ดูแลสุขภาพให้ห่างจาก ความดัน หัวใจ หลอดเลือด

หลายคนอาจมีคำถามว่า เราจะอยู่ในภาวะแบบนี้อีกนานขนาดไหน และจะทำอะไรต่อจากนี้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิดข้อมูลจาก BBC news คือ การรอวัคซีนจะใช้เป็นเวลา อีก 12 -18 เดือน เป็นอย่างต่ำ หากการทดลองดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยวัคซีนจะช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันหากได้รับเชื้อไวรัส ซึ่งถ้า 60% ของประชากรทั้งหมด ได้รับวัคซีนแล้ว ก็จะป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดขนานใหญ่อีกต่อไป ขณะที่ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ จะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี วิธีนี้อาจดูไม่แน่นอน และไม่สามารถกำหนดเวลาที่เฉพาะเจาะจงในแผนได้ โรงพยาบาลสมิติเวชให้คำแนะนำในการดูแลตัวเอง ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงว่า โรค Covid-19 หากติดแล้ว โอกาสเสียชีวิตประมาณ 2-3% ในกลุ่มคนปกติ และ 14-20% ในคนสูงอายุมากกว่า 60 ปี หรือ มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรทานยาอย่างสม่ำเสมอ หากออกไปข้างนอกควรใส่หน้ากากป้องกันทุกครั้งโดยไม่มีข้อแม้ หมั่นล้างมือบ่อยๆ ไม่ทานข้าวร่วมกับบุคคลอื่นๆ และหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่ผู้คนหนาแน่น และมีการให้ข้อมูลของวารสารการแพทย์ The Lancet ไว้ว่า โรค COVID-19 มักจะมีความอันตรายกับระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง หากติดเชื้อแล้วไม่รีบรักษา อาจมีความเสี่ยง นำไปสู่ภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตได้ โดยพบว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ส่งผลให้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 17% กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้ 7% ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้ 9% ดังนั้นผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจควรระมัดระวังมากเป็นพิเศษ แม้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดและมีนัยสำคัญถึงความแตกต่างในหลายงานวิจัยก็ตาม

เช่นเดียวกันกับข้อมูลจาก WHO ที่ระบุว่าผู้ที่มีอาการของโรคไม่ติดต่ออยู่ก่อนแล้วมีความเสี่ยงที่จะป่วยรุนแรงมากเมื่อติด เชื้อไวรัส โรคไม่ติดต่อเหล่านี้ประกอบด้วย โรคหัวใจและหลอดเลือด (เช่น ความดันโลหิตสูง ผู้ที่เคยป่วยหรือมีความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง) โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (เช่น โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง) โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง หรือโรคไตเรื้อรัง การดูแลสุขภาพ และป้องกันตัว เพื่อตัวเองและสังคม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องทำไปอย่างอย่างต่อเนื่อง ดูแลสุขภาพพื้นฐานของตัวเองและคนในครอบครัวให้ดี โรคไม่ติดต่อเหล่านี้ เราอาจอาจได้ยินมานาน โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และรู้สึกว่ามันไม่ได้เป็นอันตรายอะไร แต่จำนวนคนที่เป็นโรคเหล่านี้มีอยู่จำนวนมากทั้งที่ทราบดีว่าตัวเองเป็นและกำลังรักษาอยู่ และมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรค ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพพื้นฐาน ดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเหล่านี้ และลดความเสี่ยงในการมีปัจจัยที่เอื้อต่อการติดเชื้อโควิด

การดูแล เช็คสถานะของโรคเหล่านี้ปัจจุบันไม่ได้ทำยากอย่างที่คิด เช่น โรคเบาหวาน ก็มีเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ก็มีเครื่องวัดความดัน และเทคโนโลยีในเครื่องวัดความดันที่ช่วยสกรีนภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Pulse Arrhythmia Detection :PAD) และภาวะหัวใจสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation : AF หรือ AFIB) ขณะทำการวัดความดัน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการพัฒนาการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ อุปกรณ์แหล่านี้ช่วยให้เราสามารถตรวจวัดสุขภาพเองที่บ้านได้