หนทางสู่การเป็นผู้สูงอายุ ที่มีความสุข

หนทางสู่การเป็นผู้สูงอายุ ที่มีความสุข

ก่อนที่จะก้าวเข้าวัยสูงอายุ คนรอบข้างไม่ว่าจะเป็น ลูกๆ หลานๆ หรือแม่แต่กระทั่งผู้สูงอายุเองควรจะรับมือกับอารมณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงและเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีความสุข บทความนี้จึงได้รวบรวมความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุมาเผยแพร่ และให้ความสำคัญด้านสุขภาวะของผู้สูงอายุอีกด้วย

 

8 ข้อพึงปฏิบัติเพื่อชีวิตมีสุข

1.ผู้สูงอายุควรรู้จักโอนอ่อนผ่อนตามความเห็นของลูกหลานมีความคิดที่ยืดหยุ่นว่าจะอยู่กับคนในครอบครัวอย่างไรและเกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด

2.ผู้สูงอายุทำใจตระหนักได้ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นเรื่องธรรมดา

3.ควรมองชีวิตตนเองในทางที่ดี ภูมิใจที่เป็นที่พึ่งพิงให้แก่ผู้อ่อนวัย

4. เมื่อมีความกังวลต่างๆ ควรปรึกษาพูดคุยกับคนใกล้ชิด เพื่อได้ระบายอารมณ์ความรู้สึก

5.พยายามหากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน และมีคุณค่าทางจิตใจ หากไม่สะดวกในการเดินทางก็ใช้รถเข็น หรือไม้เท้าช่วยอำนวยความสะดวกได้

6.เข้าสังคมพบปะสังสรรค์กับผู้อื่นเพื่อพูดคุยปรับทุกข์ โดยปัจจุบันมีรถเข็นไฟฟ้าที่ช่วยให้ยืนและหยิบจับสิ่งของได้ จึงช่วยให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว ต้องนั่งรถเข็น สามารถเข้าสังคมได้ดีขึ้น

7.ยึดศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เช่น สวดมนต์ เข้าวัด

8.หมั่นทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ ไม่เครียด ไม่จู้จี้

 

เช็คอารมณ์ผู้สูงอายุ

ด้วยอายุร่างกายที่ค่อยๆ เสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา ทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ดังนั้นเรามาสำรวจอารมณ์ของผู้สูงอายุ และทำความเข้าใจกับสาเหตุของอารมณ์นั้นๆ กันค่ะ

1. อารมณ์เหงาและหว้าเหว่ :  คนวัยนี้มีเวลาว่างจากอาชีพการงานที่เคยทำ นอกจากนี้ยังมีภาวะร่างกายเสื่อม เช่น สายตาไม่ดี หูไม่ดี กิจกรรมที่ทำจึงมีข้อจำกัด อารมณ์เหงาของผู้สูงอายุมักมีอารมณ์อื่นร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคภัยไข้เจ็บ ทั้งนี้หากผู้สูงอายุต้องนั่งรถเข็นก็อาจส่งผลได้ เพราะไม่ได้เดินทางไปไหน

2. ย้อนคิดถึงความหลัง : ผู้สูงอายุมักคิดอะไรเงียบๆ บอกเล่าความหลังให้คนอื่นฟัง รวมทั้งกลับไปยังสถานที่ที่คุ้นเคย เพราะการย้อนอดีตนั้นเป็นการทบทวนการกระทำที่ผ่านมาว่าได้ทำสิ่งๆ นั้นดีแล้วหรือยัง

3. อารมณ์เศร้าจากการพลัดพราก : การสูญเสียคนที่รักมักจะมีอารมณ์ด้านลบเข้ามาประกอบด้วยเสมอ เช่น หว้าเหว่

เลื่อนลอย หลงลืม และปล่อยให้ตัวเองอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นนานๆจนบางทีผู้สูงอายุอาจจะทรุดลงได้ ทั้งนี้ผู้สูงอายุที่ประสบอุบัติเหตุจนต้องนั่งรถเข็น ก็จัดอยู่ในประเภทนี้เช่นกัน เพราะต้องประสบกับเหตุการณ์ร้ายๆ

4. วิตกกังวล : ความรู้สึกที่ต้องพึ่งลูกหลาน ทำให้ผู้สูงวัยขาดความมั่นใจ ขาดความสารถ เช่นการนั่งรถเข็นและต้องคอยพึ่งให้ลูกหลานเข็นรถเข็นให้ หรือความกลัวต่างๆ นาๆ โดยเฉพาะกลัวการไม่ได้รับการเอาใจใส่ ทำให้ อ่อนแรง ไร้เรี่ยวแรง รวมถึงเบื่ออาหารด้วย

5. โกรธ :  ผู้สูงอายุจะมีความรู้สึกโกรธ เมื่อมีความขัดแย้งและลูกหลานไม่ยอมรับความคิดเห็น

6. กลัวถูกทอดทิ้ง : เนื่องจากช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ทำสิ่งที่เคยทำอย่างคล่องแคล่วได้ลำบากขึ้น จึงมักกลัวการพึ่งลูกหลานมากเกินไป จนเกิดความรำคาญและทอดทิ้งตน แต่ถ้าให้ผู้สูงอายุได้ใช้รถเข็นที่สามารถเข็นรถเข็นได้ด้วยตัวเอง หรือรถเข็นไฟฟ้าที่เดินทางไปข้างนอกได้อย่างสะดวกสบาย ก็จะลดปัญหาข้อนี้ได้

7. ขี้น้อยใจ : คิดว่าตัวเองไร้ค่าและลูกหลานไม่ใส่ใจ อาจแก้โดยพยายามพาผู้สูงอายุไปนอกสถานที่ และให้เขานั่งรถเข็นที่เข็นเองเดินเคียงข้างไปกับเรา

8. หงุดหงิด : เนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ใครทำอะไรก็ไม่ถูกใจ เลยมักจู้จี้ขี้บ่น