ไขข้อสงสัย โรคนิ้วล็อกเกิดจากอะไร รักษาอย่างไรถึงจะหาย

ไขข้อสงสัย โรคนิ้วล็อกเกิดจากอะไร รักษาอย่างไรถึงจะหาย - samh

นิ้วล็อก เป็นหนึ่งในปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพที่หลายคนน่าจะเคยพบเจอกันมาก่อนไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยไหนๆ ก็ตาม ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าเมื่อเกิดอาการนิ้วล็อกเกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่ควรให้ความสำคัญ เพราะรู้สึกว่าเป็นอาการที่สักพักก็จะหายไปเอง แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว นิ้วล็อกเป็นหนึ่งในโรคที่ถือเป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม และหากมีอาการเกิดขึ้นบ่อยหรือเป็นระยะเวลาที่นานควรที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย

โรคนิ้วล็อกเกิดจากอะไร

 

โรคนิ้วล็อกเกิดจากอะไร - samh

อาการนิ้วล็อก หรือโรคนิ้วล็อกที่เกิดขึ้น เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการใช้งานนิ้วมือที่มากจนเกินไป อย่างที่ได้มีการกล่าวไปในข้างต้นว่า โรคนี้เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย แต่จะพบบ่อยมากในกลุ่มของคนวัยทำงาน ที่มีการใช้นิ้วมือในการพิมพ์คีย์บอร์ด จับเมาส์ทำงานเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน และอีกหนึ่งกลุ่มที่สามารถพบได้บ่อยก็คือ กลุ่มวัยเรียน ที่มีการจับดินสอหรือปากกา เพื่อที่จะเขียนงานเป็นระยะเวลาที่ยาวนานนั่นเอง ซึ่งการใช้งานนิ้วในลักษณะนี้ จะทำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้อาจเกิดอาการนิ้วล็อกเกิดขึ้นได้

อาการของโรคนิ้วล็อก

โดยอาการของโรคนิ้วล็อก จะแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้

  • ระยะที่ 1 : เป็นระยะที่มีอาการเจ็บที่บริเวณโคนนิ้วมือ
  • ระยะที่ 2 : เป็นระยะที่มีอาการสะดุดเวลาที่กำหรือเหยียดนิ้วมือ แต่ก็ยังคงสามารถทำการเหยียดนิ้วได้เองอยู่
  • ระยะที่ 3 : เป็นระยะที่มีอาการกำมือแล้วเกิดอาการล็อกขึ้น โดยจะไม่สามารถทำการเหยียดนิ้วมือได้เอง จะต้องใช้มืออีกข้างเป็นตัวช่วยในการง้างนิ้วที่ล็อกออก
  • ระยะที่ 4 : เป็นระยะสุดท้ายที่จะไม่สามารถกำมือได้สุด และอาจทำให้มีข้อนิ้วที่งอผิดรูปร่วมด้วยได้

การรักษาโรคนิ้วล็อก

โรคนิ้วล็อกเป็นโรคที่สามารถทำการรักษาให้หายได้ด้วยกันหลายวิธี สำหรับผู้ที่มีอาการขั้นแรกหรือต้องการที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการขึ้น สามารถทำการได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดการใช้งานนิ้วมือหนักหรืออาจจะต้องทำการหยุดพักงานชั่วคราว ทำการประคบด้วย เจลประคบร้อนเย็น รักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อลดการอักเสบและลดการบวม แต่สำหรับผู้ที่มีอาการหนักขึ้นสามารถที่จะรักษาด้วยการฉีดยาได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่เห็นผลไวและสามารถที่จะอยู่ได้นานประมาณ 2-3 เดือนเลยทีเดียว แต่หากมีการรักษาแล้วยังไม่ดีขึ้น อาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดแทน

การป้องกันโรคนิ้วล็อก

การป้องกันโรคนิ้วล็อก - sanh

สำหรับผู้ที่ต้องการจะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเกิดโรคนิ้วล็อกสามารถที่จะทำได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  1. หลีกเลี่ยงการหิ้วของที่หนักเกินไป แต่ถ้าหากในกรณีที่จำเป็นจะต้องหิ้วควรที่จะนำเอาผ้าขนหนูมารองที่บริเวณนิ้วเอาไว้ และหิ้วในลักษณะที่ให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือ หรืออาจใช้วิธีการอุ้มแทนการหิ้ว
  2. ในขณะที่ใช้เครื่องมือทุ่นแรง อาทิเช่น ไขควง, เลื่อย หรือค้อน ควรที่จะสวมใส่ถุงมือหรือมีการห่อด้ามจับเครื่องมือให้มีความนุ่มขึ้น 
  3. หากมีการใช้นิ้วมือเพื่อทำงาน อย่างเช่น การพิมพ์งานหรือการใช้เมาส์เป็นระยะเวลานาน ควรที่จะมีการพักมือเป็นระยะๆ และควรทำการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อบริเวณมือบ้างในระหว่างวัน
  4. หากมีข้อฝืดตอนเช้าหรือมีอาการเมื่อยล้า ควรทำการแช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือแบบในน้ำแบบเบาๆ แนะนำให้หลีกเลี่ยงการกำมือแน่น
  5. หลีกเลี่ยงการซักผ้าด้วยมือ เนื่องจากการทำกิจกรรมที่ใช้ข้อมือมากๆ อย่างการขยี้หรือการบิดผ้าให้แห้ง อาจทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกตามมาได้

สรุปบทความ

และทั้งหมดนี้คือ สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา และวิธีการป้องกัน ที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคนิ้วล็อก โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัยที่เราได้นำเอามาฝากกันในวันนี้ เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคแล้วในยามที่เกิดอาการจะสามารถเตรียมรับมือได้ง่ายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามหากมีอาการผิดปกติ มีความเจ็บที่บริเวณโคนนิ้ว มีอาการงอนิ้วแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้ อย่านิ่งนอนใจแต่อย่างใด ควรเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญโดยทันที