โรคพาร์กินสัน ภัยร้ายที่น่ากลัวสำหรับผู้สูงอายุ

โรคพาร์กินสันคืออะไร

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยที่มากขึ้นส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็จะค่อย ๆ เสื่อมสภาพมากขึ้นตามอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมักจะมีอาการหรือเป็นโรคตามมาไม่น้อยเลย การดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความใส่ใจ เนื่องจากว่าบางโรคก็ถือว่าเป็นภัยร้ายที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุได้อย่างมากมาย หนึ่งนั้นก็คือ โรคพาร์กินสัน ภัยร้ายสำหรับผู้สูงอายุที่ควรทำความเข้าใจกันเอาไว้

โรคพาร์กินสันคืออะไร

โรคพาร์กินสันคือ โรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมในบริเวณระบบประสาทและสมองส่วนกลาง เป็นอีกหนึ่งโรคในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อยรองลงมาจากอัลไซเมอร์ โรคนี้จะมักจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะไม่สามารถรักษาให้ผู้ป่วยหายขาดได้ ทำได้เพียงการรักษาตามอาการให้บรรเทาและไม่ก่อให้เกิดการลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งหากผู้ป่วยทราบถึงอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษาทันที

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคพาร์กินสันนั้น ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่ามาจากอะไร แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการที่ร่างกายมีการผลิตสารโดพามีนลดลง นอกจากนั้นแล้วโรคนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การรับประทานยาบางชนิด  หรือเกิดจากความผิดปกติของสมอง อีกทั้งหากว่าบางครอบครัวมีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ก็อาจจะพบการถ่ายทอดโรคนี้ไปทางพันธุกรรมได้เช่นกัน

อาการของโรคพาร์กินสัน

มาถึงในส่วนอาการของโรคกันบ้าง โดยอาการของโรคพาร์กินสันที่แสดงออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนนั้นก็มีอยู่หลากหลายอาการ ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถทรงตัวได้ดีเหมือนเดิม, นอนหลับยาก และไม่สามารถพลิกตัวได้, มีอาการทางจิต, ตัวคุ้มลงและหลังค่อม, ตัวหนังสือที่เขียนจะเขียนได้เล็กลง, ในขณะที่นอนหลับจะมีอาการขยับแขน-ขาอย่างรุนแรง รวมถึงความสามารถในการได้กลิ่นก็ลดลงด้วย

ระยะอาการของโรคพาร์กินสัน

อาการของโรคพาร์กินสันไม่ได้มีแค่เพียงระยะเดียวเท่านั้น แต่ความจริงแล้วโรคนี้สามารถแบ่งอาการของโรคได้ออกเป็นทั้งหมด 5 ระยะด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ระยะที่ 1 เป็นอาการในระยะช่วงเริ่มต้นที่ผู้ป่วยจะมีอาการสั่นเมื่อต้องหยุดพัก หรือเมื่อไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายและอวัยวะ อีกทั้งยังจะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อขน แขน รวมถึงบริเวณลำตัวด้วย

ระยะที่ 2 อาการในระยะนี้จะเริ่มลุกลามไปยังอวัยวะอื่นมากขึ้น โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลังงอ สามารถเคลื่อนไหวได้ช้าลง และอาจจะเดินโก่งตัวไปข้างหน้า

ระยะที่ 3 อาการในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีการทรงตัวที่ผิดปกติไป เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสที่จะหกล้มก็มีมากขึ้น อีกทั้งการลุกยืนก็เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยทำได้ลำบากมากขึ้นด้วย

ระยะที่ 4 อาการในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง มีอาการสั่นลดลง แต่อาการที่เพิ่มขึ้นคือการเคลื่อนไหวที่ช้ากว่าเดิม ซึ่งหากว่าผู้ป่วยมีอาการในระยะนี้ก็จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

ระยะที่ 5 อาการในระยะนี้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยจะมีความแข็งเกร็งมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ในที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง มือและเท้าหงิกงอ เสียงพูดแผ่วเบา รับประทานอาหารไม่ได้ และตัวซูบผอมลง

แนวทางการรักษาโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันนับว่าเป็นโรคร้ายสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ควรปล่อยไว้เด็ดขาด หากทราบอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็ควรเข้ารับการรักษาทันที เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสม โดยแนวทางการรักษาโรคนี้ก็จะเป็นการเพิ่มปริมาณสารโดปามีนเข้าสู่ร่างกายให้เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาปริมาณยาที่ให้ตามอาการของผู้ป่วย

นอกจากนั้นแล้วก็จะต้องมีการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วย เพื่อเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำการเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น อีกทั้งการรักษายังสามารถทำได้ด้วยวิธีการผ่าตัด โดยวิธีการนี้จะเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนัก หรือผู้ป่วยที่เกิดอาการแทรกซ้อนหลังจากที่ได้รับยา

สรุปจบบทความ

อย่างไรก็ตามจากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้เลยว่าโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่น่ากลัวและนับว่าเป็นภัยร้ายสำหรับผู้สูงอายุจริง ๆ จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรีบทำงานรักษาและดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้นและไม่ทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม ซึ่งหนึ่งในวิธีการดูแลผู้สูงอายุให้ดีก็คือ การให้ผู้ป่วยนอนเตียงนอนผู้สูงอายุ ก็จะช่วยให้สามารถนอนได้อย่างสบายและเหมาะสม รวมถึงช่วยโอกาสที่จะมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนขึ้นมาได้ด้วย