อารยสถาปัตย์ คืออะไร?

อารยสถาปัตย์ การออกแบบเพื่อทุกคนในสังคม

ในไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีงาน Thailand friendly design ที่เกี่ยวกับการออกแบบเพื่อมวลมนุษยชาติ หรือที่เราเคยได้ยินว่า อารยสถาปัตย์นั่นเอง อันที่จริงแล้วอารยสถาปัตย์นั้นไม่ได้จำแนกเฉพาะคนที่ใช้รถเข็นผู้ป่วย แต่ยังรวมถึงคนทั่วไป เช่น คนตัวสูง คนตัวเตี้ย คนแคระ หรือคนที่ผิดปกติต่างๆ โดยไม่ต้องนั่งรถเข็นผู้ป่วย ซึ่งอารยสถาปัตย์เป็นการตอบโจทย์ให้กับคนทุกประเภท

ลองคิดดูว่า หากวันหนึ่งเราไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติอย่างที่เคยเป็น ไม่ว่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอย่างกระทันหัน กลายเป็นคนทุพลภาพหรือจากอายุที่เพิ่มขึ้น เราจะลำบากมากแค่ไหน เราจะยอมรับ และใช้ชีวิตในสังคมต่อไปได้หรือไม่ เช่น จากที่เคยใช้ขาเดิน จะต้องเปลี่ยนมานั่งรถเข็น จากที่เคยมองเห็นจะต้องใช้ไม้เท้านำทาง สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ผู้คนเหล่านั้นใช้ชีวิตต่อไปได้คือ การยอมรับและให้โอกาสของคนในสังคม

 

อารยสถาปัตย์ คืออะไร

อารยสถาปัตย์ (Universal Design) เป็นแนวคิดการออกแบบสภาพสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย สถานที่ สิ่งของรอบตัวเรา เพื่อตอบสนองการใช้งานของสมาชิกในสังคม โดยที่ไม่ต้องออกแบบหรือจัดทำขึ้นสำหรับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ไม่ว่าพวกเค้าเหล่านั้น จะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย วัยเด็กหรือวัยชรา ใช้รถเข็นผู้ป่วยหรือไม่ใช้รถเข็นผู้ป่วยก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ทางขึ้นบันไดแม้จะมีเพียง 4-5 ขั้น ก็ต้องทำทางลาดชันไว้สำหรับผู้นั่งรถเข็นผู้ป่วยจะได้เข็นขึ้นได้ด้วยตนเอง อีกทั้งทางลาดนั้นต้องมีแรงเสียดทานเพื่อไม่ให้ผู้ใช้รถเข็นลื่นถไลไปตามทาง

จะเห็นว่าการออกแบบดังกล่าวจะเน้นประโยชน์สูงสุดของคนในสังคมร่วมกัน โดยไม่มีข้อจำกัด เช่น การทำทางลาดขึ้นลง ทางเท้า และอาคารสถานที่ต่างๆ ให้กับผู้พิการที่ใช้รถเข็น หรือ บล็อกทางเดินสำหรับคนตาบอด เพื่อให้พวกเค้าเหล่านั้น ใช้ชีวิต นอกบ้านได้อย่างสะดวก และปลอดภัย

 

การรณรงค์

อันที่จริงแล้วอารยสถาปัตย์ ไม่ใช่เรื่องที่พึ่งจะมารณรงค์ หรือจริงจังในไม่กี่ปีนี้ (จะเห็นได้จากรายการของคุณกฤษณะ ละไล ที่รณรงค์ในเรื่องอารยสถาปัตย์มานานหลายปีแล้ว) ซึ่งในหลายๆ ประเทศได้เห็นความสำคัญของ คนพิการ คนสูงอายุ และเด็ก มานานแล้ว อย่างเช่น ประเทศญี่ปุุ่น ที่ได้เริ่มอนุญาตให้มีกฎหมายอาคาร รวมถึงอุปกรณ์และพื้นที่ใช้งานให้มีมาตรฐาน สำหรับผู้พิการและด้อยโอกาส เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พวกเขาเหล่านั้น Universal Design จะแบ่งออกเป็นหัวข้อหลักๆ ได้แก่ การออกแบบภายในที่พักอาศัย ภายนอกที่พักและสถานที่บริการสาธารณะ การออกแบบเพื่อความปลอดภัย การออกแบบเพื่อความเป็นระเบียบของเมือง และการออกแบบสัญลักษณ์และองค์ประกอบอื่นๆ

 

อารยสถาปัตย์กับสังคมไทย

สำหรับสังคมไทยที่ต้องเริ่มประเข้ามาเป็นอารยสถาปัตย์ในช่วงนี้ เพราะ สังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุแล้ว เนื่องจากอัตราการเกิดของประเทศไทยน้อยลงทุกปี และพบผู้นั่งรถเข็นจำนวนมาก อีกทั้งประเทศของเราเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้ว เพื่อรองรับเพื่อนบ้านชาวอาเซียน และผู้คนจากทั่วโลก ให้สมกับเป็นใจกลางเมืองท่องเที่ยวแห่งอาเซียน การมีอารยสถาปัตย์ที่ตอบโจทย์ให้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ผู้ใช้รถเข็น ผู้เดินด้วยตนเอง จะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวมของเรามาก