แอสปาร์แตม ก่อให้เกิดมะเร็ง?

แอสปาร์แตม ก่อให้เกิดมะเร็ง?

ขึ้นชื่อว่าน้ำตาลเทียม คงปฏิเสธไม่ได้จริงๆว่ามีความสำคัญไม่ต่างจากน้ำตาลทั่วไปเสียแล้ว ในยุคที่ผู้คนใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนัก การดูแลรูปร่าง การรักษาสุขภาพ การป้องกันเบาหวาน ล้วนแต่ใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือกอย่างน้ำตาลเทียม ที่ให้ความหวานได้คล้ายน้ำตาลทราย แต่ให้พลังงานน้อยกว่าหลายเท่ามากๆ

เมื่อนึกถึงน้ำตาลเทียมก็คงจะต้องว่ากันถึง แอสปาร์แตม ซึ่งเป็นสารให้ความหวานชนิดหนึ่ง ที่มีการใช้มายาวนานหลายปี และผสมในเครื่องดื่มและอาหารมากมายหลายชนิด (เนื่องด้วยเป็นวัตถุดิบที่ราคาถูกที่สุด) แต่เชื่อหรือไม่ว่าในน้ำตาลเทียมที่มีแอสปาร์แตมผสมอยู่นั้นมีการถกเถียงถึงเรื่องความปลอดภัยมาอย่างยายนานตั้งหลายทศวรรษ และล่าสุดได้มีงานวิจัยชี้ว่าแอสป์แตม ก่อให้เกิดมะเร็งได้จริงอีกด้วย

 

โทษของแอสปาร์แตม ที่ไม่ถูกเปิดเผย

 

1. ได้รับอนุญาตให้ใช้แม้จะมีรายงานเกี่ยวกับอันตราย

แอสปาร์แตมเป็นสารเคมีที่ถูกค้นพบโดยบังเอิญระหว่างการพัฒนายาเพื่อรักษาแผลเปื่อยของบริษัท G.D. Searle & Company (ต่อมาถูกซื้อกิจการโดยบริษัท Monsanto ในปี 1985) เมื่อค้นพบว่าสารดังกล่าวให้รสชาติหวานที่ใช้ทดแทนน้ำตาลได้ บริษัทจึงเข้ายื่นขอรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ทันที นักวิทยาศาสตร์ที่ FDA ทำการตรวจสอบสารเคมีดังกล่าวกับสัตว์ทดลองและพบว่า เมื่อให้ลิงบริโภคเข้าไปทำให้เกิดอาการชักอย่างรุนแรงและเสียชีวิต การทดลองดังกล่าวจึงถูกระงับโดย FDA ขณะที่บริษัท G.D. Searle & Company ใช้วิธีการรอจนกว่าคณะกรรมการ FDA ชุดใหม่ที่แต่งตั้งโดย โรนัลด์ เรแกน จะเข้าทำงาน และส่งแอสปาร์แตมเข้ากระบวนการอนุมัติอีกครั้ง ด้วยกระบวนการในการคอรัปชั่นและเล่ห์เหลี่ยมของบริษัทเหล่านี้ ทำให้แอสปาร์แตมกลายเป็นสารเคมีที่แม้จะไม่ได้รับการยืนยันว่าปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถใช้ผสมในอาหารได้อย่างถูกกฎหมายกว่า 9,000 ชนิด

ขอบคุณข้อมูลจาก  http://waymagazine.org/

 

2. สามารถก่อให้เกิดอันตรายกับสมอง

กรดแอสปาร์ติก (Aspartic Acid) ในแอสปาร์แตม ซึ่งมีมากที่สุดในส่วนประกอบของน้ำตาลเทียมชนิดนี้ โดยกรดชนิดนี้เป็นกรดอะมิโนที่สามารถเดินทางผ่านตัวกรองที่กั้นระหว่างเลือดและสมอง และหากได้รับกรดแอสปาร์ติกในปริมาณมากๆ จากการบริโภคน้ำตาลเทียมที่มีส่วนผสมของแอสปาร์แตม จะส่งผลให้เซลล์สมองได้รับความเสียหาย และอาจทำให้เซลล์ประสาทเสียหายจนเกิดความผิดปกติกับสมองได้ เช่น โรคลมบ้าหมู อัลไซเมอร์ ฯลฯ

 

3. สารประกอบในแอสปาร์แตมเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งได้

แอสปาร์แตมเป็นสารให้ความหวานที่เกิดขึ้นจากการรวมสารเคมี 3 ชนิดเข้าด้วยกัน นั่นคือกรดแอสปาร์ติก (Aspartic Acid) ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) และเมธานอล (Methanol) แม้ว่าสารทั้งสามจะสามารถกำจัดออกจากร่างกายได้ตามปกติ แต่หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจจะก่ออันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะเมธานอล ที่สามารถแตกตัวให้กลายเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) และกรดฟอร์มิก (Formic Acid) ได้ ซึ่งเมธานอลที่อยู่ในแอสปาร์แตมมีความแตกต่างกับเมธานอลที่พบในอาหารตามธรรมชาติทั่วๆ ไปเช่นในผักและผลไม้ เนื่องจากการผลิตเมธานอลไม่ได้มีการเติมเอธานอล (Ethanol) ลงไปเพื่อป้องกันความเป็นพิษของเมธานอล ดังนั้นหากได้รับในปริมาณที่มากเกินจนร่างกายไม่สามารถกำจัดออกได้หมด อาจจะไปทำลายเนื้อเยื้อที่มีชีวิตและทำให้ DNA ในเซลล์ได้รับความเสียหาย จนอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆ ได้

 

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ว่า แอสปาร์แตม ก่อมะเร็ง

ผลการทดลองของนักวิจัยชาวอิตาเลียน ได้ท้าทายความปลอดภัยของแอสปาร์แตม สารให้ความหวานแคลอรี่ต่ำ ที่พบใน equal, diet coke, และอาหารอื่นๆอีกมากนับพันอย่าง พบว่าหนูที่ได้รับแอสปาร์แตม แม้เพียงจำนวนน้อยๆ ในระดับที่น้อยกว่าที่แนะนำให้ทานได้ในคน จะเป็นมะเร็งมากกว่า การค้นพบนี้ขัดแย้งกับผลการศึกษาส่วนใหญ่ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ ซึ่งบอกว่าแอสปาร์แตมนั้นปลอดภัย

โมรันโดและทีมงานที่ศูนย์วิจัยมะเร็งในอิตาลี ตัดสินใจทดสอบแอสปาร์แตมซ้ำอีกครั้ง ผลการทดลองได้ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Health Perspective นอกจากนี้เขายังกำลังทดสอบสารในอาหารอื่นๆที่เชื่อว่าปลอดภัยตั้งแต่ วิตามินจนถึงน้ำอัดลม

ในการทดลองครั้งนี้ นักวิจัยได้ให้หนู 1800 ตัว กินแอสปาร์แตมตั้งแต่อายุ 8 สัปดาห์ และปล่อยให้หนูมีชีวิตจนสิ้นอายุขัยตามธรรมชาติ คือประมาณ 3 ปี หลังจากที่หนูตายก็เอาเนื้อเยื่อมาตรวจดูว่ามีตัวไหนบ้างที่เป็นมะเร็ง

ผลปรากฎว่า มะเร็งบางชนิดพบมากขึ้นในหนูที่ได้รับแอสปาร์แตมแม้ในขนาดต่ำๆ คือ 20-500 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว พบว่าประมาณ 20% ของหนูตัวเมียที่ได้แอสปาร์แตมเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาว ในขณะที่หนูที่ไม่ได้กินแอสปาร์แตมเป็นมะเร็งเพียง 9% ส่วนหนูตัวผู้ต้องกินแอสปาร์แตมมากกว่าหนูตัวเมียหลายเท่าถึงจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเท่ากัน และหนูทั้งหมดทั้งที่กินและไม่กินแอสปาร์แตมมีอายุขัยพอๆกัน

 

ยังมีน้ำตาลเทียมชนิดอื่นที่ปลอดภัย

จากข้อมูลดังกล่าวหลายท่านอาจจะเกิดความท้อใจแล้วว่า น้ำตาลเทียมอันตรายและไม่คิดจะทานน้ำตาลเทียมแล้ว ไม่ต้องกังวลไป ที่จริงแล้วยังมีน้ำตาลเทียมอีกมาก ที่ปลอดภัยต่อร่างกายเรา เช่น ซอร์บิทอล (น้ำตาลข้าวโพด) ซูคราโลส (น้ำตาลผลไม้) ซึ่งมีรายงายว่าปลอดภัยจริง แต่น้ำตาลประเภทนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทยเท่าใดนัก เพราะคนไทยยังขาดความรู้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียรู้พลิกกล่องและอ่านฉลากสักนิดว่าน้ำตาลเทียมที่ท่านกำลังจะเลือกซื้อนั้น มีแอสปาร์แตมหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยในระยะยาวค่ะ