อัตราการเต้นของหัวใจสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกายได้ หากไม่ได้ออกกำลังกายหนัก ไม่มีอาการเจ็บป่วย หรือเสียเลือดกะทันหัน แต่หัวใจกลับเต้นเร็ว อย่าชะล่าใจ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้าย มารู้จักอาการหัวใจเต้นเร็ว ลักษณะแบบไหนที่ควรเฝ้าระวัง
ชวนรู้จักกับอาการ หัวใจเต้นเร็ว
อัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็วจะมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เล่นกีฬา ท้องเสีย หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ในกรณีมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น หรือเจ็บแน่นหน้าอก แนะนำให้เข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ
อัตราการทำงานของหัวใจปกติอยู่ที่เท่าไร
โดยปกติ อัตราการเต้นของหัวใจจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที หากเกิน 100 ครั้งต่อนาทีจะถือว่าหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
หัวใจเต้นเร็วเกิดจากอะไรได้บ้าง
มีหลายสาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นเร็ว สามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ออกกำลังกายหนักจนเกิดภาวะขาดน้ำ ท้องเสียหรืออาเจียน ดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลังมากเกินไป
ส่วนที่สอง คือเกิดจากโรคประจำตัวหรือโรคแทรกซ้อน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นต้น
สัญญาณที่ต้องเฝ้าระวังเมื่อหัวใจเต้นเร็ว
สำหรับหัวใจเต้นเร็วที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพียงนั่งพักสักครู่ หัวใจก็จะกลับมาเต้นในอัตราปกติ ในกรณีที่หัวใจเต้นเกิน 100 ครั้งต่อนาทีเป็นระยะเวลานาน ร่วมกับมีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ สามารถเป็นสัญญาณเตือนให้เฝ้าระวัง
1. หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่ หัวใจห้องบน
เป็นความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าที่บริเวณหัวใจห้องบน ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้น อาจเข้าสู่ภาวะลิ่มเลือดในหัวใจ ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
2. หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่ หัวใจห้องล่าง
เป็นความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าที่บริเวณหัวใจห้องล่าง นับว่าเป็นภาวะเสี่ยงที่จะเสียชีวิต บางกรณีต้องได้รับความช่วยเหลือด้วยการทำ CPR เพื่อช่วยให้ฟื้นคืนชีพ
3. หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ
คลื่นไฟฟ้าของหัวใจทำงานเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที แต่จะไม่เกิน 150 ครั้งต่อนาที เป็นอาการที่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากอัตราการเต้นไม่ลดลงควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
แนวทางการรักษาหัวใจเต้นเร็ว
แนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการหัวใจเต้นเร็ว โดยแพทย์จะเสนอทางเลือกในการรักษา ดังนี้
- การใช้ยา ช่วยลดความรุนแรงของอาการ แนะนำให้ใช้ยาควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพและเลี่ยงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว
- การจี้ไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ปล่อยคลื่นความถี่สูงไปยังบริเวณเนื้อเยื่อที่เป็นสาเหตุทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- การใช้ไฟฟ้ากระตุก เป็นการนำแผ่นเครื่องส่งไฟฟ้าวางบนบริเวณหน้าอก ช่วยปรับอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ
หัวใจเต้นเร็วดีขึ้นได้ เพียงปรับรูปแบบการใช้ชีวิต
การปรับรูปแบบการใช้ชีวิตให้เหมาะกับอาการหัวใจเต้นเร็ว ไม่ใช่วิธีการรักษาให้หายขาด แต่ช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง รวมทั้งหมั่นออกกำลังกาย จัดการกับความเครียด ความวิตกกังวล และพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นการปรับพฤติกรรมภายนอกที่ส่งผลดีต่อภายในร่างกาย
สรุป
อ่านมาถึงบทสรุป เชื่อว่าทุกคนคงแยกความแตกต่างระหว่างอัตราการเต้นหัวใจปกติกับเร็วกว่าปกติกันได้แล้ว นับว่าเป็นสัญญาณเตือนของร่างกายให้เฝ้าระวัง สำหรับใครที่สงสัยว่าตัวเองหรือผู้สูงอายุในบ้านอาจกำลังเผชิญกับอาการหัวใจเต้นเร็ว ก่อนเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ แนะนำให้ใช้เครื่องวัดความดันดิจิตอลเพื่อตรวจเช็กความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเบื้องต้นที่บ้านเสียก่อน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปโรงพยาบาล
ใครที่สนใจอยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์สุขภาพ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ SAMH เว็บไซต์จำหน่ายอุปกรณ์สุขภาพ ส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีด้วยตัวเอง คลิกที่นี่