การป้องกันอุบัติเหตุภายในบ้านให้กับผู้สูงอายุ
เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นอะไรหลาย ๆ อย่างย่อม เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมถอยลงและส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมากในวัยสูงอายุจึง มักมี ปัญหาด้านสุขภาพจิตได้ง่าย เพราะนอกจาก ร่างกายจะอ่อนแอลงแล้วยังมีโรคแทรกซ้อนเข้ามา ได้ง่าย เดินก็ไม่สะดวก ผิวพรรณ รูปร่างหน้าตา ก็เปลี่ยนไปในทางที่ไม่สวยงาม หลายๆ อย่างก็มี ความจำกัดอยู่มากจึงเกิดความน้อยใจและการซึมเศร้าได้ง่าย
ความเสี่ยงของอุบัติเหตุภายในบ้าน
เรื่องของอุบัติเหตุภายในบ้านก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้เสมออาจสัมพันธ์กันกับการได้ยิน การมองเห็น ความเจ็บป่วย ข้อเข่า แขนขาที่ อ่อนแรงลง เป็นต้น ทั้งหมดนี้ย่อมทำให้เกิดอุบัติเหตุ ขึ้นได้ง่ายมากผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุต่างๆได้สูงที่พบบ่อยคือการล้มและจากการใช้เครื่องใช้ต่างๆ เพราะปัญหาของการเสื่อมถอยของสมองทำให้เกิดอาการวิงเวียน ความสามารถในการทรงตัวลดลง กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ การมองเห็นและการได้ยินลดลงทำให้ผู้สูง อายุลื่นล้มได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องจัดบ้านให้ปลอดภัยต่อผู้สูงอายุ ที่จะลื่นหรือสะดุดล้ม อีกทั้งควรใช้เตียงผู้ป่วยที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้
ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ
♦ ไม่ควรให้นอนกับพื้นเพราะสรีระอาจไม่รองรับจนปัญหาได้ ควรให้นอนบนเตียงผู้ป่วยจะช่วยได้
♦ ควรเลือกเตียงที่ปรับระดับได้ เช่นเตียงผู้ป่วยที่มี 5 ไกร์ จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มาก
♦ เตียงนอนหรือเตียงผู้ป่วยควรมีระดับเตี้ยพอดี ที่ลุกนั่งแล้วเท้ายันพื้นได้ไม่ต้องเขย่งขา
♦ มีที่ยึดเหนี่ยว โดยเลือกเตียงนอนหรือเตียงผู้ป่วยที่มีราวจับและปรับระดับได้ให้เหมาะสม
♦ จัดให้ห้องพักอยู่ใกล้ห้องน้ำ หรือให้ดีควรจัดเตียงนอนหรือเตียงผู้ป่วยให้ใกล้ห้องน้ำอย่างเหมาะสม เพราะหากผู้สูงอายุลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึก แล้วห้องน้ำกับเตียงนอนหรือเตียงผู้ป่วยอยู่ห่างกันมาก อาจเกิดอันตรายได้
♦ ไม่มีสิ่งของที่เป็นอันตรายในห้องพัก หรืออยู่ใกล้เตียงผู้ป่วย
♦ ระมัดระวังเรื่องการใช้พรมปูพื้น เพราะพรมอาจทำให้ลื่นได้
♦ พื้นห้องน้ำต้องไม่ลื่น และใช้วัสดุที่มีแรงเสียดทานเพื่อลดความเสี่ยงจากการล้ม
♦ การมีราวจับจะช่วยการทรงตัวได้ดีขึ้น
♦ ทางเดินต้องสะดวก ไม่วางของเกะกะรวมทั้งบนพื้น ถ้าห้องมีขนาดเล็กควรเลือกเตียงผู้ป่วยที่ถอดเก็บ และเคลื่อนย้ายได้ง่าย เพราะอาจต้องจัดห้องบ่อย
♦ หลีกเลี่ยงการใช้บันได เนื่องจากผู้สูงอายุข้อเข่าไม่ดี ไม่ควรให้เดินอย่างยากลำบาก
♦ แสงสว่างตามทางเดินต่างๆทุกที่ต้องเพียงพอให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะไฟหัวเตียงสำคัญมาก
♦ เลือกรองเท้าที่กระชับ มีสายรัด หัวท้ายปิด นุ่มสบาย ส้นเตี้ย สะดวก ต่อการสวมใส่ และการถอด
♦ การใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน -ควรต้องพูดคุยแนะนำกับผู้สูงอายุถึงวิธีใช้อุปกรณ์ต่างๆซึ่งต้องง่ายและปลอดภัย หรือห้ามใช้อะไรบ้างเช่น ห้ามใช้เตาแก๊ส ห้ามจุด ธูป/เทียนไหว้พระและในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุเมื่อไม่มีคนอยู่บ้าน เป็นต้น
เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันอุบัติเหตุภายในบ้านที่อาจเกิดขึ้นได้แล้ว อย่าประมาทอย่างเด็ดขาด เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นอาจเป็น อันตรายถึงชีวิตได้ และหากจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เช่นเตียงผู้ป่วย ก็ให้เลือกสิ่งที่ดีให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้ท่านสะดวกสบายและปลอดภัยที่สุด