โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร เพื่อหาวิธีป้องกัน

โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร เพื่อหาวิธีป้องกัน

โรคกระดูกพรุน เกิดจากอะไร? มาไขข้อสงสัยกัน ต้องบอกก่อนเลยว่าเมื่อคนเราเริ่มอายุมากขึ้น ปัญหาสุขภาพมักถามหาโดยเฉพาะมวลกระดูกที่เปราะบาง และความแข็งแรงของกระดูกที่เริ่มเสื่อมถดถอยลง ซึ่งเป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุขึ้น 

แต่ส่วนใหญ่แล้วเราต่างมักจะจะไม่ค่อยรู้ตัวและไม่สามารถสังเกตได้ในช่วงแรก จึงเกิดเป็นภัยเงียบที่สะสมในร่างกาย และไม่รับรู้ถึงการค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย กว่าจะรู้อีกทีกระดูกก็สึกหรอจนเกินเยียวยาซะแล้ว ในบทความนี้จะมาไขข้อสงสัยกันว่าโรคกระดูกพรุนเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุอย่างไรบ้างไปพร้อมกัน

7 สาเหตุของโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

7 สาเหตุของโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

‘’โรคกระดูกพรุน‘’ ภัยเงียบในผู้สูงอายุที่ต้องระวัง ในข้อสงสัยที่ว่าโรคกระดูกพรุนเกิดจากอะไร? ในหัวข้อนี้เรามีคำตอบให้ทุกคนกัน ในปัจจุบันประเทศไทยตอนนี้มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นปีละหลายแสนคน เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่เห็นได้ชัดว่าประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ทำให้การดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นล้วนส่งผลให้ร่างกายเสื่อมสภาพและไม่แข็งแรงเช่นเดิม ซึ่งหนึ่งในโรคที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุนั่นก็คือโรคกระดูกพรุนนั่นเอง โดยโรคนี้มักเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

1. อายุที่เพิ่มขึ้น

โรคกระดูกพรุนเกิดจากสาเหตุหลักเลยนั่นก็คืออายุที่มากขึ้น ซึ่งอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มักจะเพิ่มขึ้นตามอายุ และตามร่างกายที่เสื่อมสภาพลง รวมไปถึงเซลล์สร้างกระดูกก็ล้วนมีจำนวนลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ไม่เพียงพอต่อการสร้างมวลกระดูกใหม่ ๆ จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของโรคนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดในผู้สูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง

2. เพศ

แม้โรคกระดูกพรุนจะเกิดได้ทั้งในเพศชายและหญิง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ยิ่งหากเป็นเพศหญิงที่เข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือนหรือมีการตัดรังไข่ออก จะเกิดการสลายมวลกระดูกเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม จากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ทำให้เนื้อกระดูกจะลดลงตาม เพราะฉะนั้นผู้หญิงจึงมีโอกาสเกิดกระดูกหักได้มากกว่าในเพศชายสูงสุดถึง 50 % เลยทีเดียว

3. ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

โรคกระดูกพรุนเกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญเลยก็ว่าได้ เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลจะเพิ่มเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนขึ้นได้ ซึ่งฮอร์โมนที่มีผลต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน มีดังต่อไปนี้

  • การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง
  • การลดลงของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ในเพศชาย
  • ต่อมไทรอยด์ที่มีปัญหา ซึ่งทำให้ส่งผลกระทบต่อระบบฮอร์โมน

4. สารอาหารไม่เพียงพอ

นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว โรคกระดูกพรุนก็อาจเกิดจากร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูกได้เช่นกัน โดยการรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ส่งผลทำให้ร่างกายเสียสมดุล แล้วยังอาจขาดสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและการสร้างมวลกระดูก ไม่ว่าจะเป็น Vitamin D, แคลเซียม และโปรตีน เป็นต้น

5. ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

โรคกระดูกพรุนเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถนอมสุขภาพร่างกายก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่น  โดยมีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมดังต่อไปนี้

  • การสูบบุหรี่ : การรับสารพิษจากควันบุหรี่เข้าไปในร่างกาย จะส่งผลให้การทำงานของเซลล์กระดูกมีประสิทธิภาพลดลงได้
  • ไม่ออกกำลังกาย : พฤติกรรมเช่นนี้อาจไม่คาดคิดว่าจะร้ายแรงถึงขั้นเกิดโรคนี้ขึ้น ทว่าเราขยับร่างกายน้อยจนเกินไป หรือไม่มีการขยับร่างกาย ก็อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง และเกิดการสร้างมวลกระดูกลดน้อยลงได้
  • การรับประทานอาหาร : หากรับประทานเกลือไม่ต่ำกว่า 1 ช้อนชาต่อวัน หรือน้ำอัดลมไม่ต่ำกว่า 4 กระป๋องต่อสัปดาห์ จะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนสูงกว่าปกติ เพราะสิ่งเหล่านี้จะลดการดูดแคลเซียม จึงทำให้ร่างกายสร้างมวลกระดูกได้น้อยลงนั่นเอง
  • แอลกอฮอล์ : การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากกว่า 3 แก้วต่อวัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนสูงกว่าปกติ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปรบกวนสมดุลแคลเซียมในร่างกาย

การพักผ่อนให้เพียงพอ : จะส่งผลให้สุขภาพดีทั้งเรื่องฟื้นฟูกำลัง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้ระบบการทำงานในร่างกายเป็นปกติ หากนอนไม่เพียงพอ นอนหลับยาก จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แย่ตามไปด้วย เพราะฉะนั้นการเลือกเตียงนอนผู้สูงอายุที่มีคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

6. ประวัติครอบครัว

แนวโน้มการเกิดโรคกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดมากขึ้น หากคนในครอบเคยมีประวัติเป็นโรคนี้มาก่อน หรือสมาชิกในบ้านมีอาการกระดูกสะโพกหัก รวมทั้งกระดูกส่วนอื่น ๆ ในร่างกายแตกหักง่าย ก็มีโอกาสที่คุณจะมีภาวะกระดูกพรุนได้เช่นกัน

7. การใช้ยาบางชนิด

โรคกระดูกพรุนเกิดจากการได้รับยาบางชนิดมาเป็นระยะเวลานาน จนส่งผลทำให้มวลกระดูกบางลงกว่าเดิมได้ โดยตัวอย่างยาที่เป็นส่วนหนึ่งทำให้เกิดโรคนี้ เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์, ยารักษากรดไหลย้อน, ยารักษาโรคมะเร็ง และยาป้องกันการชัก เป็นต้น

วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

แม้โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ จะเกิดจากความเสื่อมของร่างกายที่มักจะเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่ก็สามารถป้องกัน และชะลอการเกิดโรคนี้ได้ ดังนี้

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ : จะเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย กระดูกแข็งแรง ไม่เปราะ ในผู้สูงอายุควรเน้นอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินต่าง ๆ โดยเฉพาะวิตามินดี วิตามินซี และอื่น ๆ
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ : เป็นอีกวิธีหนึ่งวิธีที่ช่วยทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว และมวลกระดูกแข็งแรง โดยเน้นการออกกำลังกายในท่าที่ลงน้ำหนักที่เท้าเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกระโดดตบ กระโดดเชือก ตะกร้อ วิ่ง หรือเดิน  แต่หากเริ่มอายุมากมีอาการปวดบริเวณข้อเข่า จะแนะนำให้เดินออกกำลังกายเป็นหลัก
  3. งดสูบบุหรี่ : เนื่องจากมีสารพิษที่อยู่ในบุหรี่อันตรายต่อร่างกาย ทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูก จึงทำให้กระดูกบางลง
  4. งดเครื่องดื่มส่วนผสมที่มีแอลกอฮอล์ : รวมไปถึงการดื่มไวน์ ชา กาแฟ ที่มีส่วนประกอบเป็นคาเฟอีนด้วย เพราะยิ่งดื่มมากโอกาสกระดูกพรุนก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย

ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต : การดูแลตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่ถนอมสุขภาพ เช่น จากที่ไม่เคยออกกำลังกายก็เปลี่ยนเป็นไปวิ่ง หรือเดินออกกำลังกายเพิ่มบ้าง

สรุปบทความ

โรคกระดูกพรุน เกิดจากอะไร? จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเกิดได้หลายสาเหตุ ล้วนแล้วเป็นพฤติกรรมที่หลาย ๆ ท่านปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันนี้ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ จึงควรต้องปรับพฤติกรรมและมีวิธีการป้องกันโรคนี้อย่างถูกวิธี เพราะโรคนี้ถือเป็นภัยเงียบตัวการร้ายที่พบมากในผู้สูงอายุนั่นเอง 

อย่างไรก็ตามเมื่อเริ่มอายุมากขึ้น ควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดและตรวจเช็กความหนาแน่นของมวลกระดูกเป็นประจำ ที่สำคัญเลยควรระมัดระวังการอุบัติเหตุ การหกล้มต่าง ๆ  ของผู้สูงอายุ เพราะในผู้สูงอายุเพียงเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อยกระดูกก็สามารถแตกหรือหักได้ง่าย หากปล่อยละเลยภาวะนี้ไปนาน ๆ  โดยไม่ดูแลก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนอันตรายถึงชีวิตได้