การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน

รถเข็นกับชีวิตประจำวัน

รถเข็นจัดเป็นอุปกรณ์จำเป็นในผู้ป่วยในชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยที่อัมพาตหรือมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงตั้งแต่ช่วงเอวลงไปถึงด้านล่าง เวลาที่ต้องเดินทางไปไหนมาไหน หรือต้องดำเนินชีวิตในแต่ละวัน จำเป็นที่จะต้องนั่งรถเข็น เพราะส่วนใหญ่ไม่สามารถลุกขึ้นยืน หรือหยิบจับสิ่งของได้ด้วยตัวเอง จึงต้องอาศัยญาติหรือผู้ดูแลให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา  สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือรายที่ยังแข็งแรงไม่พอที่จะเดินการเลือกซื้อรถเข็นให้แก่ผู้ป่วย

 

วิธีเลือกรถเข็น

โดยวิธีการเลือกรถเข็นจะต้องเลือกขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยเมื่อผู้ป่วยนั่งอยู่บนรถเข็นจะต้องมีพื้นที่ระหว่างตัวผู้ป่วยกับที่วางแขนอย่างน้อยด้านละ 1-2 นิ้ว ขอบที่นั่งด้านหน้าจะต้องอยู่ห่างจากด้านหลังหัวเข่าอย่างน้อย 1 นิ้วเพื่อป้องกันการกดเส้นเลือดเส้นประสาทบริเวณนั้น รถเข็นควรจะเป็นชนิดที่สามารถใช้ในบ้านได้เป็นอย่างดี เพื่อการคล่องตัวในการใช้งานที่พื้นที่แคบด้วยการขับเคลื่อนล้อหน้าสะดวกในการตีวงเลี้ยวในที่แคบและเพื่อเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วย ที่วางแขนก็ควรเลือกชนิดที่ถอดออกได้เช่นกันเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

 

เบาะรองนั่งสำหรับรถเข็น

เบาะรองนั่งของรถเข็นไม่ควรเลือกชนิดที่นิ่มจนเกินไปเพราะจะทำให้ตัวของผู้ป่วยจมลงไปในเบาะ ซึ่งหากผู้ป่วยต้องนั่งรถเข็นนานๆ เบาะที่นิ่มเกินไปนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีท่านั่งที่ไม่ดี ทำให้กล้ามเนื้อผู้ป่วยตึงได้ง่าย หรือ ควรเลือกเบาะทีมีการออกแบบรองรับสรีระผู้ป่วยแบบ s-shape  เพื่อช่วยไม่ให้ผู้ป่วยลื่นไหลและยังช่วยลดอาการเกิดแผลกดทับได้อีกด้วยและพนักพิงเพื่อช่วยจัดตัวผู้ป่วยให้นั่งอย่างถูกต้อง เบาะรองนั่งรถเข็นควรเป็นชนิดที่ซักหรือทำความสะอาดได้ง่าย หรือเบาะที่ป้องกันเชื้อราและการสะสมของเชื้อโรค

 

ความปลอดภัย

ควรเลือกอุปกรณ์ซัพพอร์ตแบบ ปรับระดับได้ตามความเหมาะสมของผู้ใช้การปรับรถเข็นควรดูว่าขนาดความสูงสัมพันธ์กับผู้ป่วยหรือไม่โดยความสูงของที่วางเท้าจะต้องพอเหมาะที่ไม่ทำให้หัวเข่าของผู้ป่วยอยู่สูงกว่าสะโพก เพราะจะทำให้ผู้ป่วยจมลงไปในเบาะรถเข็น ที่วางแขนเมื่อผู้ป่วยวางแขนจะต้องไม่ทำให้หัวไหล่ของผู้ป่วยยกสูงอยู่ในลักษณะยักไหล่ ขนาดของที่วางเท้าต้องพอดีกับเท้าของผู้ป่วยไม่เล็กจนเกินไปและออกแบบให้เข้ากลับสรีระ สิ่งเหล่านี้คือข้อพิจารณาเบื้องต้นในการเลือกซื้อรถเข็นสำหรับผู้ป่วยในชีวิตประจำวัน

 

การทรงตัว (balance)

คือ ความสามารถที่ร่างกายสามารถรักษาและปรับเปลี่ยนจุดศูนย์กลางมวลของร่างกาย(center of mass)ให้อยู่ในฐาน (base of support) ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก และแรงภายนอกจากปัจจัยต่างๆได้ หรือพูดง่ายๆก็คือความสามารถที่ร่างกายสามารถทรงท่าทางของตนเองให้ตั้งอยู่ได้โดยไม่ล้ม เมื่อเราต้องทำกิจกรรมต่างๆภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง ในคนปกติร่างกายจะมีการปรับการทรงตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อเราต้องขึ้นมาอยู่ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วงโลกโดยผ่านการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มทรงท่าต่างๆ เมื่อเราต้องขยับตัวทำกิจกรรมต่างๆ ตำแหน่งของจุดศูนย์กลางมวลจะมีการเปลี่ยนตำแหน่งทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเอื้อมมือหยิบของ เดิน ก้มตัว กล้ามเนื้อทรงท่าเหล่านี้ต้องทำงานเพื่อให้เรายังทรงท่าอยู่ได้

 

ประโยชน์ของการฝึก

ฉะนั้น การฝึกการทรงตัวที่ดีก็ควรที่จะฝึกให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งของจุดศูนย์กลางมวลในขณะที่มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ โดยผ่านการทำกิจกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวันโดยอาจแบ่งกิจกรรมออกเป็นระดับตามความยากง่ายของกิจกรรมจึงจะทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูการทรงตัวได้ไวและดีขึ้น