รวมเทคนิคดูแลป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

รวมเทคนิคดูแลป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าปัญหา การหกล้มในผู้สูงอายุ เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยมากที่สุด และมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุลักษณะเช่นนี้แล้ว ทำให้เกิดกระดูกสะโพกหักหรืออาจได้รับการกระทบกระเทือนที่บริเวณศีรษะ จนเป็นสาเหตุทำให้พิการหรือเสียชีวิตในที่สุด และเพื่อป้องกันผู้สูงอายุในบ้านเกิดอุบัติเหตุหกล้ม ทางเราจึงได้รวบรวมเทคนิคที่จะช่วยดูแลป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเหล่านี้ขึ้น

ทำไมผู้สูงอายุถึงมีปัญหาหกล้มบ่อย

ปัญหา การหกล้มในผู้สูงอายุ ด้วยส่วนมากแล้วเกิดจากความเสื่อมและถดถอยของร่างกาย หรืออาจเกิดจากโรคที่เป็นอยู่ทำให้การทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ มีประสิทธิภาพลดลง ซึ่งปัญหาการหกล้มนี้มักจะเกิดขึ้นบ่อยกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65-75 ปี และอย่างที่ทราบกันดีว่าผู้สูงอายุนั้นมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุนจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการเกิดเหตุในลักษณะเช่นนี้หรือมีการหกล้มเกิดขึ้น จะทำให้กระดูกเกิดการแตกหรือหักได้ง่าย แต่การหกล้มก็อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่นได้อีกเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น 

  • สาเหตุทางกาย : การทรงตัว, ขาอ่อนแรง, ชา, อ่อนเพลีย, หน้ามืด, ปัญหาทางด้านสายตา, การรับยาที่อาจมีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิต เป็นต้น
  • สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม : พื้นลื่น, พื้นเปียก, พื้นต่างระดับ, แสงสว่างไม่เพียงพอ, อุปกรณ์ของใช้ที่ไม่มั่นคงหรือชำรุด เป็นต้น 

6 เทคนิคป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

6 เทคนิคป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ

และอย่างที่ได้มีการกล่าวไปในข้างต้นแล้วว่า เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุในบ้านจะเกิดอุบัติเหตุ การหกล้มในผู้สูงอายุ จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพและร่างกาย สามารถนำเอาเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้กับผู้สูงอายุภายในบ้านหรือผู้สูงอายุที่อยู่ภายใต้การดูแลได้ โดยเทคนิคที่ว่าได้แก่

1. พื้นภายในบ้านต้องห้ามลื่น

หลายครั้งที่ผู้สูงอายุล้มโดยมีสาเหตุมาจากการลื่น หากบ้านไหนมีผู้สูงอายุอยู่ในความดูแล พื้นภายในบ้านคือสิ่งแรกที่ควรให้ความสำคัญ สามารถเลือกใช้วัสดุที่ไม่มีความลื่นมาปูพื้น และอาจให้ผู้สูงอายุสวมใส่รองเท้าที่มีพื้นแข็งใช้เดินภายในบ้าน เพื่อป้องกันการลื่น

2. ขนาดเตียงต้องสูงพอดี

เตียงที่เลือกใช้ควรเป็นเตียงที่มีความสูงพอเหมาะสำหรับการลุกขึ้นนั่งในเวลาที่ตื่นนอน ให้มองหาเตียงที่สามารถนั่งข้างเตียงในเวลาที่ลุกแล้วเท้าจะสามารถเหยียบพื้นได้อย่างมั่นคง และจะต้องไม่เกิดการกดทับหรือจะต้องดันตัวมากขึ้นจนเกินความพอดีในเวลาที่ลุกขึ้นยืน

