การเลือกรถเข็นสำหรับคนพิการ
การเลือกรถเข็นสำหรับคนพิการที่เหมาะสม มีความสำคัญมาก เพราะรถเข็นที่ดีนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกแล้ว รถเข็นที่นั่งสบายยังช่วยให้มีความสุขและลดโรคแทรกซ้อนเช่น แผลกดทับได้ ซึ่งการเลือกรถเข็นมีประเด็นหลักที่ควรพิจารณาดังนี้
♦ รถเข็นต้องรองรับร่างกาย ( Support )
♦ รถเข็นต้องมีความปลอดภัย ( Safety )
♦ รถเข็นต้องนั่งแล้วรู้สึกสบาย ( Comfort )
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและส่วนประกอบของรถเข็นสำหรับคนพิการแต่ละชนิด โดยมีหลักในการเลือกดังนี้ความกว้างของที่รองนั่ง ความกว้างของที่รองนั่ง = ความกว้างของสะโพก บวก 2-3 ซม. เมื่อผู้ป่วยนั่งแล้วควรมีช่องว่างด้านข้างสะโพกไม่เกิน 2 – 3 ซม. อาจตรวจสอบง่ายๆ โดยสอดฝ่ามือเข้าบริเวณข้างสะโพกผู้ป่วย
ความลึกของที่รองนั่ง
ความลึกของที่รองนั่ง = ระยะจากหลังสะโพกถึงใต้ข้อพับเข่า ลบออก 3-5 ซม. เมื่อผู้ป่วยนั่งรถเข็นแล้วข้อสะโพกและข้อเข่าควรงอประมาณ90 องศา และมีช่องว่างระหว่างขอบที่รองนั่งกับข้อพับเข่าของผู้ป่วยเล็กน้อย ( 3 – 5 ซม. ) อาจตรวจสอบโอยสอดนิ้วชี้และนิ้วกลาวงเข้าใต้ข้อพับเข้าของผู้ป่วย หากที่รองนั่งลึกเกินไป อาจเกิดการเสียดสีขนเป็นแผลบริเวณใต้เข่า หรือผู้ป่วยมักเลื่อนตัวมาด้านหน้าทำให้ตัวไหลตกจากรถเข็นได้
ตำแหน่งที่วางเท้าของรถเข็น
ตำแหน่งที่วางเท้า = ระยะจากขอบบนของเบาะรองนั่งถึงที่วางเท้า เมื่อผู้ป่วยนั่ง ข้อเข่าและข้อเท้าควรงอประมาณ 90 องศา ไม่งอ/เหยียดเกินไปและเข่าไม่ชันอาจตรวจสอบโดยสอดปลายนิ้วบริเวณใต้ส่วนปลายของต้นขา ต้นขาผู้ป่วยควรวางราบกับที่รองนั่งหากที่วางเท้าอยู่สูงเกินไป อาจส่งผลให้เพิ่มแรงกดทับบริเวณก้นของผู้ป่วยซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับและอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยนั่งตัวงอและปวดหลัง
ความสูงของพนักพิง
ความสูงของพนักพิง = ระยะจากขอบบนของเบาะรองนั่งถึงมุมล่างของสะบัก/ซี่โครง พนักพิงสูง เหมาะสำหรับผู้ที่นั่งทรงตัวไม่ดีนัก แต่หากสูงเกินไปอาจเป็นอุปสรรคต่อการการเข็นรถด้วยตัวเองพนักพิงระดับต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่ทรงตัวดีและต้องการความคล่องตัวในการเข็นรถด้วยตัวเองอย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับรถนั่งคนพิการแล้วผู้ป่วยควรได้รับการฝึกทักษะต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้รถนั่งคนพิการได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