อะไรนะ!! โรคซึมเศร้าทำให้เป็นเบาหวาน

อะไรนะ!! โรคซึมเศร้าทำให้เป็นเบาหวาน

โรคซึมเศร้าและโรคเบาหวาน ดูเผินๆแล้วไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกันเลย เพราะโรคเบาหวานมักเกิดจากพันธุกรรม ส่วนโรคซึมเศร้าเกิดจากสภาพแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในอดีตได้มีคำกล่าวของนายแพทย์ชื่อดังระบุว่า คนที่มีอาการซึมเศร้าทั้งวันเมื่อตรวจน้ำตาลแล้วจะพบว่าตนเองมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เพราะโรคซึมเศร้าทำให้เป็นเบาหวาน และโรคเบาหวานก็เป็นต้นเหตุของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ข้อมูลนี้จะจริงเท็จอย่างไรก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าและโรคเบาหวานกันก่อนเลย

 

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้ามักเกิดในคนที่มีการสูญเสียร้ายแรง เช่น สูญเสียคนที่รัก สูญเสียความมั่นใจ ฯลฯ แต่หลายครั้งก็พบว่าโรคซึมเศร้าอาจเกิดในคนที่มีโรคประจำตัวหรือเกิดในคนปกติทั่วๆไปได้เช่นกัน  มีการประเมินว่าในระยะเวลา 1 ปีจะมีประชาชน 9% เป็นโรคซึมเศร้า โดยอาการของโรคซึมเศร้านั้นไม่เหมือนกับความเหงา ความหว้าเหว่ อย่างที่เราเห็นกันทั่วไป แต่โรคซึมเศร้าจะทำให้ผู้ป่วยขาดความมั่นใจในตนเอง เป็นทุกข์อย่างแสนสาหัส ไม่ว่าจะพยายามกระตุ้นตัวเองอย่างไรก็ยังคงจมอยู่กับความทุกข์ โรคซึมเศร้าทำให้สูญเสียคุณภาพชีวิตอย่างประเมินมิได้ โรคนี้ทำร้ายจิตใจผู้ดูแลได้เช่นกัน เพราะต้องรับกับสภาพอารมณ์ที่แปรปรวน และความกดดันทุกๆวัน หากสภาพจิตของคนรอบข้างไม่ดีพออาจเกิดการทะเลาะเบาะแว้ง และนำไปสู่การเลิกราได้เช่นกัน ส่วนหนึ่งเพราะไม่มีใครทราบว่าผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่เข้าใจว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจมากกว่า

 

โรคซึมเศร้ามี 3 ชนิด คือ

1. Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการที่รบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน โดยอาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งเป็นคราวแล้วหายไป แต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ

2. dysthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและตรอมตรมด้วยความทุกข์

3. bipolar disorder หรือที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต และอาจเป็นภัยกับคนรอบข้างได้

 

โรคเบาหวาน

เป็นโรคยอดฮิตของผู้สูงอายุ ที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอินซูลินทำงานผิดปกติ ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้เหมือนคนปกติ โดยเมื่อใช้เครื่องตรวจน้ำตาลแล้วพบว่าตนเองมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มก./ดล. ขึ้นไป จะถือว่ามีความเสี่ยงและถ้ามากกว่า 126 มก./ดล. ขึ้นไปจะถือว่าเป็นโรคเบาหวาน ทั้งนี้เป็นค่าที่ได้จากการตรวจน้ำตาลเมื่องดอาหาร หากตรวจน้ำตาลหลังอาหารค่าจะสูงกว่านี้ ดังตารางด้านล่าง

 ตรวจน้ำตาลเมื่องดอาหารตรวจน้ำตาลหลังอาหาร
คนปกติ60 – 100 มก. /ดล.น้อยกว่า 140 มก./ดล.
เสี่ยงต่อการโรคเบาหวาน100 – 126 มก. /ดล.140 – 200 มก. /ดล.
เบาหวาน126 มก. /ดล. ขึ้นไป200 มก. /ดล. ขึ้นไป

ขอบคุณที่มาจากเว๊ปไซต์ http://haamor.com/

 

เมื่อตรวจน้ำตาลแล้วพบว่ามีค่าสูงกว่าเกณฑ์อย่ารอช้า ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป โดยโรคเบาหวานนั้นจะมีสองกลุ่มดังนี้

โรคเบาหวานกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่พบได้น้อยมากประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด โดยผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มนี้จะไม่สามารถสร้างอินซูลินได้หรือสร้างได้น้อยมาก จึงมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ดังนั้นเมื่อใช้เครื่องตรวจน้ำตาลก็จะเห็นค่าสูงกว่า 126 ขึ้นไป (ตรวจน้ำตาลเมื่องดอาหาร) ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มนี้มักจะเกิดจากกรรมพันธ์

 

โรคเบาหวานกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่พบได้ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด โดยเบาหวานกลุ่มนี้จะเกี่ยวข้องกับเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูง และเมื่อตรวจน้ำตาลก็จะพบว่าค่าสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มนี้เกิดได้ทั้งจากกรรมพันธ์และพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ชอบทานแป้งขัดสี ข้าวขัดสี หรือทานของมัน ของทอดมากเกินไป

 

โรคซึมเศร้าทำให้เกิดโรคเบาหวาน!!

มาถึงหัวใจสำคัญของบทความนี้ โรคซึมเศร้าทำให้เกิดโรคเบาหวานได้อย่างไร? ก่อนอื่นต้องรู้จักกับฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า คอร์ทิซอล หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดนั่นเอง โดยปกติฮอร์โมนคอร์ติซอลมีประโยชน์กับร่างกาย ฮอร์โมนชนิดนี้ถูกผลิตจากต่อมหมวกไต และ จะถูกสร้างมากขึ้นในตอนเช้า เพื่อช่วยให้ร่างกายตื่นตัว ช่วยให้หัวใจบีบตัวแรงขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมอง และช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือดด้วย เพื่อให้เราพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาระหว่างวัน ฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เพิ่มขึ้นในตอนเช้าจะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ จนถึงตอนเย็น แต่เมื่อเราเกิดความเครียดระหว่างวัน ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะเพิ่มสูงขึ้นมาก จากฮอร์โมนที่เป็นมิตรจะวกกลับเข้ามาทำร้ายเรา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอาการเครียดตลอดทั้งวัน คอร์ติซอลจะสูงมาก และมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้ดังนี้

1. ยิ่งเครียดยิ่งกิน ใครว่าคนเครียดจะผอมอิดโรยเสมอไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายราย มีอาการเครียดจัดจนคอร์ติซอลสูงลิบ และเจ้าคอร์ติซอลเป็นตัวกระตุ้นให้เรารู้สึกหิวโหย อยากทานอาหาร ทั้งที่ร่างกายอิ่มแล้ว ทำให้ผู้ป่วยกินจุกจิกตลอดเวลา ยิ่งของทอด ของมัน ของหวาน จะยิ่งชอบเป็นพิเศษ ซึ่งการทานอาหารไร้ประโยชน์เหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นเบาหวานได้

2. ขาดการออกกำลัง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าแทบจะไม่ออกกำลังกายหรือขยับตัวเลย ไม่ใช่เพราะร่างกายมีปัญหา แต่เพราจิตใจที่ห่อเหี่ยวไม่มีกระจิตกระใจจะทำอะไร นั่นส่งผลเกิดไขมันสะสมในเส้นเลือด ซึ่งทำให้เซลล์ในร่างกายรับสารอาหารได้น้อยลง เมื่อสุขภาพเซลล์ย่ำแย่ ก็จะมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทที่สอง คือ เซลล์ไม่ตอบสนองต่ออินซูลินนั่นเอง

3. ระบบฮอร์โมนองค์รวมผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ไม่ใช่แค่คอร์ทิซอลผิดปกติเท่านั้น แต่ฮอร์โมนโดยรวมในร่างกายจะแปรปรวนไปหมด ซึ่งฮอร์โมนนั้นถือเป็นตัวควบคุมกระบวนการต่างๆในร่างกายที่สำคัญมาก หากทำงานผิดปกติ ไม่ใช่แค่โรคเบาหวานเท่านั้น อาจจะนำพาโรคตับ ไต หัวใจ และอื่นๆตามมาด้วย

4. เพิกเฉยต่อโรคเบาหวาน ข้อนี้อาจเป็นข้อสำคัญที่สุด ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อลองกรวดน้ำตาลในร่างกายจะพบว่า อาจมีน้ำตาลในเลือดมากกว่าเกณฑ์ปกติ มีความเสี่ยงต่อเบาหวาน แต่ในช่วงเริ่มต้นของเบาหวานจะไม่รุนแรงมาก ไม่สร้างความลำบากเท่าใดนัก จึงไม่แปลกที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเพิกเฉย ไม่สนใจ ไม่ดูแลตนเอง ตรวจน้ำตาลแล้วได้ค่าสูงกว่าปกติก็เพิกเฉย สุดท้ายก็เป็นเบาหวานขั้นรุนแรงด้วยสภาพจิตใจเช่นนี้ ก็ยากที่จะหายได้

 

รู้อย่างนี้แล้ว อย่าเพิกเฉยกับโรคซึมเศร้า ถ้าหากรู้ว่าคนใกล้ตัวมีภาวะเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าก็ควรหาซื้อเครื่องตรวจน้ำตาล เครื่องวัดความดัน มาตรวจสอบความเสี่ยงเป็นระยะ ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจไม่ยินดีต่อการวัดนัก ผู้ดูแลควรจะให้กำลังใจและเอาใจใส่ เพราะหากเพิกเฉยต่อการตรวจน้ำตาลเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยง แล้วเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้นมา การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะยากลำบากกว่านี้หลายเท่าตัว