นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท (PRIVACY POLICY)

ข้อกำหนดและสิทธิส่วนบุคคล
เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการและผู้ปฎิบัติงานทั้งภาครัฐและเอกชน ควรศึกษาบทบาทและสิทธิของผู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
  1. บุคคลทั่วไปในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) : ควรจะตระหนักและเข้าใจสิทธิของตนเอง อ่านข้อกำหนด วัตถุประสงค์ให้ละเอียดก่อนยินยอมให้ข้อมูล

สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง?

  • สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed)
  • สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)
  • สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)
  • สิทธิคัดค้านการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)
  • สิทธิขอให้ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวตนได้ (Right to erasure; also known as right to be for-gotten)
  • สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)
  • สิทธิการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification)

ทั้งนี้ ควรเก็บบันทึกหลักฐานไว้ หากพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ที่ตกลงกัน ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ

  1. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) : ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คือ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อรับมือกับพ.ร.บ.นี้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอาจจะเริ่มจากการตั้งงบประมาณและขอความสนับสนุนจากผู้บริหารสำหรับการเสริมความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล จากนั้นจัดตั้งกลุ่มผู้ดูแล (Data Protection Officer) ในองค์กรให้ดำเนินการกำหนดประเภท แจกแจงข้อมูล ชี้แจงวัตถุประสงค์ ทบทวน Data Protection Policy และจัดเตรียมข้อกำหนด แนวทางปฏิบัติสำหรับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนจัดทำเอกสารมาตรการความปลอดภัย นอกจากนี้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องส่งเสริมการปรับปรุงพัฒนากระบวนการแจ้งเตือน (Breach Notification) และออกแบบระบบ บริการและผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน (Privacy by Design & Security by Design) พร้อมมุ่งเน้นให้พนักงาน บุคลากร และลูกค้าตระหนักเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมจัดอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคลากรในองค์กร
  2. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) : ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ บุคคลหรือนิติบุคคลที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งจะปฏิบัติหน้าที่เก็บ ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เป็นผู้ดำเนินการจัดมาตรการดูแลความปลอดภัยข้อมูลให้มีความเหมาะสม จัดทำและเก็บรักษาบันทึกรายงาน และเมื่อเกิดเหตุละเมิดจะต้องแจ้งแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลให้ทราบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ฉบับนี้จะใช้บังคับกับผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าการเก็บข้อมูล การใช้ข้อมูล หรือการเปิดเผยข้อมูลจะเกิดขึ้นในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม หากกระทำผิดจะต้องได้รับบทลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องควรปฏิบัติดูแลข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัดรัดกุม

บทลงโทษของผู้กระทำความผิด- โทษทางอาญา

  • จำคุกสูงสุด 1 ปี
  • ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท

– โทษทางแพ่ง

  • จ่ายค่าเสียหายตามจริง รวมถึงค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษสูงสุดสองเท่าของค่าเสียหายตามจริง

– โทษทางปกครอง

  • ปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท
บริษัท สมาพันธ์เฮลธ์ จำกัด เคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงานของบริษัท และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าบุคคลดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครองสิทธิอย่างครบถ้วนตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คณะกรรมการบริษัท สมาพันธ์เฮลธ์ จำกัด จึงอนุมัติให้ใช้นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท (Privacy Policy) เพื่อให้บริษัทมีหลักเกณฑ์ กลไก มาตรการกำกับดูแล และการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างชัดเจนและเหมาะสม

 

