ไข้ชัก (Febrile seizure)

ไข้ชัก (Febrile seizure)

โรคไข้ชัก (Febrile seizure หรือ Febrile convulsion) หมายถึง การชักที่เมื่อวัดไข้แล้วพบว่ามีไข้สูงมากกว่า 38.4 องศาเซลเซียส โดยไม่มีการติดเชื้อในระบบประสาทหรือความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย และไม่เคยมีประวัติชักโดยไม่มีไข้ร่วมด้วยมาก่อน พบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี ในเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปีแล้ว พบได้น้อยมาก

 

โรคไข้ชักเกิดจากอะไร?

สาเหตุที่แท้จริงของการชักในเด็กวัดไข้แล้ว ยังมีไข้สูงโดยไม่ทราบแน่ชัด แต่มีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เพราะมักมีประวัติโรคไข้ชักตอนเป็นเด็กของคนในครอบครัวร่วมด้วย และสาเหตุของไข้มัก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจส่วนบน คือ โพรงจมูกและลำคอ (เช่น โรคไข้หวัดใหญ่) เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้อาจเกิดจากโรคหัดกุหลาบ (Roseola) โรคไข้ขึ้นผื่นชนิดหนึ่งในเด็กเล็ก โดยเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส (Herpes) และจากหูชั้นกลางอักเสบติดเชื้อ

 

โรคไข้ชักมีอาการอย่างไร?

ส่วนใหญ่ของโรคไข้ชัก มักมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวภายใน 24 ชั่วโมง และจะมีไข้สูง ส่วนน้อยที่มีอาการชักเกิดก่อนการมีไข้หรือหลังจากมีไข้แล้ว 24 ชั่วโมง จึงควรใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้อย่างสม่ำเสมอ โดยชักแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่วินาที และชักเพียงครั้งเดียวในการเป็นไข้ครั้งนั้น นอกจากนั้น หลังชักจะไม่มีอาการ แขนขาอ่อนแรงตามมา

 

การดูแลรักษาโรคไข้ชักในเด็กทำได้อย่างไร?

ในขณะเด็กชัก ควรระวังเรื่อง การหายใจ การสำลัก และอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น เช่น การตกเตียง โดยควรจับเด็กให้นอนตะแคง เพื่อเปิดทางเดินหายใจ ป้องกันการสำลัก และระวังไม่ให้ตกเตียง ไม่ต้องพยายามจับหรือกอดรัดเด็กให้หยุดชัก หากเด็กกัดฟัน ไม่ควรพยายามงัดปากเด็กเพื่อเอาสิ่งของใส่ในปาก เนื่องจากทำให้เยื่อบุช่องปากเด็กฉีดขาดหรือฟันหักและหลุดเข้าอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งโอกาสที่เด็กจะกัดลิ้นตัวเองมีน้อย ในระหว่างนี้ควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้เด็กด้วยน้ำอุ่น หากเด็กรู้ตัว ให้รับประทานยาลดไข้ เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ไม่ควรกินยาแอสไพริน เพราะเด็กอาจแพ้ยาได้ (การแพ้ยาแอสไพริน) จากนั้นเมื่อเด็กหยุดชัก รีบนำเด็กส่งโรงพยาบาล ที่โรงพยาบาล แพทย์จะดูแลเรื่องการหายใจ ความดันโลหิต และหากเด็กยังชักอยู่ แพทย์จะให้ยาเพื่อหยุดอาการชักทางหลอดเลือดดำหรือทางทวารหนัก และลดไข้โดยการเช็ดตัวเด็ก และให้ยาลดไข้ อีกเรื่องที่สำคัญคือต้องพยายามวัดไข้ของเด็กสม่ำเสมอ หลายครั้งที่อาการไข้ชักจะแสดงอาการก่อนล่วงหน้าผ่านทางอุณหภูมิ หากวัดไข้แล้วอุณหภูมิเริ่มสูงจะได้เตรียมการรักษาให้ถูกต้อง

 

ผลแทรกซ้อนของโรคไข้ชักมีอะไรบ้าง?

โรคไข้ชักมีภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่ควรระวังจะเป็นเรื่องการหายใจ การสำลัก และอุบัติเหตุ เช่น การตกเตียง ไม่พบการเสียชีวิตจากโรคไข้ชัก และไม่พบความพิการเกิดขึ้นจากโรคไข้ชักในเด็กที่ไม่มีความพิการมาก่อน รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อผลการเรียน และสติปัญญาในอนาคต

 

มีโอกาสชักซ้ำเมื่อมีไข้ครั้งต่อไปหรือไม่?

โอกาสชักซ้ำในการมีไข้สูงครั้งต่อไปพบได้ประมาณ 31% ไม่มีประโยชน์ในการรับประทานยากันชักต่อเนื่องทุกวันเพื่อป้องกันการเกิดโรคไข้ชักซ้ำ แต่การรับประทานยาไดอะซีแพม (Diazepam, ไม่ควรซื้อยากินเอง ควรเป็นการแนะนำจากแพทย์เท่านั้น) ในขนาด 1 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม/วัน โดยแบ่งให้รับประทานทุก 8 ชั่วโมงขณะที่มีไข้สูง โดยรับประทานนานประ มาณ 2 – 3 วัน สามารถลดโอกาสเกิดชักซ้ำได้เหลือประมาณ 22% แต่ยานี้อาจทำให้เด็กง่วงซึม เดินเซได้ ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาการให้ยานี้ร่วมกันกับผู้ปกครอง อย่างไรก็ตาม แม้ยังไม่มีความชัดเจนของประโยชน์ของยากันชักในการป้องกันโรคไข้ชักซ้ำ แต่การลดไข้เด็กด้วยการรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) และเช็ดตัวลดไข้เด็กด้วยน้ำอุ่น จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคไข้ชักได้ อีกทั้งการวัดไข้อย่างต่อเนื่องจะช่วยป้องกันได้

 

มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคลมชักหรือโรคลมบ้าหมูต่อไปหรือไม่?

เด็กที่เป็นโรคไข้ชักมีโอกาสเป็นโรคลมชักหรือโรคลมบ้าหมูสูงกว่าเด็กปกติประมาณ 2 เท่า โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคลมชักตามมาคือ เด็กที่มีพัฒนาการช้า หรือพบความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วย มีประวัติโรคลมชักของคนในครอบครัว และการเป็นโรคไข้ชักชนิดซับซ้อน

 

ป้องกันการเกิดโรคไข้ชักได้ไหม?

โรคไข้ชักนี้เกิดเมื่อวัดไข้แล้วเด็กมีไข้สูงเท่านั้น แต่ไม่ได้เกิดในเด็กที่มีไข้สูงทุกคนและเนื่องจากในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ จึงยังไม่มีวิธีป้องกันการชักจากภาวะไข้สูงที่ชัดเจน แต่การดูแลสุขอนามัยที่ดี (การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน/สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ และการรีบรับประทานยาลดไข้ร่วมกับเช็ดตัวลด เมื่อเด็กมีไข้สูง น่าจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้ชักได้

 

เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ต้องแม่นยำ

อย่าชะล่าใจกับการใช้เทอร์โมมิเตอร์ทั่วไปที่อ่านค่าช้า หรือไม่แม่นยำ (โดยเฉพาะการวัดไข้ด้วยเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท) เพราะกว่าจะอ่านค่าได้ลูกน้อยอาจจะชักแล้ว จึงควรเลือกเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ทีคุณภาพดี