อัมพาตในผู้สูงอายุ

อัมพาตในผู้สูงอายุ

อัมพาต ( Stroke ) คือโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากสมองส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทำลาย โดยเกิดจากการที่มีเลือดออกภายในสมองหรือการที่เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองเส้นใดเส้นหนึ่งอุดตัน ทำให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนั้น มักจะพบในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคความดันเลือดสูงจะยิ่งเสี่ยต่อโรคนี้มากยิ่งขึ้น การที่สมองเสียไปอาจเป็นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลทำให้เกิดอัมพาตของร่างกายข้างตรงข้ามที่เรียกว่าอัมพาตครึ่งซีก

 

อาการของอัมพาต

เมื่อเป็นอัมพาตผู้ป่วยจะมีอาการ วิงเวียน คลื่นไส้ ตามัว อาจหมดสติ อาการที่เกิดขึ้นจะเป็นทันที ทันใด ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หลังจากนั้นอาการอ่อนแรงของแขนขาจะตามมาจนเคลื่อนไหวไม่ได้ในที่สุด อาการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่ตามมา คือ

♦ ไม่สามารถทำอะไรได้ดังใจ เช่น ยกแขนยกขาไม่ได้

♦ พูดจาลำบาก ออกเสียงลำบาก

♦ มีความเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพจิตคือ ลืมสิ่งที่เคยจำได้ ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจอะไรไม่ได้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ มีอารมณ์แปรปรวน บุคลิกลักษณะเปลี่ยนแปลง ซึมเศร้า

 

การพยาบาลผู้ป่วย

ในระยะแรกของอัมพาต ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยตลอดเวลา ควรให้นอนบนเตียงผู้ป่วยที่ปรับระดับแล้ว ผู้ดูแลต้องช่วยเหลืออย่างมากในการเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อเลยระยะแรกไปแล้วอาการจะมากหรือน้อยอยู่ที่ความผิดปกติของสมอง

 

การให้การบริบาลต้องอาศัยความอดทนมากมีข้อแนะนำดังนี้

เกี่ยวกับเตียงและการอยู่บนเตียงผู้ป่วย

♦ ถ้าเป็นไปได้เตียงผู้ป่วยควรสูงระดับสะโพก และมีพื้นที่ว่างรอบเตียงผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้การดูแลสะดวกยิ่งขึ้น

♦ เตียงผู้ป่วยต้องปรับระดับได้อย่างเหมาะสม โดยอาจจะมี 3 ไกร์, 5 ไกร์ ก็แล้วแต่ว่าผู้ป่วยเป็นอัมพาตรุนแรงขนาดไหน

♦ เตียงผู้ป่วยควรแข็งแรง และมีที่พยุงเหนือเตียง เช่นราวไม้ ซึ่งผู้ป่วยอาจโหนได้ด้วยมือ ทำให้เคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง

♦ เปลี่ยนผ้าเตียงผู้ป่วยบ่อยๆ โดยเฉพาะถ้าเปียกแฉะจากอุจจาระหรือปัสสาวะ ผู้ดูแลควรเรียนรู้เทคนิคพิเศษในการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนของเตียงผู้ป่วยจากพยาบาลเพราะการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนในคนไข้อัมพาตมีเทคนิคพิเศษการบริบาลเฉพาะตัว

♦ ล้างทำความสะอาดมือและเท้าของผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อความสะอาดและความสดชื่น รวมทั้งต้องทำความสะอาดฟัน ริมฝีปาก หู เล็บ และผมให้สะอาดอยู่เสมอ

♦ เช็ดตัวผู้ป่วยด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบนเตียงผู้ป่วยทุกวัน การเช็ดตัวผู้ป่วยนี้ควรเป็นบริบาลที่มีความชำนาญพิเศษ

♦ ในขณะอาบน้ำทำความสะอาดให้พยายามสังเกตผิวหนังว่าตรงส่วนใดจะเป็นแผลกดทับหรือไม่ ถ้ามีอาจพิจารณาใช้ที่นอนลม

♦ ผู้ป่วยอาจไม่สามารถทานอาหารได้ด้วยตนเอง เพราะมือไม่มีกำลัง ผู้บริบาลต้องคอยช่วยเหลือป้อนอาหาร

♦ การขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะบนที่นอนต้องใช้หม้อถ่าย ถ้าผู้ป่วยลุกขึ้นได้ต้องพยายามพาไปเข้าห้องน้ำได้