ปัญหาอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มีสาเหตุจากอะไร แก้ได้อย่างไร

ปัญหาอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มีสาเหตุจากอะไร แก้ได้อย่างไร

ปัญหาการนอนไม่หลับเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยสูงอายุ เป็นกลุ่มช่วงวัยที่มักจะเจอปัญหานี้อยู่เสมอ ซึ่ง อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ สามารถที่จะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและหลายปัจจัยด้วยกัน สำหรับบ้านไหนที่มีผู้สูงอายุที่มักมีอาการนอนไม่หลับเกิดขึ้น บทความนี้จะช่วยทำให้คุณสามารถแก้ไขอาการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ให้กับผู้สูงอายุภายในบ้านได้

สาเหตุการเกิดอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

สาเหตุการเกิดอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

อย่างที่เราได้มีการเกริ่นไปในตอนต้นแล้วว่า อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยผู้สูงอายุแต่ละท่านอาจมีสาเหตุในการเกิดอาการที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเจาะลึกมากขึ้นทาง สมาพันธ์ เฮลธ์ จึงได้รวบรวมสาเหตุหลักมาให้ดังนี้

พฤติกรรมการใช้ชีวิต

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุมักมีอาการนอนไม่หลับ คือ พฤติกรรมการใช้ชีวิต เนื่องจากผู้สูงอายุหลายท่านจะชื่นชอบการงีบหรือการนอนในช่วงเวลากลางวัน อาจเป็นเพราะว่าไม่มีกิจกรรมอะไรให้ทำ ผู้สูงอายุจึงมักที่จะนอนหลับในช่วงเวลานี้อยู่เสมอ รวมถึงผู้สูงอายุที่ชื่นชอบการดื่มชาหรือกาแฟ พฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลให้ในช่วงเวลากลางคืนผู้สูงอายุจะนอนไม่ค่อยหลับนั่นเอง

ความเจ็บป่วย

อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุบางราย อาจเกิดขึ้นได้จากความเจ็บป่วยหรืออาการของโรคบางอย่าง ที่อาจส่งผลให้มีการสะดุ้งตื่นในช่วงเวลากลางดึก หรือทำให้เกิดอาการนอนไม่ค่อยหลับ ยกตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน, ภาวะต่อมลูกหมากโต, แผลกดทับที่เกิดจากการติดเตียง, ภาวะปวดกระดูก, ปวดข้อ, ปวดหลัง, อาหารไม่ย่อย เป็นต้น

ผลข้างเคียงจากยา

สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรงประจำตัว การรับประทานยาบางตัว อาจมีผลข้างเคียงออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางหรือระบบสมอง ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ ยกตัวอย่างเช่น ยาขยายหลอดเลือด, ยารักษาโรคไทรอยด์, ยาแก้อาการชัก, ยารักษาภาวะสมองเสื่อม, ยาสเตียรอยด์, ยารักษาอาการโรคซึมเศร้า และโรคพาร์กินสัน เป็นต้น

ปัญหาสุขภาพจิต

ผู้สูงอายุหลายท่านเมื่อไม่ได้ทำงานแล้ว อาจมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า, มีความรู้สึกหมดหวัง หรืออาจมีความเครียดสะสมเกิดขึ้นได้ และปัญหาสุขภาพจิตเหล่านี้ส่งผลให้ผู้สูงอายุหลายท่านมักเกิดอาการนอนไม่ค่อยหลับตามมา

ปัญหาจากสภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมภายในห้องนอนและสภาพแวดล้อมภายในบ้านเอง ก็อาจมีผลทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากผู้สูงอายุนั้นมักที่จะมีความวิตกกังวลสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากสภาพแวดล้อมในการนอนไม่มีความเหมาะสม เช่น มีเสียงดังรบกวน ก็อาจส่งผลให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับได้เช่นกัน

4 วิธีแก้อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

4 วิธีแก้อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ

1. ทานอาหารที่มีประโยชน์

หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจทำให้นอนไม่หลับ อาทิเช่น ชา, กาแฟ, แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมถึงการสูบบุหรี่เองก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ แนะนำให้เลือกรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยอาจเน้นไปที่การเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง จะมีส่วนช่วยในเรื่องของระบบการย่อย ป้องกันการเกิดภาวะท้องผูกที่อาจทำให้นอนไม่หลับได้

2. ออกกำลังกายช่วงเย็น

เลือกการออกกำลังกายเบาๆ ที่มีความเหมาะสม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกต้องการพักผ่อนเมื่อถึงเวลาเข้านอน แต่ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมโดยเด็ดขาด

3. งดดื่มน้ำก่อนเข้านอน

ก่อนเข้านอน 4-5 ชั่วโมง ให้หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเยอะ แนะนำว่าเมื่อใกล้ถึงเวลาเข้านอนแล้ว ให้ทำเพียงการจิบน้ำเล็กน้อยเพื่อเป็นการแก้อาการกระหายเท่านั้น เนื่องจากการดื่มน้ำเยอะจะทำให้ในระหว่างที่นอนอาจต้องลุกขึ้นมาเพื่อปัสสาวะ และอาจทำให้ไม่สามารถกลับไปนอนหลับต่อได้ดังเดิม

4. เข้านอนให้เป็นเวลา

เพื่อป้องกันอาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ แนะนำว่าควรทำการกำหนดเวลาในการเข้านอน การเข้านอนตรงเวลาเป็นประจำจะทำให้ร่างกายเกิดความคุ้นชิน และอย่าลืมที่จะจัดห้องนอน สภาพแวดล้อม เตียงผู้สูงอายุ ให้เหมาะแก่การนอนหลับพักผ่อน จะเป็นการช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถนอนหลับได้ง่ายมากขึ้นได้

สรุปบทความ

เมื่อเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับรวมถึงวิธีแก้อาการนอนไม่หลับข้างต้น จะทำให้ลูกหลานสามารถที่ช่วยดูแลและแก้ไขอาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุในบ้านได้อย่างตรงจุดที่สุด แต่หากได้มีการนำวิธีดังกล่าวไปปฏิบัติตามแล้วแต่อาการนอนไม่หลับก็ยังคงอยู่ และเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน ไม่ควรปล่อยเอาไว้จนกลายเป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรังโดยเด็ดขาด