การเตรียมตัว ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างมืออาชีพ

อาการนอนติดเตียง สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายเสื่อมโทรมจนไม่สามารถดูแลตัวเองได้ โดยส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจากโรค การเกิดอุบัติเหตุ และการผ่าตัดใหญ่ ซึ่งภาวะการนอนติดเตียงสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ เพราะเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ หรือแผลกดทับ เป็นต้น ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างถูกวิธีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด

วิธีการเตรียมตัวดูแลผู้ป่วยติดเตียง

การดูแลผู้ป่วยติดเตียง จะต้องดูแลเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเตียงได้ เพราะผู้ป่วยติดเตียงเมื่อต้องนอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานานจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในการดูแล โดยวิธีการเตรียมตัวดูแลผู้ป่วยติดเตียง มีดังนี้

1.การรักษาความสะอาด

สิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงคือการรักษาความสะอาด เพราะผู้ป่วยติดเตียงไม่สามารถลุกขึ้นไปอาบน้ำได้แบบคนทั่วไป ผู้ดูแลจึงต้องมีการเช็ดตัวและทำความสะอาดช่องปากอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการนำผ้าสะอาดมาชุบน้ำแล้วเช็ดให้ทั่วร่างกายของผู้ป่วย หรือการเลือกใช้เก้าอี้อาบน้ำเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาอาบน้ำให้ง่ายกว่าการเช็ดตัวบนเตียง หรือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังห้องน้ำ

2.แผลกดทับจากการนอนเป็นเวลานาน

ผู้ป่วยติดเตียงจะต้องใช้ชีวิตนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา จึงทำให้บริเวณเนื้อเยื่อเหนือปุ่มกระดูกต่าง ๆ ที่มาจากการนอนบนเตียงเป็นเวลานานเกิดภาวะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง เซลล์บางตัวตายจนเป็นแผลที่สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น สะโพก ท้ายทอย ศอก กระดูกก้นกบ ส้นเท้า เป็นต้น ซึ่งแผลจากการกดทับมีโอกาสเกิดการติดเชื้อได้มากขึ้น และอาจส่งผลอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ การแก้ปัญหาจากแผลกดทับจึงสามารถทำได้ด้วยการหาที่นอนโฟมกันแผลกดทับที่มีโครงสร้างในการโอบอุ้มร่างกายได้ทุกส่วน พร้อมปรับโค้งงอได้ตามระดับองศาของเตียง และที่สำคัญควรเลือกที่นอนโฟมกันแผลกดทับที่ผ่านการทดสอบและใช้งานจริงจากโรงพยาบาลชั้นนำในประเทศไทย

3.การกินอาหาร

การกินอาหารเป็นเรื่องที่ยากสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถกินอาหารได้เอง จึงต้องให้อาหารเหลวทางสายยาง ซึ่งก็นำมาสู่ภาวะการกลืนลำบากที่มาจากการสำลักในขณะที่ผู้ป่วยรับประทานอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดปอดอักเสบและติดเชื้อ หากแย่ไปกว่านั้นคือเศษอาหารเข้าไปอุดหลอดลมได้ ดังนั้น ผู้ดูแลควรปรับเตียงผู้ป่วยให้อยู่ในระดับประมาณ 45 – 90 องศา พร้อมกับการปรับหมอนช่วยดันหลังให้ทรงตัวและการปรับอาหารให้เหมาะสม

4.ควรมีอุปกรณ์จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

การมีอุปกรณ์จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแล เช่น เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง หมอนพลิกตัวผู้ป่วย ถุงฉี่ สายสวนปัสสาวะ อ่างสระผม อุปกรณ์ยกตัวผู้ป่วย หรือเครื่องผลิตออกซิเจนที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ หากมีอุปกรณ์เหล่านี้ก็จะทำให้ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงได้ง่ายมากขึ้นและสะดวกได้มากกว่าเดิม

5.สุขภาพจิตของผู้ป่วย

ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ป่วยติดเตียงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผู้ดูแลควรใส่ใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยติดเตียงส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่ายและมีความทุกข์ การหากิจกรรมต่าง ๆ มาให้ผู้ป่วยได้ร่วมเล่นกับผู้ดูแลจึงเป็นเรื่องที่สามารถช่วยคลายความเศร้าและเพิ่มความสุขเล็ก ๆ ให้ผู้ป่วยติดเตียงได้

สรุปเรื่องการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

อย่างไรก็ตาม การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไป ซึ่งการดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นเวลานานอาจทำให้ผู้ดูแลเกิดความเครียดสะสมได้ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงจึงต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน พร้อมการขับถ่ายอย่างถูกสุขลักษณะ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้