เช็กก่อนกิน ผลไม้โพแทสเซียมสูงที่ผู้ป่วยไตควรเลี่ยง

เช็กก่อนกิน ผลไม้โพแทสเซียมสูงที่ผู้ป่วยไตควรเลี่ยง

ไตเป็นอวัยวะหนึ่งที่ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ผู้ป่วยโรคไตจึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง เพราะอาหารเหล่านี้จะส่งผลให้ไตทำงานหนักยิ่งขึ้น แต่ผู้ป่วยหลายคน ก็มักจะเข้าใจว่าการหลีกเลี่ยงอาหาร ในที่นี้หมายถึง หลีกเลี่ยงอาหารเค็มเพียงอย่างเดียว 

ทว่าในความเป็นจริง ไม่ได้เพียงแต่ต้องหลีกอาหารเค็มเท่านั้น ผลไม้โพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคไตก็ไม่ควรทาน เช่นกัน เพราะจะทำให้อาการป่วยรุนแรงมากขึ้นได้ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ทราบว่าผลไม้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูงมีอะไรบ้าง สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่นี่เลย

ทำไมผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผลไม้โพแทสเซียมสูง

ด้วยความที่ไตทำหน้าที่ขับของเสียทั้งหมดออกจากร่างกาย และโพแทสเซียมที่มีปริมาณมากเกินไป ไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกาย เพราะการทานผลไม้โพแทสเซียมสูง จะส่งผลให้ไตไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกได้หมด ทำให้มีสารดังกล่าวตกค้างในร่างกาย แล้วทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้นั้นเอง จึงเป็นที่มาว่าผู้ที่ป่วยโรคไต ไม่ควรทานผลไม้ประเภทนี้มากที่สุด

6 ผลไม้โพแทสเซียมสูงที่ผู้ป่วยโรคไตควรระวัง

ประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องของอาหารการกินอุดมสมบูรณ์มาก ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดต่างมีประโยชน์แต่ควรเลือกทานที่เหมาะสมกับสุขภาพร่างกายของตนเอง ซึ่งผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรทาน เพราะเป็นผลไม้โพแทสเซียมสูง นั้น มี 6 ชนิด ดังนี้

1. กล้วยไข่

โดยปกติกล้วยทุกชนิดจะมีปริมาณของโพแทสเซียมสูงอยู่แล้ว ทว่าในบรรดากล้วยทุกชนิดนั้น ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการทานกล้วยไข่และกล้วยหอมมากที่สุด เพราะกล้วยไข่เป็นกล้วยที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูงถึง 128 มิลลิกรัม ส่วนกล้วยหอมมีปริมาณของโพแทสเซียมสูงถึง 400 มิลลิกรัม หากผู้ป่วยโรคไตทาน อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดภาวะไตวายฉับพลันได้

2. ทุเรียน

ทุเรียน

ทุเรียนเป็นอีกหนึ่ง ผลไม้โพแทสเซียมสูง รวมไปถึงฟอสฟอรัสสูงด้วย หากผู้ป่วยโรคไตทาน อาจจะทำให้ปริมาณของโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายสูงเกินไป ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดปกติ และมีภาวะหลอดเลือดจะแข็งตัวมากขึ้น ทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตทำงานผิดปกติ จนส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้อาการทรุดหนักลงได้เช่นกัน

3. มะละกอสุก

มะละกอสุก เป็นผลไม้โพแทสเซียมสูงที่ผู้ป่วยโรคไตทานได้ แต่ต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะมะละกอสุกมีคุณประโยชน์เยอะมาก ทั้งวิตามินเอ วิตามินซี กากใยอาหาร ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและรักษาสมดุลระบบขับถ่าย ทว่าหากผู้ป่วยโรคไตทานมะละกอสุกปริมาณมากไป ร่างกายจะมีการสะสมโพแทสเซียมเยอะขึ้น มีโอกาสที่หัวใจจะเต้นผิดปกติและไตวายเฉียบพลันได้

4. แก้วมังกร

แก้วมังกร

เชื่อว่าผู้ป่วยโรคไตมักจะเข้าใจผิดคิดว่าการทานแก้วมังกร สามารถบำรุงร่างกายได้ ด้วยความที่แก้วมังกรมีไฟเบอร์สูง ช่วยปรับสมดุลระบบขับถ่าย ยับยั้งการดูดซึมไขมันของร่างกาย ทานแล้วอิ่มท้องนาน จึงช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี เป็นผลไม้ที่ผู้หญิงชอบทานกันมาก 

ทว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคไต กลับไม่ควรทานแก้วมังกร แม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกายเยอะก็ตาม เพราะเป็นผลไม้โพแทสเซียมสูงมาก ผู้ป่วยโรคไตจึงควรหลีกเลี่ยงไปทานผลไม้ชนิดอื่น ๆ แทน จะดีต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวได้มากที่สุดนั้นเอง

5.ขนุน

ด้วยความที่ขนุนเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ช่วยในการขับถ่ายหรือที่หลายคนเข้าใจว่าเป็น “ยาระบายอ่อน ๆ” และเป็นผลไม้โพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตจึงไม่ควรทาน เพราะถ้าทานในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้มีอาการท้องเสียรุนแรง ร่างกายขาดน้ำ และเสี่ยงที่จะเกิดอาการไตวายเฉียบพลันได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคไตจึงไม่ควรทานขนุน แต่ถ้าอยากจะทานก็สามารถทานได้บ้าง  โดยควรทานในปริมาณน้อย นาน ๆ ครั้ง

6. เชอร์รี่

เชอร์รี่

แม้ว่าเชอร์รี่จะเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณเยอะมาก ทั้งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินซีสูง ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่าง ๆ นานาได้ดี ทว่าหากทานในปริมาณที่มากไปก็อาจไม่เป็นผลดี เพราะเชอร์รี่เป็นผลไม้โพแทสเซียมสูง หากผู้ป่วยที่เป็นโรคไตทานเยอะ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไตวายหรือต้องเข้ารับการฟอกไตมากกว่าปกติได้ จึงควรทานในปริมาณน้อย ๆ อย่างพอเหมาะจะดีที่สุด

สรุปบทความ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต จะมีการทำงานของไตผิดปกติ ทำให้การขับของเสียออกจากร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าดังเดิม หากทานผลไม้โพแทสเซียมสูงในปริมาณเยอะ อาจทำให้เกิดไตวายฉับพลันได้ ดังนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรเลือกทานผลไม้ที่มีโพสแทสเซียมต่ำแทน เช่น มังคุด เงาะ สับปะรด ชมพู่ และแอปเปิล ฯลฯ 

นอกจากผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงเหล่านี้ จะส่งผลต่อผู้ป่วยโรคไต และยังทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นด้วย การตรวจสุขภาพตนเองเบื้องต้นจะช่วยคัดกรองความเสี่ยง และช่วยให้ดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเครื่องวัดความดันดิจิทัลติดบ้านไว้ อุ่นใจได้ เพื่อช่วยประเมินอาการและปรับพฤติกรรมได้ทัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย หรือความดันสูงจนแตะระดับอันตรายนั่นเอง