การเลือกตัวช่วยที่ปลอดภัย เลือกอย่างไร

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารเสริม มีมากมายหลานแบนด์จนล้นตลาด เพราะ ไม่ว่าใครก็สามารถมีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเองได้ เพียงแค่จ่ายเงินและรอรับสินค้า มาทำโฆษณาก็ขายได้ การตลาดดีก็มีชัย ที่เห็นบ่อยๆคือ จ้างเน็ตไอดอลถ่ายรูปคู่กับผลิตภัณฑ์ คนขายได้กำไร แล้วผู้บริโภคได้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจริงหรือ? สิ่งที่กินเข้าไปปลอดภัยไหมเป็น อันตรายหรือเปล่า ไม่มีใครทราบได้เพราะทุกวันนี้ดูเลข อ.ย. อย่างเดียวไม่เพียงพอ

ดังนั้นเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าอะไรปลอดภัยควรกิน และไม่ควรกิน เขาดูจากอะไร วันนี้เราจะพามาดูวิธีการเลือกอาหหารเสริมอย่างไร ให้ปลอดภัยและเห็นผล
1. ต้องมีเลข อ.ย. กำกับ : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ต้องผ่านการควบคุมจากสำนักงานคณะกรรมอาหารและยาเพื่อความปลอดภัย
2. คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ : อาหารเสริมที่ดีไม่ได้ขึ้นอยู่กับประมาณของวัตถุดิบ แต่อยู่ที่คุณภาพ ดังนั้นเราควรหาข้อมูลแหล่งผลิตของอาหารเสริมให้ดีก่อน
3. ส่วนผสมคือหัวใจสำคัญ : อย่าหลงเชื่อโฆษณาของอาหารเสริมจนลืมใส่ใจส่วนผสม ลองหาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มั่นใจก่อนเลือกซื้อ
4. อย่าหลงเชื่อโฆษณาเกินจริง : ในยุคนี้สินค้าด้อยคุณภาพสามารถขายดีได้ด้วยการโฆษณาเกินจริง อย่าหลงเชื่อการรีวิว การถ่ายรูปคู่สินค้าจากคนดังมากเกินไป
5. อาหารเสริมไม่ใช่อาหารหลัก : อาหารเสริมจะเสริมการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น ต้องอาศัยเวลาเพื่อให้เห็นผล อย่าหลงเชื่อสินค้าที่เห็นผลเร็วเกินไป
อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถหยุดการโฆษณาชวนเชื่อบนโลกออนไลน์ได้ แต่ก็ยังมีหลายวิธีที่เราจะเลือกความปลอดภัยให้กับตัวเองได้ จำไว้ว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ดี ควรเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่อาหารเสริมทำร้ายสุขภาพ

นอกจากนนี้ยังควรดูเรื่องความปลอกภัย จากการควบคุมการผลิตของผู้ผลิตด้วยนะคะ กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสักกล่อง จริงๆแล้วผู้ผลิตต้องมีการตรวจสอบต่างๆมากมาย ดังนี้ค่ะ
• ควมคุมการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกและตรวจสอบวัตถุดิบ และ วัสดุบรรจุภัณฑ์ สินค้ามีการผ่านกระบวนการควบคุมและตรวจสอบอย่างเข้มงวด ตามมาตรฐาน GMP
• มีห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา เพื่อวิเคราะห์คุณภาพทางจุลวิทยาและตรวจสอบความสะอาดหรือการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในพื้นที่ปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยอยู่ภายใต้การควบคุมปฏิบัติงานจากนักวิทยาศาสตร์ เพราะการตรวจสอบและเฝ้าระวังความสะอาดของพื้นที่ปฏิบัติงานหรือสายการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเสริมถือเป็นเรื่องสำคัญ
• ศึกษาผลการวิจัย กลไกการทำงาน ปริมาณที่เหมาะสมของสารอาหารแต่ละตัว และเปิดเผยข้อมูลองค์ประกอบที่อยู่ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอย่างชัดเจน และถูกต้องบนฉลาก รวมถึงข้อห้าม หรือข้อควรระวังการใช้เป็นพิเศษหรือไม่ เพราะอาหารเสริมบางชนิดมีผลกับโรคหรือยาบางชนิดได้ เช่น อาหารเสริมประเภท กลูโคซามีน อาจมีผลทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานเปลี่ยนแปลงไป และมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยากลุ่มป้องกันการแข็งตัวของเลือดเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น
• ต้องมีฉลาก อย.(องค์การอาหารและยา) เลขที่ผลิตภัณฑ์ และ เลขที่อนุญาตโฆษณา และฉลากสามารถตรวจสอบเช็คเลข อ.ย. กำกับได้ ทั้งเว็บไซต์ หรือในแอพพลิเคชั่นของอย. “Oyor smart App” ซึ่งจะเปิดให้ใส่เลขทะเบียน เพื่อตรวจสอบได้ว่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนจาก อย.หรือไม่

การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรคัดเลือกที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ มีผลการวิจัยรองรับ และผ่านกระบวนการผลิตและตรวจสอบที่ได้มาตรฐานค่ะ อย่าลืมศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดก่อนการรับประทาน เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณนะคะ

 

Join Tips สุขภาพ bit.ly/LCHgroup

#LCHTHEFITGIRL #LCHFITFIRMFUN