อาการหน้ามืดเกิดจากอะไร แบบไหนที่ต้องระวัง

อาการหน้ามืดเกิดจากอะไร แบบไหนที่ต้องระวัง

อาการหน้ามืดหรืออาการวูบไปชั่วขณะเกิดขึ้นได้กับทุกคน และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ท้องเสียรุนแรง หรืออยู่ในสถานที่ร้อนจัด ในกรณีที่วูบหมดสติเป็นเวลานาน ถือเป็นสัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม บทความนี้จะพาทุกคนไปเจาะลึก “อาการหน้ามืดเกิดจากอะไร” และ “ตัวอย่างโรคร้ายที่มาพร้อมกับอาการนี้”

หน้ามืดเกิดจากอะไร

หน้ามืดเกิดจากระดับเลือดในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ร่างกายจึงแสดงอาการหน้ามืดหรือวูบชั่วขณะ บางกรณีสามารถเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน ที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาทการทรงตัว ส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียนและหน้ามืดได้

หน้ามืดบ่อย อันตรายไหม แบบไหนที่ต้องระวัง

หน้ามืดเกิดจากอะไร? อาการหน้ามืดหรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่าการเป็นลม จะรู้สึกหวิว ๆ มึน ๆ ทรงตัวไม่ได้ หลังจากนั้นประมาณ 1-2 นาที จะรู้สึกดีขึ้น เป็นลักษณะที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่ถ้าลักษณะอาการหน้ามืดรุนแรง เช่น หมดสติเป็นเวลานาน ใจสั่นเจ็บหน้าอก หน้าเริ่มเบี้ยว หรือมีอาการชักร่วมด้วย ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดหรือนำส่งโรงพยาบาลทันที

อาการหน้ามืด สัญญาณเตือนโรคร้ายอะไรบ้าง

ถึงแม้อาการหน้ามืดในลักษณะของการเป็นลมจะไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่อย่าเพิ่งชะล่าใจ หากมีอาการบ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณเตือนให้เฝ้าระวังโรคร้าย

1. โรคลมชัก

ภายในร่างกายจะมีแรงกระตุ้นไฟฟ้าที่ถูกส่งและรับโดยเซลล์ประสาทในสมอง อาการลมชักจะเกิดขึ้นหากมีบางอย่างขัดขวางการเดินทางของแรงกระตุ้นไฟฟ้าเหล่านี้ ซึ่งหากถามว่าอาการหน้ามืดเกิดจากอะไร สาเหตุแรกเริ่มที่พบบ่อยของโรคลมชัก คือ อาการหน้ามืดอันเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ

โรคความดันโลหิตต่ำ

2. โรคความดันโลหิตต่ำ

อาการหน้ามืดบ่อยเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ มองผิวเผินอาจดูไม่อันตรายมากนัก แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวมาก สาเหตุอาจมาจากภาวะขาดน้ำหรือความผิดปกติร้ายแรงอื่น ส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 หากอาการรุนแรงมากยิ่งขึ้นจะทำให้เกิดภาวะช็อกได้ 

3. โรคหัวใจ

ลักษณะอาการหน้ามืดหรืออาการวูบที่ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า เพราะฉะนั้นหากถามว่าหน้ามืดเกิดจากอะไร ส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ ส่งผลให้วูบหมดสติได้ง่าย ในบางกรณีอาจมีอาการอื่นแทรกซ้อนที่เป็นสัญญาณเตือนก่อนหมดสติ เช่น ใจสั่นรุนแรง เจ็บแน่นหน้าอก

4. โรคทางสมอง

ยกตัวอย่างโรคทางสมองที่มีสัญญาณเตือนเป็นอาการหน้ามืด ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง ให้เฝ้าระวังอาการหน้ามืดบ่อยครั้ง อ่อนเพลีย หรือเจ็บหน้าอก และโรคเลือดออกในสมอง ให้เฝ้าระวังอาการหน้ามืด ปวดศีรษะรุนแรง แน่นหน้าอก หรืออาเจียน 

โรคเบาหวาน

5. โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืดจน ในกรณีน้ำตาลสูงเฉียบพลันจะทำให้วูบหมดสติได้ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

สรุป

หลังจากอ่านมาถึงบทสรุป คงทราบคำตอบเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า “อาการหน้ามืดเกิดจากอะไร” ภัยร้ายที่ไม่อยากให้ทุกคนมองข้าม ถึงแม้ว่าอาการแรกเริ่มอาจมีลักษณะคล้ายกับการเป็นลมทั่วไป แต่อย่าลืมว่า ทุกความผิดปกติของร่างกาย บ่งบอกถึงสัญญาณเตือนบางอย่าง โดยเฉพาะหน้ามืดเป็นประจำ แนะนำให้หมั่นตรวจเช็กความดันเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเป็นโรคความดันโลหิตต่ำหรือโรคหลอดเลือดสมอง วัดผลง่าย ๆ ด้วยตัวเองกับเครื่องวัดความดันดิจิตอล หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ SAMH เว็บไซต์ที่รวมการจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับดูแลผู้ป่วยพักฟื้น อุปกรณ์ตรวจวัดและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน