ผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งช่วงวัยที่มักพบอาการโรคซึมเศร้าสูง จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าวัยสูงอายุนั้น มีภาวะซึมเศร้ามากถึง 10-20% ของประชากร และมักที่จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สำหรับครอบครัวไหนที่มีผู้สูงอายุอยู่ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการและสาเหตุของการเกิด โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ จะสามารถช่วยป้องกันรวมไปถึงสามารถที่จะรับมือได้หากผู้สูงอายุในบ้านมีอาการโรคซึมเศร้า
อาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
อาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นอาจมีอาการได้ตั้งแต่มีความเศร้าเล็กน้อย มีอารมณ์ที่ไม่แจ่มใส ไปจนถึงอาจมีความรุนแรงจนถึงขั้นที่มีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย หากสังเกตผู้สูงอายุในบ้านและพบว่า ผู้สูงอายุในบ้านมีสภาวะทางอารมณ์หรือมีอารมณ์ที่เปลี่ยนไปจากปกติ อาทิเช่น จากที่เคยอารมณ์ดีกลายเป็นคนที่มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย, สังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุในบ้านรู้สึกเบื่อหน่ายในการใช้ชีวิตอยู่, สังเกตเห็นว่าผู้สูงอายุในบ้านมีอาการนอนไม่หลับ หรือไม่มีพลังงาน มักจะมีอาการอ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุอยู่เสมอ แนะนำว่าควรเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยดีกว่าปล่อยเอาไว้จนอาการรุนแรงและเกิดอันตรายในที่สุด
สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
โดยส่วนใหญ่แล้วการอาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นมักที่จะมีสาเหตุการเกิดโรคมาจากการกระตุ้นทางกาย ทางจิตใจ และทางสังคม โดยการกระตุ้นทางกายที่กล่าวมานั้น อาจเกิดขึ้นจากโรคประจำตัวต่างๆ เช่น ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน, ไขมันในเลือด, ความดัน หรือผู้สูงอายุที่มีอาการป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ต้องใช้ เตียงนอนผู้สูงอายุ ในส่วนของปัจจัยกระตุ้นทางจิตใจและสังคมนั้น อาจเกิดจากการสูญเสียบุคคลภายในครอบครัว หรือการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในชีวิตบางอย่าง รวมไปถึงปัญหาคาราคาซังในชีวิตที่แก้ไม่ตก ล้วนอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้
การป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
สำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ร่วมด้วย สามารถที่จะป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้เช่นเดียวกัน โดยผู้สูงอายุนั้นเป็นช่วงวัยที่ต้องได้รับการดูแลและการเอาใจใส่ ครอบครัว ลูกหลาน อาจหากิจกรรมต่างๆ มาทำร่วมกันกับผู้สูงอายุ ยกตัวอย่างเช่น การหางานอดิเรกมาทำร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร หรือการทำกิจกรรมที่ผู้สูงอายุชื่นชอบ การออกกำลังกายร่วมกัน เพื่อให้สารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หลั่งออกมา เพิ่มความสุขและช่วยกระตุ้นให้สมองตื่นตัวมากยิ่งขึ้น โดยแนะนำไปที่การออกกำลังกายเบาๆ อย่างการเดินช่วงเย็น เป็นต้น
การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า
หนึ่งสิ่งที่ครอบครัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะต้องเตรียมตัวเลยคือจิตใจของตนเอง อย่างที่ทราบกันดีว่าการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้านั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและต้องใช้ความเข้าใจสูงมากเลยทีเดียว แต่หากผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มีการพบแพทย์อย่างเคร่งครัด และเมื่อรักษาอาการซึมเศร้าให้หายได้แล้วนั้น สิ่งที่ครอบครัวจะต้องทำคือ การดูแลเอาใจใส่ การพูดคุย เพื่อป้องกันไม่ให้อาการซึมเศร้าที่รักษาหายแล้วกลับมาได้อีก แต่ในกรณีที่ยังอยู่ในขั้นตอนการรักษา ครอบครัวหรือผู้ดูแลจะต้องพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เก็บของมีคม และไม่ทิ้งผู้ป่วยไว้โดยลำพัง
สรุปบทความ
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ คือ โรคทางจิตใจที่สามารถสร้างบาดแผลให้กับทั้งผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดได้ ดังนั้นหากครอบครัวไหนที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ร่วมด้วย การดูแลเอาใจใส่ และการพูดคุย การหากิจกรรมทำร่วมกันภายในครอบครัว สามารถที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ และหากคุณสังเกตเห็นความผิดปกติทางอารมณ์ของผู้ใหญ่ภายในบ้าน หรือผู้สูงอายุภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ปู่, ยา, ตา, ยาย หรือแม้แต่พ่อและแม่ ไม่ควรที่จะปล่อยปละละเลยโดดเด็ดขาด และหากพบแพทย์และปรากฏว่าผู้สูงอายุในบ้านมีอาการป่วยซึมเศร้า ควรพาเข้ารักษาตามแนวทางต่อไป