ลืมกันแค่วันเดียว โรคนี้มีจริงหรือ?

ลืมกันแค่วันเดียว โรคนี้มีจริงหรือ?

เป็นโรคความจำเสื่อมชนิดหนึ่งที่มีอาการเพียง 1 วัน โดยเมื่อตื่นนอนขึ้นมาความทรงจำทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นปกติซึ่งโรคนี้มีอยู่จริงโดยมีชื่อทางการแพทย์ว่า Transient global amnesia (TGA) หรือกลุ่มอาการลืมเหตุการณ์ทั้งหมดชั่วคราว

 

เกี่ยวกับ TGA

TGA เป็นการสูญเสียความจำไปชั่วขณะ ที่ไม่ได้เกิดจากโรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก หรือโรคหลอดเลือดในสมอง โดยลักษณะการสูญเสียความจำของ TGA จะเป็นการสูญเสียความจำของสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น จู่ๆ ก็มีอาการจำไม่ได้ เช่น จำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น มาที่นี่ได้อย่างไร ถามคำถามซ้ำๆ เพราะถามแล้วก็จำไม่ได้ว่าได้รับคำตอบแล้วเมื่อถูกถามถึงสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นก็จำไม่ได้ โดยทั่วไปอาการจะเป็นอยู่ไม่นานเกินหนึ่งวันส่วนใหญ่จะน้อยกว่านี้ จากนั้นความทรงจำจะค่อยๆ กลับคืนมา

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด TGA

ปัจจัยเสี่ยง คือ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และการมีประวัติปวดศีรษะ หรือไมเกรน โรคลมชัก โรคหลอดเลือดทางสมอง ขาดการได้รับสารอาหารบำรุงสมอง เช่น น้ำมันปลา การแช่ในน้ำร้อนหรือน้ำเย็น การออกกำลังกายอย่างหนักกระทบกระเทือนทางสมองและมีความเครียดอย่างรุนแรง เป็นต้น โรค TGA ถือเป็นโรคที่ไม่เป็นอันตราย แต่ก็ต้องเฝ้าระวังหากมีอาการเกิดขึ้น จำเป็นต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจประเมินสาเหตุผู้ที่มีอาการ TGA อาจไม่สามารถให้ข้อมูลใดๆ ได้ เนื่องจากเสียความจำไป ดังนั้นคนใกล้ชิดที่อยู่ร่วมกันกับผู้ป่วยควรสังเกตรายละเอียดของอาการให้มากที่สุดและให้ข้อมูลกับแพทย์และพยาบาลเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง โดยถ้าเป็นไปได้ควรให้ทานอาหารที่บำรุงสมองและหลอดเลือดเช่นน้ำมันปลา ถ้าจะให้ดีควรเริ่มทานน้ำมันปลาตั้งแต่อายุยังไม่มาก เพื่อให้เซลล์สมองแข็งแรงอยู่เสมอ

 

สาเหตุของสมองเสื่อม

“ภาวะสมองเสื่อม” สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันการขาดสารอาหารและการเกิดเนื้องอกในสมองแล้วยังเกิดขึ้นได้จากการที่สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง รวมถึงผู้ที่อยู่ในภาวะอ้วนและมีกิจกรรมทางกายน้อย ขาดสารอาหารที่ไปบำรุงสมองเช่นน้ำมันปลา ส่วนสาเหตุสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือภาวะสมองเสื่อมนั้นถือว่ามีความเชื่อมโยงกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น เรียกว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกันเพราะยิ่งมีอายุมากขึ้นเท่าไรโอกาสและความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้นเนื่องจากความเสื่อมสภาพของเซลล์สมองในผู้สูงอายุย่อมมีมากขึ้นไปตามวัย หากเทียบสถิติผู้สูงอายุในประเทศไทยจะพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ร้อยละ 11.4 ในขณะที่โอกาสและความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 4 เท่าทันทีเมื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป ดังนั้นอย่าปล่อยให้อายุมาก ควรป้องกันตั้งแต่อายุน้อย

 

ระยะของสมองเสื่อม

โดยทั่วไปจะมีการแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อมออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับเริ่มต้นระดับกลางจนถึงระดับรุนแรงซึ่งในแต่ละระดับผู้ป่วยจะมีพัฒนาการของโรคจากน้อยไปหามากดังนี้

♦ ระยะที่ 1 ภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย  ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืมโดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น จำไม่ได้ว่าวางของใช้ไว้ที่ใดไม่สามารถจำชื่อสถานที่ที่คุ้นเคยได้ไม่ค่อยมีสมาธิเหลือเพียงความจำส่วนที่เกี่ยวข้องกับอดีตที่ยังดีอยู่เริ่มมีความบกพร่องในการทำกิจกรรมต่างๆ และการใช้ชีวิตในสังคมแต่ยังสามารถอยู่คนเดียวได้ช่วยเหลือตนเองได้และยังมีการตัดสินใจที่ค่อนข้างดี

♦ ระยะที่ 2 ภาวะสมองเสื่อมระดับปานกลางในระยะนี้ความจำเริ่มเสื่อมลงมาก มีความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจความสามารถในการเรียนรู้การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เช่น ความสามารถในการคำนวณ การกะระยะทาง ไม่สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดได้ทั้งที่เคยทำได้มาก่อนทำอาหารที่เคยทำไม่ได้ลืมชื่อ สมาชิกในครอบครัวช่วงท้ายระยะนี้อาจมีอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอนดังนั้นการปล่อยให้ผู้มีอาการเหล่านี้อยู่ตามลำพังอาจเป็นอันตราย จึงต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

♦ ระยะที่ 3 ภาวะสมองเสื่อมขั้นรุนแรงผู้ป่วยจำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้เลย สูญเสียความจำอย่างรุนแรงจำญาติพี่น้องไม่ได้หรือแม้แต่ตนเองก็อาจจำไม่ได้ด้วยมักเดินหลงทางในบ้านตนเองมีความผิดปกติต่างๆ เช่น บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้า เดินช้าและอาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

 

ดังนั้นเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม หรือโรค TGA จึงควรบำรุงหลอดเลือดและบำรุงสมองด้วยน้ำมันปลา เพราะน้ำมันปลามีกรดไขมันโอเมก้าสาม ที่ช่วยให้เซลล์สมองทำงานดีขึ้น และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด