เช็กวิธีเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้อง ทำตามนี้ไข้ลดเร็ว ไม่เสี่ยงต่อการชัก

อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงเรียกว่ามีไข้

เมื่อเป็นไข้ อาการแรกที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนก็คือ อาการตัวร้อน หรือมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงเกินกว่า 37 องศา จนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะช่วยลดไข้ได้ก็คือ การเช็ดตัวลดไข้ เพื่อให้น้ำช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกาย แต่เชื่อว่ายังมีคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนที่ยังไม่รู้ว่า การเช็ดตัวนั้นมีวิธีและขั้นตอนที่จะช่วยให้เช็ดตัวได้ผลดีและสามารถลดไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็ดตัวลดไข้ได้อย่างถูกวิธี ในบทความนี้เราจึงรวบรวมเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการเช็ดตัวมาให้แบบครบครัน

อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงเรียกว่ามีไข้?

โดยปกติแล้ว ร่างกายของคนเราไม่ได้มีอุณหภูมิที่คงที่ตลอดเวลา และจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละช่วงของวัน นอกจากนี้ยังอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างกัน แต่ตัวเลขมาตรฐานทางการแพทย์ระบุไว้ว่า 

  • อุณหภูมิร่างกาย 35.4 – 37.4 °C = ร่างกายปกติ 
  • อุณหภูมิร่างกาย 37.5 – 38.4 °C = มีไข้ต่ำ
  • อุณหภูมิร่างกาย 38.5 – 39.4 °C = ไข้สูง
  • อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 40 °C ขึ้นไป = ไข้สูงมาก

ความสำคัญของการเช็ดตัวลดไข้

การเช็ดตัวลดไข้เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มการระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยการใช้น้ำเป็นตัวช่วย นอกจากนี้ยังช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี แต่หากเช็ดตัวแล้วไข้ยังไม่ลดลง หรือมีไข้สูงอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดอาการชักได้

ระยะเวลาและความถี่ในการเช็ดตัวลดไข้

การเช็ดตัวลดไข้ควรทำนานประมาณ 10 – 20 นาที หรือตามความเหมาะสม และควรเปลี่ยนน้ำในอ่างบ่อย ๆ เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำอุ่นคงที่อยู่ตลอด และหลังจากเช็ดตัวไปแล้วประมาณ 15 -20 นาที ให้วัดอุณหภูมิซ้ำอีกรอบ หากพบว่าไข้ลดลง แสดงว่าการเช็ดตัวลดไข้นั้นได้ผลดี

  1. กะละมังสำหรับใส่น้ำ
  2. ผ้าสำหรับเช็ดตัวให้เปียก 2 ผืน
  3. ผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ สำหรับเช็ดตัวให้แห้ง
  4. ปรอทวัดไข้
  5. เจลประคบเย็น-ร้อน 2 อัน หรือกระเป๋าน้ำร้อนและน้ำแข็งอย่างละ 1 ใบ

2. วิธีเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้อง ลดไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกต้อง ลดไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเช็ดตัวลดไข้อย่างถูกต้องจะช่วยระบายความร้อนในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไข้ลดลง และช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวขึ้น โดยขั้นตอนการเช็ดตัวที่ถูกต้อง มีดังนี้

  • เลือกห้องที่ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ปิดแอร์และพัดลมให้เรียบร้อย
  • ถอดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย แล้วใช้ผ้าคลุมหน้าอกไว้
  • เตรียมน้ำอุณหภูมิห้อง หรืออุ่นเล็กน้อย ห้ามใช้น้ำเย็นอย่างเด็ดขาด
  • ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็กชุบน้ำ บิดหมาด ๆ และนำไปเช็ดตัว โดยให้เริ่มจากใบหน้า คอ และหลังหู จากนั้นเปลี่ยนผ้าและนำผ้ามาพักไว้ที่ซอกคอ
  • เช็ดบริเวณหน้าอก ท้อง และพักผ้าไว้บริเวณหัวใจสักครู่ ทำซ้ำ 2-3 รอบ
  • เช็ดที่มือทั้ง 2 ข้างและให้ผู้ป่วยกำผ้าไว้ในมือสักครู่
  • เช็ดแขนทีละข้าง โดยให้เช็ดจากปลายแขนเข้าสู่หัวใจ แล้วพักผ้าไว้ที่ข้อพับรักแร้สักครู่ ทำซ้ำ 2-3 รอบ
  • เช็ดขาทีละข้าง โดยให้เช็ดจากปลายขาเข้าสู่หัวใจ แล้วพักผ้าไว้ที่ข้อพับใต้เข่าหรือขาหนีบสักครู่ ทำซ้ำ 2-3 รอบ
  • ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงโดยหันหน้าเข้าหาผู้เช็ด แล้วเริ่มเช็ดตั้งแต่บริเวณหลัง ต้นคอ ไปจนถึงก้นกบ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง
  • นำผ้าขนหนูเช็ดตัวให้แห้ง และสวมเสื้อผ้าที่สบายตัว ระบายอากาศได้ดี
  • หลังเช็ดตัวประมาณ 15-30 นาทีให้วัดอุณหภูมิอีกครั้ง หากอุณหภูมิยังไม่ลดให้เช็ดตัวซ้ำ

3. ทริคที่ช่วยให้การเช็ดตัวลดไข้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

ทริคที่ช่วยให้การเช็ดตัวลดไข้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. ขณะเช็ดตัว ให้คนไข้พยายามดื่มน้ำมาก ๆ
  2. หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่นขณะเช็ดตัว ควรหยุดทำทันที และไม่ควรเช็ดตัวนานเกิน 20 นาที
  3. ขณะเช็ดตัวให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพราะร่างกายจะเกิดการเผาผลาญมากขึ้น ทำให้ไข้ไม่ลด
  4. ไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำร้อนหลังจากเช็ดตัวเสร็จ
  5. ไม่ควรเช็ดตัวด้วยการถูแรง ๆ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีผิวบอบบาง
  6. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำเย็นในการเช็ดตัว เพราะความเย็นจะทำให้หลอดเลือดหดตัว และไม่สามารถระบายความร้อนออกทางผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้รู้สึกหนาวสั่น และอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้อีกด้วย
  7. หลังเช็ดตัวไม่ควรใช้แป้งฝุ่นทาบริเวณใบหน้า ลำตัว แขน หรือขา เพราะแป้งฝุ่นจะเข้าไปอุดรูขุมขน ทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าที่ควร

สรุปบทความ

แม้ว่าการเช็ดตัวลดไข้จะดูเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ง่าย และไม่ต้องศึกษาข้อมูลมากนัก แต่การศึกษาวิธีที่ถูกต้องก็จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็ดตัวลดไข้ลูกน้อยได้แบบไม่ต้องกังวล และช่วยให้ไข้ลดลงได้จริง ทั้งนี้ นอกจากการศึกษาวิธีเช็ดตัวที่ถูกต้องแล้ว ก็อย่าลืมหาซื้ออุปกรณ์และยาที่จำเป็นเมื่อลูกน้อยเป็นไข้ติดบ้านไว้ด้วย