เพราะอะไรผู้ใช้รถเข็นต้องเรียนรู้

เพราะอะไรผู้ใช้รถเข็นต้องเรียนรู้วิธีเคลื่อนย้ายตัว

ผู้ใช้รถเข็นอาจต้องเข้าและออกจากรถเข็นวันละหลายครั้ง พวกเขาจำเป็นต้องมีวิธีการที่ปลอดภัยรวดเร็วและใช้พลังงานน้อย ผู้ใช้รถเข็นบางรายสามารถเข้าและออกจากรถเข็นด้วยตนเอง ในขณะที่บางคนอาจต้องการความช่วยเหลือ บางคนใช้วิธีการเคลื่อนย้ายตัวแบบยืน ในขณะที่บางคนไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้

 

การเคลื่อนย้ายตัวเข้าและออกจากรถเข็น

การเข้าและออกจากรถเข็นทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสามารถทางร่างกาย ลักษณะต่างๆของรถเข็นทำให้การเคลื่อนย้ายตัวทำได้ง่ายขึ้น ส่วนประกอบของรถนั่งคนพิการที่ส่งผลต่อวิธีการเคลื่อนย้ายตัว 3 ส่วน ได้แก่ ที่พักแขน ที่พักเท้า และเบรก

♦ ที่พักแขนที่ถอดออกได้หรือที่พักแขนที่โค้งตามรูปวงล้อหลังจะช่วยให้การเคลื่อนย้ายตัวด้านข้างทำได้ง่ายขึ้น ผู้ใช้รถเข็นที่ใช้วิธีการเคลื่อนย้ายตัวในท่ายืนอาจต้องการที่พักแขนเพื่อช่วยในการลุกขึ้นยืน

♦ ที่พักเท้าที่สามารถถอดได้จะช่วยให้การเคลื่อนย้ายตัวแบบการยืนทำได้ง่ายขึ้น ผู้ใช้รถเข็นที่ต้องการเคลื่อนย้ายขึ้น/ลงระหว่างรถนั่งกับพื้น ควรใช้รถเข็นที่สามารถถอดที่วางเท้าได้

♦ เบรกของรถนั่งคนพิการมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการตรึงเพื่อไม่ให้รถนั่งขยับไปมาขณะที่ทาการเคลื่อนย้ายตัว

 

วิธีการเคลื่อนย้ายตัวมีดังต่อไปนี้

การเคลื่อนย้ายตัวในท่านั่งด้วยตนเอง (จากรถเข็นไปเตียง)

♦ เลื่อนรถนั่งคนพิการให้ชิดกับเตียง และกดเบรค

♦ ยกเท้าออกและเหวี่ยง(หรือถอด)ที่พักเท้าออก (แล้วแต่กรณีตามความเหมาะสม)

♦ ถอดที่พักแขนด้านที่ชิดเตียงออก

♦ ยกตัวขึ้นและเลื่อนตัวมาด้านหน้าของรถนั่งคนพิการ

♦ วางมือข้างหนึ่งบนเตียง มืออีกข้างวางที่รถนั่งคนพิการ ยกตัวขึ้นแล้วย้ายตัวมายังเตียง

♦ ในกรณีที่ผู้ใช้รถนั่งคนพิการมีการทรงตัวไม่ดีหรือไม่สามารถยกตัวได้สูงหรือไม่สามารถเหวี่ยงตัวมาทางด้านข้างได้ไกลพอ ให้ใช้กระดานเคลื่อนย้ายตัว (transfer board) ช่วยการเคลื่อนย้ายตัวในท่านั่งแบบมีผู้ช่วยเหลือและใช้กระดานเคลื่อนย้ายตัว (จากรถเข็นไปเตียง)

♦ เลื่อนรถนั่งคนพิการให้ชิดกับเตียง กดเบรก

♦ นาเท้าออกและเหวี่ยง(หรือถอด)ที่พักเท้าออก (แล้วแต่กรณีตามความเหมาะสม)

♦ ถอดที่พักแขนด้านที่ชิดเตียงออก

♦ ช่วยผู้ใช้รถนั่งคนพิการเคลื่อนตัวมาด้านหน้า

♦ สอดกระดานเคลื่อนย้ายตัวไว้ใต้ก้นและวางพาดจากรถนั่งคนพิการกับเตียง

♦ ผู้ใช้รถนั่งคนพิการออกแรงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อเคลื่อนย้ายตัวเองจากรถนั่งคนพิการไปยังเตียง

♦ ผู้ให้การช่วยเหลือยืนด้านหลังของผู้ใช้รถนั่งคนพิการและจับสะโพกของผู้ใช้รถนั่งคนพิการเคลื่อนไปยังเตียงการเคลื่อนย้ายตัวในท่ายืนแบบมีผู้ช่วยเหลือ (จากเตียงไปรถนั่งคนพิการ)

♦ เลื่อนรถเข็นให้ชิดกับเตียง กดเบรค

♦ นำเท้าออกและเหวี่ยง(หรือถอด)ที่พักเท้าออก (แล้วแต่กรณีตามความเหมาะสม)

♦ ถอดที่พักแขนด้านที่ชิดเตียงออก

♦ ช่วยผู้ใช้รถนั่งคนพิการเคลื่อนตัวมาด้านหน้า

♦ สอดกระดานเคลื่อนย้ายตัวไว้ใต้ก้นและวางพาดจากรถนั่งคนพิการกับเตียง

♦ ผู้ใช้รถนั่งคนพิการออกแรงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อเคลื่อนย้ายตัวเองจากรถนั่งคนพิการไปยังเตียง

♦ ผู้ให้การช่วยเหลือยืนด้านหลังของผู้ใช้รถเข็นและจับสะโพกของผู้ใช้รถเข็นเคลื่อนไปยังเตียง

♦ เลื่อนรถเข็นให้ชิดกับเตียง กดเบรค

♦ นำเท้าออกและเหวี่ยง(หรือถอด)ที่พักเท้าออก (แล้วแต่กรณีตามความเหมาะสม)

♦ ถอดที่พักแขนด้านที่ชิดเตียงออก

♦ ช่วยผู้ใช้รถเข็นเคลื่อนตัวมาด้านหน้าและวางเท้าบนพื้น

♦ ผู้ช่วยเหลืออยู่ด้านหน้าและใช้ขาประคองขาผู้ใช้รถเข็นจากด้านข้างของหัวเข่า (ห้ามดันหัวเข่าจากด้านหน้า)

♦ โน้มตัวของผู้ใช้รถเข็นมาด้านหน้าและดึงลากตัวขึ้นโดยให้การช่วยเหลือบริเวณสะบัก

♦ บิดลำตัวผู้ใช้รถนั่งคนพิการออกจากรถนั่งคนพิการและให้นั่งลงบนเตียงอย่างนุ่มนวล