3. ประตูต้องเปิดง่าย

หากบ้านไหนใช้ประตูลูกบิดอยู่ แนะนำว่าควรเปลี่ยนมาเป็นคันโยกเพื่อที่จะช่วยทุ่นแรงในขณะที่ผู้สูงอายุต้องการจะเปิดประตู หรือหากสามารถเปลี่ยนเป็นประตูบานเลื่อนแบบไม่มีธรณีประตูได้ จะเป็นการป้องกันได้อย่างดีที่สุด

4. ติดราวจับตามจุดสำคัญ

สำหรับผู้สูงอายุที่กระดูกไม่แข็งแรงแล้ว ราวจับตามจุดบริเวณต่างๆ ภายในบ้าน จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นคงในการเดินให้กับผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการติดตั้งราวจับที่มีลักษณะที่เหมาะสมกับจุดต่างๆ ได้ เช่น บริเวณบันได, ห้องน้ำ, ผนังทางเดิน เป็นต้น

5. มีไฟส่องสว่างในตอนกลางคืน

แสงสว่างเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันอุบัติเหตุ การหกล้มในผู้สูงอายุ ได้เป็นอย่างดี สำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุแนะนำเลือกใช้แสงแบบ Day Light ที่จะให้แสงสว่างเพียงพอในเวลาตอนกลางคืน

6. ของใช้ในบ้านต้องมีฟังก์ชันเพื่อผู้สูงอายุ

ของใช้ในบ้านควรมีฟังก์ชันที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของผู้สูงอายุโดยตรง อาทิเช่น เก้าอี้นั่งถ่าย ที่มีการออกแบบมาเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถที่จะทำการนั่งถ่ายบนเก้าอี้รวมถึงสามารถที่จะนั่งอาบน้ำบนเก้าอี้นี้ได้ เป็นอุปกรณ์ของใช้ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงการลื่นหกล้มในห้องน้ำ ที่ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงในการลื่นล้มสูง

ท่าออกกำลังกาย ป้องกันหกล้มในผู้สูงอายุ

ท่าออกกำลังกาย ป้องกันหกล้มในผู้สูงอายุ

เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับผู้สูงอายุการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรเลือกท่าออกกำลังกายที่มีความเหมาะสม และจะต้องเป็นท่าออกกำลังกายที่จะช่วยป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ โดยท่าออกกำลังกายนี้สามารถทำตามได้ทุกวัน

  • ท่าบริหารกล้ามเนื้อบริเวณต้นขา สามารถทำได้โดยการนั่งบนเก้าอี้และเหยียดขาขึ้นจนสุด พร้อมกับกระดกเท้าค้างเอาไว้ นับ 1-10 แล้วจึงค่อยเอาลง
  • ท่าบริหารบริเวณกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง สามารถทำได้โดยการยืนขึ้นจับพนักพิงเก้าอี้ และทำการพับขาขึ้นทีละข้างค้างเอาไว้ นับ 1-10 แล้วจึงค่อยเอาลง
  • ท่าบริการบริเวณสะโพกด้านข้าง สามารถทำได้โดยการยืนขึ้นจับพนักพิงเก้าอี้ และกางขาออกไปด้านข้างค้างเอาไว้ นับ 1-10 แล้วจึงค่อยเอาลง 
  • ท่าบริการบริเวณข้อเท้า สามารถทำได้โดยการยืนขึ้นจับพนักพิงเก้าอี้ และเขย่งปลายเท้าค้างเอาไว้ นับ 1-10 แล้วจึงค่อยเอาลง

สรุปบทความ

และทั้งหมดที่ได้มีการกล่าวไปในข้างต้น คือ เทคนิคที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ การหกล้มในผู้สูงอายุ ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา แต่ถึงแม้ว่าทั้งหมดนี้จะเป็นเทคนิคที่สามารถช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้ อย่างไรก็ตามหากมีผู้สูงอายุอยู่ในบ้านหรืออยู่ในความดูแล ควรที่จะช่วยระมัดระวังอย่างใกล้ชิดและไม่ปล่อยปละละเลย