สมอง ขาด เลือด หรือ ภาวะสมองขาดเลือด เป็นหนึ่งในโรคร้ายที่สามารถพบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน และหากเกิดอาการ สมอง ขาด เลือดเกิดขึ้น ย่อมส่งผลต่อทั้งผู้ป่วย คนในครอบครัว และผู้ดูแลอย่างมากเลยทีเดียว เนื่องจากโรคที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้เกิดอาการอัมพาตแบบเฉียบพลัน อีกทั้งยังอาจส่งผลให้ผู้ป่วยที่เกิดโรคนี้สูญเสียความทรงจำและการมองเห็นได้ ซึ่งในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคนี้มากขึ้น เพื่อที่จะได้เตรียมรับมือกันได้ง่าย
ภาวะสมองขาดเลือดคืออะไร
อาการ สมอง ขาด เลือด คือ โรคที่เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายของเรานั้นไม่สามารถที่จะนำเอาเลือดไปเลี้ยงสมองได้ โดยอาจเกิดขึ้นได้จากการอุดตันของเส้นเลือดทำให้ออกซิเจนและสารอาหาร ไม่สามารถที่จะไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ จนทำให้เซลล์สมองตายในระยะเวลาสั้นๆ อีกทั้งยังอาจเกิดขึ้นได้จากการที่มีเลือดออกในสมอง อันเนื่องมาจากภาวะหลอดเลือดแตก โดยความรุนแรงของภาวะสมอง ขาด เลือดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย
สาเหตุของภาวะสมองขาดเลือด
การเกิดภาวะสมองขาดเลือดนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่สาเหตุสำคัญที่มักพบได้บ่อย คือ มักเกิดจากการตีบหรือแตกของเส้นเลือดในสมอง หรือเกิดจากการตีบหรือแตกของหลอดเลือดหลักที่ลำคอ ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการลำเลียงเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงที่สมองนั่นเอง
ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองขาดเลือด
นอกจากสาเหตุของการเกิดอาการ สมอง ขาด เลือด ที่เราได้มีการกล่าวไปในข้างต้นแล้ว การเกิดภาวะสมองขาดเลือด ยังอาจเกิดขึ้นได้จากปัจจัยดังต่อไปนี้ กล่าวคือ โรคความดันโลหิตสูง, ระดับไขมันในเลือดสูง, โรคเบาหวาน, โรคเก๊าท์, ความอ้วน, การสูบบุหรี่ และการรับประทานยาคุมกำเนิดรูปแบบเม็ด
อาการของภาวะสมองขาดเลือด
ตามที่ได้มีการเกริ่นไปก่อนแล้วว่าภาวะสมองขาดเลือดนั้น เป็นภาวะที่มีอาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เสียหาย โดยการสังเกตนั้น สามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้
- สังเกตจากความผิดปกติของการมองเห็น ที่อาจเกิดขึ้นจากดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดขึ้นจากดวงตาทั้งสองข้าง โดยอาจรู้สึกได้ถึงความผิดปกติตั้งแต่การมองเห็นภาพไม่ชัด หรือเกิดภาวะตาบอดช่วงสั้น
- นิ้ว, มือ, แขน และขา มีอาการอ่อนแรง หรือเกิดความผิดปกติขึ้นกับร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการอัมพาตครึ่งซีกได้เช่นเดียวกัน
- เกิดความผิดปกติขึ้นกับการพูดช่วงคราว
- อาจมีอาการเวียนศีรษะ, มองไม่ชัด, คลื่นไส้, ขาอ่อนแรง หรือมองเห็นภาพซ้อน โดยอาการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือฉับพลัน
- เกิดอาการสับสนหรือระบบทำความเข้าใจเกิดความผิดปกติ แต่ไม่ได้มีอาการหมดสติแต่อย่างใด
ภาวะแทรกซ้อนจากอาการสมองขาดเลือด
สมอง ขาด เลือด อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาภายในร่างกายระหว่างนี้ได้ โดยช่วงอาทิตย์แรกอาจทำให้การเกิดอาการสมองบวมน้ำ, มีเลือดออกจากหลอดเลือดแตก เมื่อผ่านช่วงสัปดาห์แรกไปอาจเกิดอาการปอดบวม, การติดเชื้อ, ความผิดปกติของหัวใจ, โรคเบาหวาน, แผลกดทับ เป็นต้น
แนวทางการรักษาภาวะสมองขาดเลือด
แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดนั้น จะมีแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับอาการที่เกิดขึ้น โดยแพทย์จะทำการรักษาตามอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น การให้ยาละลายลิ่มเลือดและการให้ยาป้องกันลิ่มเลือด แก่ผู้ป่วยที่สมองขาดเลือดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน แต่สำหรับผู้ป่วยที่สมองขาดเลือดที่เกิดขึ้นจากสาเหตุของหลอดเลือดสมองแตกนั้น แพทย์จะทำการรักษาโดยการหยุดยาที่ทำให้เลือดออกง่ายและควบคุมโรคที่อาจเป็นปัจจัยของความเสี่ยง ในกรณีที่เลือดมีขนาดใหญ่แพทย์จะทำการผ่าตัด เพื่อทำการรักษาตามแนวทางต่อไป
สรุปบทความ
ตามที่ได้มีการกล่าวไปว่าภาวะสมอง ขาด เลือดนั้น เป็นโรคที่สร้างปัญหาให้แก่ทั้งผู้ป่วย, ครอบครัว และผู้ดูแลอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ หากต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงสามารถที่ทำได้ด้วยการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคที่อาจเป็นปัจจัย และหมั่นตรวจความดันเลือดด้วย เครื่องวัดความดันดิจิตอล อยู่เสมอ เพื่อทำการควบคุมความดันของเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพียงเท่านี้ก็สามารถห่างไกลความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดได้แล้ว