อัมพาตครึ่งซีก

อัมพาตครึ่งซีก

โรคอัมพาตครึ่งซีก ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถขยับร่างกายได้อย่างอิสระ อาจส่งผลให้เกิดแผลกดทับเพราะไม่ได้นอนบนที่นอนลมก็เป็นได้ ซึ่งการใช้ที่นอนลมให้มีการพองยุบสลับกันก็จะช่วยได้ ทั้งนี้โรคอัมพาตครึ่งซีกอาจแบ่งเป็น 3 ประการใหญ่ ๆ ซึ่งมีความรุนแรง และวิธีการรักษาที่ต่างกัน ดังนี้

 

1. หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis)

พบมากในคนสูงอายุเนื่องจากหลอดเลือดแดงมีการแข็งตัวหรือเสื่อม ทำให้มีโอกาสตีบตันได้ง่ายขึ้น  นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง,  เบาหวาน,  ภาวะไขมันในเลือดสูง, คนที่สูบบุหรี่จัด หรือดื่มเหล้าจัด หรือคนอ้วน ก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนปกติ เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้มักมีการเสื่อมและตีบของหลอดเลือดแดงเร็วขึ้น คนที่มีญาติพี่น้องเป็นอัมพาตครึ่งซีก ก็อาจมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าปกติสาเหตุนี้พบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่น ๆ และไม่ค่อยมีอันตรายร้ายแรง

 

2. หลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolism)

เนื่องจากมีลิ่มเลือดเล็ก ๆ (embolus) ที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดที่อยู่นอกสมอง หลุดลอยตามกระแสเลือดขึ้นไปอุดตันในหลอดเลือดที่อยู่ในสมอง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เช่นโรคหัวใจรูมาติก, กล้ามเนื้อหัวใจตาย, หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น

 

3. หลอดเลือดในสมองแตก หรือการตกเลือดในสมอง (Cerebral hemorrhage)

เป็นสาเหตุที่มีอันตรายร้ายแรงอาจตายได้ในเวลารวดเร็วมักมีสาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่เป็นมาแต่กำเนิด (congenital aneurysm), หลอดเลือดฝอยผิดปกติแต่กำเนิด (arterio-venous malformation/AVM) เป็นต้น หลอดเลือดผิดปกติเหล่านี้มักจะแตกและทำให้เกิดอาการอัมพาตเมื่อผู้ป่วยอยู่ ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน  โรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัว เช่น ตับแข็ง โรคเลือดบางชนิด เป็นต้น บางครั้งก็อาจกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของการตกเลือดในสมองได้

 

การรักษา

ถ้าหมดสติ ซึม คอแข็ง ชัก กินไม่ได้ ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้ามีภาวะขาดน้ำ ควรให้น้ำเกลือมาระหว่างทางด้วยส่วนผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวดี ควรส่งโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง อาจต้องตรวจหาสาเหตุด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง, ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก (MRI), เจาะหลัง, ตรวจเลือด, ตรวจปัสสาวะและอื่น ๆ แล้วให้การรักษาตาม สาเหตุ ดังนี้

 

1. ในรายที่เป็นเพียง ทีไอเอ (สมองขาดเลือดชั่วขณะ)

คือ มีอาการของอัมพาตไม่เกิน 24 ชั่งโมง แล้วหายได้เอง อาจให้แอสไพริน (ย1.1) วันละ 75-325 มก.ทุกวันตลอดไป เพื่อป้องกันมิให้มีการตีบตันของหลอดเลือดอย่างถาวรซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพาตชนิดถาวรในรายที่กินแอสไพรินไม่ได้ อาจให้ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เช่น ไทโคลดิพีน (Ticlodipine) มีชื่อทางการค้า เช่น ไทคลิด (Ticlid) ขนาด 250 มก. วันละ 2 ครั้งแทน

 

