเล่นกีฬาหรืองดกิจกรรมการเล่นบางอย่างอาจทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง

 

ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีอาการหอบ

1. ถ้ามีอาการหอบในช่วงกำลังวิ่งเล่น หรือมีอาการเหนื่อย ควรหยุดเล่นหรือออกกำลังกายทันที

2. สติอารมณ์ อย่ากลัวหรือตกใจจนเกินไป

3. หายใจเข้าอย่างปกติ และหายใจออกทางปาก โดยห่อปากขณะเป่าลมหายใจออก ค่อยๆ เป่าลมหายใจออกอย่างช้าๆ ทีละน้อยให้นานมากที่สุด

4. เลือกใช้เครื่องพ่นละอองยาแบบเป็นละออง ทำให้ยาโรคหอบหืดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ เป็นการช่วยส่งยาไปในจุดที่ต้องการ

5. ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ

6. ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นภายในระยะเวลาที่แนะนำตามแนวทางการดูแลรักษาที่บ้านควรรีบพบแพทย์

 

ผู้ป่วยโรคหอบหืดควรปฏิบัติตัวอย่างไร

1. หลีกเลี่ยงสารที่แพ้ จำให้ขึ้นใจว่าตัวเองแพ้อะไร และต้องรู้ว่าตนเองต้องใช้ยาอะไรเวลามีอาการจับหืด ควรรู้จักชื่อของยาที่ใช้ประจำ

2. หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่

3. ควรดูแลสุขภาพให้ดี กินอาหารให้ครบหมู่ ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะอย่างสม่ำเสมอ ชอบย่าปล่อยให้มีอาการหวัดเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ ซึ่งจะทำให้อาการโรค

4. ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส ขจัดความกังวล อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงมากๆ จะทำให้มีอาการจับหืดได้

5. เด็กที่มีอาการไอหรือจับหืดอยู่ ไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัด กินของเย็นจัด เพราะอาจจะทำให้อาการไอแย่ลงได้