เมื่อความดันโลหิตสูง

เมื่อความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิต (blood pressure) หมายถึง ความดันภายในหลอดเลือดแดงซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อปั๊มเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ความดันภายในหลอดเลือดนี้จะมีอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ขณะที่หัวใจกำลังคลายตัวก็ตาม เพราะการไหลเวียนของเลือดต้องมีอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นความดันในหลอดเลือดจึงมีอยู่ตลอดเวลาการทำงานของหัวใจคล้ายก๊อกหรือปั๊มน้ำคอยสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อเลือดไหลแรงดี ความดันก็จะดีด้วย แต่หากหัวใจบีบตัวไม่ดี เลือดไหลอ่อน ความดันก็จะลดลง นอกจากนั้นแล้วความดันในหลอดเลือดยังขึ้นกับสภาพของหลอดเลือดด้วย หากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดี จะปรับความดันได้ดีไม่ให้สูงเกินไป แต่หากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น หรือแข็งตัว ก็จะทำให้ความดันเปลี่ยนแปลงไปด้วย

 

เครื่องวัดความดันโลหิต

1.เครื่องมือที่ใช้วัดความดันโลหิตที่เป็นมาตราฐาน ประกอบด้วยผ้าที่มีถุงลมพันที่แขน และใช้ปรอทแสดงค่าความดันที่วัดได้ ในขณะวัดความดันโลหิต ผู้ถูกวัดความดันโลหิตควรจะอยู่ในท่านั่งสบายๆ วัดหลังจากนั่งพักแล้ว 5 นาที และไม่วัดหลังจากดื่มกาแฟ หรือสูบบุหรี่

2.ขนาดของผ้าพันแขนต้องมีขนาดเหมาะสมกับแขนผู้ถูกวัดด้วย หากอ้วนมากแล้วใช้ผ้าพันแขนขนาดปกติ ค่าที่ได้จะสูงกว่าความเป็นจริง

3.การปล่อยลมออกจากที่พันแขนมีความสำคัญอย่างมาก ต้องปล่อยลมออกช้าๆ มิฉะนั้นจะทำให้ได้ค่าที่ผิดไปจากความเป็นจริงมาก

4.เครื่องวัดความดันก็ต้องได้มาตราฐาน ไม่ใช้เครื่องเก่ามากหรือมีลมรั่ว เป็นต้น

5.ตำแหน่งของเครื่องวัดก็ควรอยู่ระดับเดียวกับหัวใจ และต้องวัดซ้ำๆ เพื่อหาค่าเฉลี่ย

6.ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ออกแบบมาให้วัดความดันโลหิตได้ง่าย และสะดวกขึ้นโดยผู้วัดไม่จำเป็นต้องมีความรู้เลยเพียงแค่ใส่ถ่าน พันแขน และกดปุ่ม เครื่องจะวัดให้เสร็จ อ่านค่าเป็นตัวเลข เครื่องแบบนี้มีขายตามศูนย์การค้าทั่วไป โดยทั่วไปแล้วใช้งานได้ดี แต่ก็ต้องนำเครื่องมาตรวจสอบความถูกต้องเป็นครั้งคราว ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรมีเครื่องชนิดนี้ไว้วัดที่บ้านด้วย

7.ในอนาคตอาจจะเลิกใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท ส่วนหนึ่งเนื่องจากผลทางสิ่งแวดล้อม เนื่องจากปรอทเป็นสารที่อันตราย และอีกเหตุผลหนึ่ง คือใช้เทคนิคมากในการวัดให้ถูกต้อง

 

เตรียมพร้อมก่อนวัดความดันโลหิต

1. ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ

2. นั่งพักผ่อนอย่างน้อย 5 นาที

3. ถ้าใส่เสื้อแขนยาวห้ามม้วนจนรัดต้นแขน เพราะจะทำให้วัดได้ค่าต่ำกว่าปกติ

4. ผ้าที่พันต้องใช้ขนาดที่เหมาะสมกับแขนผู้ป่วย

5. ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ชา กาแฟ ก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที

6. ไม่รับประทานยากระตุ้นระบบประสาท เช่น ยาลดน้ำมูก ยาขยายรูม่านตาเป็นต้น

7. ถ้าปวดปัสสาวะ ให้ไปเข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายปัสสาวะเสียก่อนเทคนิคการวัดความดันโลหิตที่ผิดพลาด 1.ตำแหน่งของเส้นเลือดที่ทำวัดความดันโลหิตไม่อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ

8. ปล่อยลมออกจากผ้าพันแขนเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป อัตราที่เหมาะสม คือ 2 มิลมิเมตรปรอทต่อจังหวะหัวใจเต้นหนึ่งครั้ง

9. ความดันโลหิตที่วัดครั้งแรกมักจะสูงกว่าความเป็นจริง จากการศึกษาวิจัยพบว่าค่าความดันโลหิตที่ได้จากการวัดครั้งที่มีความแม่นยำถูกต้องมากที่สุด

10. รัดผ้าพันแขนแน่นหรือหลวมเกินไป ทำให้ค่าที่ได้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง