ไขข้อสงสัยภาวะขาดโปรตีน คืออะไร ทำไมถึงอันตรายกับผู้สูงอายุ

ไขข้อสงสัยภาวะขาดโปรตีน คืออะไร ทำไมถึงอันตรายกับผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้น “โปรตีน” ย่อมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เนื่องจากมนุษย์เรายิ่งอายุเพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ ความสามารถในการดูดซึมสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายจะมีลดลง หากร่างกายได้รับสารอาหารอย่างโปรตีนไม่เพียงพอ ภาวะขาดโปรตีน อาจทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพหลายๆ อย่าง อาทิเช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น อีกทั้งยังอาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพลดลง

ภาวะขาดโปรตีน คืออะไร

ภาวะขาดโปรตีน คืออะไร

โปรตีนเป็นสิ่งสำคัญที่ร่างกายจะนำเอาไปใช้ในการสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โดยปริมาณโปรตีนที่ควรได้รับในแต่ละวันนั้น อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น เพศ, อายุ, สภาพร่างกาย รวมถึงกิจกรรมในแต่ละวัน ซึ่งแต่ละคนอาจต้องการโปรตีนในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป หากร่างกายได้รับโปรตีนที่ไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน โดยปริมาณโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน มีปริมาณคร่าวๆ ดังนี้

  • บุคคลทั่วไป : 0.8 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
  • Endurance Athlete : 1.4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
  • Intermittent Sport : 1.4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
  • Strength Training : 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

ภาวะขาดโปรตีน ส่งผลเสียอย่างไรกับสุขภาพ

หากร่างกายเกิด ภาวะขาดโปรตีน จะมีสัญญาณต่างๆ ที่บ่งบอกอย่างชัดเจน อาทิเช่น ผมร่วง, ผมแตกปลาย, ผมขาดง่าย, สมองทำงานช้า, รู้สึกเบลอ, รู้สึกเหนื่อยล้า, รู้สึกเบื่อง่าย, ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ, เล็บ กระดูกเปราะ, ผิวหนังหยาบ, รู้สึกไม่อิ่ม, รู้สึกหิวบ่อย, แผลหายช้า, มีความเสี่ยงเกิดภาวะโลหิตจาง, สูญเสียมวลกล้ามเนื้อหรืออาจมีอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ภาวะขาดโปรตีน เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างไร

อย่างที่ได้มีการกล่าวไปในหัวข้อที่แล้วว่า ภาวะขาดโปรตีน ทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อหรืออาจมีอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ได้ เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อที่ลดลงนั้นมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยหากมวลกล้ามเนื้อลดลง 30% จะทำให้อ่อนแรงเกินกว่าที่จะสามารถนั่งด้วยตัวเอง และต้องใช้ เตียงไฟฟ้าผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันอาการแผลกดทับ แผลเรื้อรัง และไม่ใช่เพียงแค่กล้ามเนื้ออ่อนแรงเท่านั้น ในภาวะนี้อาจทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ หากกล้ามเนื้อลดลงถึง 40% อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

วิธีป้องกันภาวะขาดโปรตีนมีอะไรบ้าง

วิธีป้องกันภาวะขาดโปรตีนมีอะไรบ้าง

โปรตีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมเอาไว้ได้ เนื่องจากร่างกายมีการสลายโปรตีนและขับโปรตีนออกทุกวันตามธรรมชาติ แต่หากต้องการที่ป้องกัน ภาวะขาดโปรตีน สามารถทำได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ยกตัวอย่างเช่น ไข่, นม, เนื้อสัตว์, อาหารทะเล, ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, ข้าวโอ๊ต, เต้าหู้ เป็นต้น แต่สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอย่างปัญหาโรคไขมันในเลือกสูงและปัญหาโรคความดันโลหิตสูง จะต้องระวังเกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อย่างเช่น เนื้อสัตว์ติดหนัง, กุนเชียง, หมูยอ และหากมีการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายเช่นเดียวกัน โดยไตอาจทำงานหนักมากขึ้น ดังนั้นสำหรับผู้สูงอายุแล้วแนะนำเลือกรับประทานอย่างพอเหมาะ เพื่อความปลอดภัยสามารถปรึกษาแพทย์ร่วมด้วยได้

สรุปบทความ

สำหรับบ้านไหนที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วยหรือต้องดูแลผู้สูงอายุ หากต้องการจะหลีกเลี่ยงภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพนี้ ทำได้ไม่ยากเพียงดูแลเรื่องอาหารในแต่ละมื้อ ให้ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน และเลือกอาหารที่เหมาะสม เพียงเท่านี้ก็สามารถลดความเสี่ยงการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ได้ นอกจากโปรตีนจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในแต่ละมื้อแล้ว ผู้สูงอายุเองก็ควรได้รับสารอาหารอื่นๆ อย่างครบถ้วนด้วยเช่นเดียวกัน อย่างที่ได้มีการกล่าวไปว่าหากต้องการที่จะดูแลเรื่องอาหารของผู้สูงอายุอย่างถูกต้อง สามารถเข้ารับคำแนะนำโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะได้ และสุดท้ายเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวันแล้ว ก็ไม่ต้องมานั่งกังวลเกี่ยวกับ ภาวะขาดโปรตีน อีกต่อไป