แผลกดทับกับผู้ใช้รถเข็น
แผลกดทับ คือบริเวณผิวหนังและกล้ามเนื้อที่เกิดความเสียหาย สามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงแต่ส่งผลกระทบเป็นระยะเวลานานหลายเดือนและอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ โดยเรามักเข้าใจว่าแผลกดทับจะเกิดกับผู้ป่วยที่ตอนบนเตียงนานๆ แต่ความจริงแล้ว แผลกดทับเกิดกับผู้ที่นั่งรถเข็นได้ เพราะการนั่งรถเข็นเป็นระยะเวลานาน อาจเพราะรถเข็นไม่รองรับสรีระ หรือรถเข็นนั่งไม่สบาย ก็จะเกิดอาการแผลกดทับได้เช่นกัน
สาเหตุหลักของการเกิดแผลกดทับมี 3 ประการ ดังนี้
♦ แรงกดทับ (pressure): แผลกดทับอาจเกิดจากแรงกดทับบนผิวหนังจากการนั่งหรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไปโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ผู้ใช้รถเข็นเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเนื่องจากใช้เวลานั่งบนรถเข็นแต่ละวันเป็นเวลานาน หากไม่มีการลดแรงกดทับ แผลกดทับจะเกิดขึ้นง่ายมาก
♦ การเสียดสี (friction): การเสียดสี เป็นการถูไปมาบนผิวหนัง ตัวอย่างเช่น แขนถูไปมากับล้อ/ที่พักแขนในขณะที่รถเข็นเคลื่อนอาจเกิดแผลกดทับได้
♦ แรงเฉือน (shear): เกิดจากการที่ผิวหนังอยู่นิ่งถูกยืดหรือบีบเนื่องจากกล้ามเนื้อหรือกระดูกเคลื่อนที่ตัวอย่างในผู้ใช้รถเข็นที่นั่ง “ตัวงอโค้งไปด้านหน้า” ผิวหนังจะเกิดอันตรายจากการฉีกขาดที่เกิดขึ้นบริเวณปุ่มกระดูกรองนั่ง เนื่องจากเชิงกรานจะหมุนไปทางด้านหลัง หรือเกิดจากปุ่มกระดูกสันหลังถูกับพนักพิง
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ
นอกเหนือจากสาเหตุสาคัญ 3 ประการที่ทาให้เกิดแผลกดทับแล้ว ยังมีอีกหลายสิ่งที่เพิ่มโอกาสการเกิดแผลกดทับได้ง่ายขึ้น ซึ่งเรียกว่า “ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ” pressure sore risk factors”
♦ บุคคลที่สูญเสียการรับความรู้สึก : บุคคลที่สูญเสียหรือไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกสัมผัสบริเวณก้น (โดยเฉพาะในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนและผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัว) มีโอกาสเกิดแผลกดทับบริเวณก้นและขา เพราะนั่งรถเข็นนานๆโดยไม่รู้ตัวผ่าเกิดแผลแล้ว
♦ บุคคลที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ : ผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้จะไม่สามารถลดแรงกดได้ ต้องอาศัยที่นอนลม หรือรถเข็นที่รองรับสรีระ (ในต่างประเทศนิยมรถเข็นที่มีความโค้งงอเป็นรูป S-Shape)
♦ ความชื้นจากเหงื่อ น้ำหรือปัสสาวะ/อุจจาระเล็ดราด : ความชื้นทำให้ผิวหนังนุ่มและทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย ถ้าผู้ป่วยไม่ทราบวิธีจัดการกับปัสสาวะ/อุจจาระที่เหมาะสม ปัสสาวะและอุจจาระจะระคายเคืองต่อผิวหนัง
♦ การอยู่ในท่าทางที่ไม่ดี : การไม่นั่งตัวตรงจะทำให้เกิดแรงกดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งมากกว่าปกติ
♦ เคยมีหรือกำลังมีแผลกดทับ
♦ โภชนาการไม่ดีและดื่มน้ำน้อย : การได้รับสารอาหารครบถ้วนและดื่มน้ำอย่างพอเพียงจะทำให้ผิวหนังมีสุขภาพดีและทำให้ขบวนการหายของแผลเป็นไปได้ด้วยดี
♦ ผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุมักผอมและมีผิวหนังที่เปราะบางซึ่งทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย
♦ น้ำหนัก (น้ำหนักที่มากเกินหรือน้อยเกินไป) : ผู้ที่อ้วนจะมีการไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวหนังไม่ดีทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายและบาดแผลจะหายยาก ผู้ใช้รถนั่งคนพิการที่มีน้ำหนักน้อยจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเพราะผิวหนังจะอยู่ติดกับกระดูก ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดอันตรายได้รวดเร็วบริเวณที่พบแผลกดทับได้บ่อย