2. ในรายที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน

หรือมีลิ่มเลือดอุดตัน ให้การรักษาตามอาการ (เช่น ให้น้ำเกลือ ให้อาหารทางสายยาง ให้ยาลดความดันเลือด ให้ยารักษาโรคเบาหวาน เป็นต้น) ให้แอสไพริน วันละ 75-325 มก. ทุกวัน  หรือไทโคลดิพีน 250 มก. วันละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันมิให้หลอดเลือดตีบตันมากขึ้น และให้การรักษาทางกายภาพบำบัดในรายที่เกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน ในระยะ 2-3 วันแรก อาจให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น เฮพาริน (Heparin) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ถ้าจะดีขึ้นก็จะเริ่มมีอาการดีขึ้นให้เห็นภายใน 2-3 สัปดาห์ และจะค่อยๆ ฟื้นตัวขี้นเรื่อย ๆ จนสามารถช่วยตัวเองได้ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลัง 6  เดือนไปแล้ว ก็มักจะพิการ และหากเป็นเช่นนั้นต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพย์ช่วยเช่นที่นอนลมเพื่อลดการเกิดแผลกดทับ

 

3. ในรายที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก

ให้การรักษาตามอาการ และให้นอนบนที่นอนลมหรือเตียงผู้ป่วย หากต้องผ่าตัดสมองควรอยู่เคียงข้างให้กำลังตลอดจนเมื่อปลอดภัยแล้ว ค่อยให้การรักษาทางกายภาพบำบัดต่อไป

 

ข้อแนะนำ

1. เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนพ้นระยะอันตราย เริ่มรู้สึกตัวดี หายใจสะดวก กินอาหารได้ ควรให้การดูแลพยาบาลต่อ ดังนี้

♦ พยายามพลิกตัวผู้ป่วยไปมาทุก 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันมิให้เกิดแผลกดทับ (bed sores) ที่ก้น หลัง ข้อต่างๆ หรือถ้าไม่มีเวลาดูแลให้ผู้ป่วยนอนที่นอนลม ที่มีลอนพองยุบสลับกัน ซึ่งการพองยุบของที่นอนลมนี้จะช่วยลดความอับชื้น เปรียบเสมือนให้ผู้ป่วยได้พลิกตัวไปมาตลอดเวลา

♦ ให้อาหารและน้ำให้เพียงพอ ถ้าขาดน้ำ ผู้ป่วยจะซึม หรืออาการแย่ลง

♦ พยายามบริหารข้อโดยการเหยียด และงอแขนขาตรงทุก ๆ ข้อต่อบ่อยๆ เพื่อป้องกันมิให้ข้อเกร็งแข็ง

2. เมื่ออาการดีขึ้น ผู้ป่วยต้องหมั่นบริหารกล้ามเนื้อ และพยายามใช้แขนขา เพื่อให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น ถ้าผู้ป่วยนอนเฉย ๆ ไม่พยายามใช้แขนขา กล้ามเนื้อก็จะลีบ และข้อแข็ง

3. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง บางคนอาจฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยตัวเองได้

บางคนอาจฟื้นตัวช้า หรือพิการตลอดไป แต่สติปัญญาของผู้ป่วย แต่ไม่ว่าจะอย่างไรควรให้นอนบนที่นอนลม เพื่อลดการเกิดแผลกดทับ ทั้งนี้ส่วนมากยังปกติดี ญาติควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ อย่าแสดงความรังเกียจ และคอยให้กำลังใจผู้ป่วยอยู่เสมอ

4. ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ช่วยให้โรคนี้หายเป็นปกติได้ การรักษาขึ้นกับตัวผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในการพยายามฟื้นฟูกำลังแขนขา โดยวิธีกายภาพบำบัด ผู้ป่วยควรรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน ไม่ควรเปลี่ยนโรงพยาบาลบ่อย หรือเดินทางไปรักษายังโรงพยาบาลไกล ๆ เพราะการรักษาย่อมไม่แตกต่างกันมาก

5. ผู้ป่วยควรงดเหล้า บุหรี่ เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมแย่ลง

6. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน ควรดูแลรักษาโรคนี้อย่างจริงจัง