  1. ขอบเขตการบังคับใช้ : นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ ใช้บังคับกับบริษัท พนักงานของบริษัท และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของบริษัท
  2. คำนิยาม
    • 1 การประมวลผล (Processing) หมายถึง การดำเนินการใด ๆ กับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การเก็บรวบรวม บันทึก จัดระบบ ทำโครงสร้าง เก็บรักษา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง กู้คืน ใช้ เปิดเผย ส่งต่อ เผยแพร่ โอน ผสมเข้าด้วยกัน ลบ ทำลาย
    • 2 ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดา ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ นามสกุล อีเมล เบอร์โทรศัพท์ IP Address รูปภาพ เชื้อชาติ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง ข้อมูลทางพันธุกรรม ข้อมูลทางชีวภาพ (Biometric data)
    • 3 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) หมายถึง บุคคลธรรมดาที่ข้อมูลส่วนบุคคลสามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
    • 4 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการประมวลข้อมูลส่วนบุคคล
    • 5 ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
    • 6 บริษัท หมายถึง บริษัท สมาพันธ์เฮลธ์ จำกัด และบริษัทย่อยตามงบการเงินรวมของบริษัท สมาพันธ์เฮลธ์ จำกัด
  3. นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ด้านการกำกับดูแลการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Governance)
    • 1 บริษัทจะจัดให้มีโครงสร้างการกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อกำหนดวิธีการและมาตรการที่เหมาะสมในการปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้
      • (1) กำหนดให้มีโครงสร้างองค์กร (Organizational Structure) รวมทั้งกำหนดบทบาท ภารกิจ และความรับผิดชอบของหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพื่อสร้างกลไกการกำกับดูแล การควบคุม ความรับผิดชอบ การปฏิบัติงาน การบังคับใช้ และการติดตามมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
      • (2) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท (Data Protection Officer: DPO) โดยมีบทบาทและหน้าที่ตามที่กำหนดในนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
    • 2 บริษัทจะจัดทำนโยบาย (Policy) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standards) แนวปฏิบัติ (Guidelines) ขั้นตอนปฏิบัติ (Procedures) และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
    • 3 บริษัทจะจัดให้มีกระบวนการบริหารการปฏิบัติตามนโยบาย (Policy Management Process) เพื่อควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทอย่างต่อเนื่อง
    • 4 บริษัทจะดำเนินการฝึกอบรมพนักงานของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พนักงานของบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และทำให้มั่นใจได้ว่าพนักงานของบริษัท ที่เกี่ยวข้องทุกคนผ่านการฝึกอบรม และมีความรู้ความเช้าใจในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
  4. นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ด้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Processing)
    • 1 บริษัทจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นธรรม โปร่งใส และคำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ การกำหนดขอบเขตวัตถุประสงค์การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ให้ทำได้เท่าที่จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมายและแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท อีกทั้งบริษัทจะดำเนินการรักษาความลับ ความถูกต้องสมบูรณ์ และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ
    • 2 บริษัทจะจัดให้มีกระบวนการและการควบคุมเพื่อบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในทุกขั้นตอนให้สอดคล้องกับกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
    • 3 บริษัทจะจัดทำและรักษาบันทึกการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Records of Processing: RoP) สำหรับบันทึกรายการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ให้สอดคล้องกับกฎหมาย รวมทั้งจะปรับปรุงบันทึกการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
    • 4 บริษัทจะจัดให้มีกระบวนการที่ชัดเจนเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการแจ้งวัตถุประสงค์การเก็บรวบรวมและรายละเอียดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notices) และการขอความยินยอม จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสอดคล้องกับกฎหมาย รวมทั้งจัดให้มีมาตรการดูแลและตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว
    • 5 บริษัทจะจัดให้มีกลไกการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งจัดให้มีกลไกการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
    • 6 ในกรณีที่บริษัทส่ง โอน หรือให้บุคคลอื่นใช้ข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะจัดทำข้อตกลงกับผู้ที่รับหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ให้สอดคล้องกับกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลสส่วนบุคคลของบริษัท
    • 7 ในกรณีที่บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่าประเทศ บริษัทจะปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย
    • 8 บริษัทจะทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อครบกำหนดระยะเวลา โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายและแนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท
    • 9 บริษัทจะประเมินความเสี่ยงและจัดทำมาตรการเพื่อบรรเทาความเสี่ยง และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  5. นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ด้านการรองรับการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Rights) บริษัทจะจัดให้มีมาตรการ ช่องทาง และวิธีการเพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้สิทธิของตนได้ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งจะดำเนินการบันทึก และประเมินการตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  6. นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Security)
    • 1 บริษัทจะจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเพียงพอ รวมทั้งดำเนินการป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลและการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
    • 2 บริษัทจะจัดให้มีนโยบายการบริหารจัดการเหตุการณ์ผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Incident Management Policy) และแนวทางการตอบสนองต่อเหตุการณ์ผิดปกติ (Incident Response Program) เพื่อให้สามารถระบุและจัดการกับเหตุการณ์ผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างทันท่วงที
    • 3 บริษัทจะจัดให้มีกระบวนการแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงเจ้าพนักงานของรัฐ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (ในกรณีที่บริษัทเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือเป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลร่วมกัน) และบุคคลอื่นให้สอดคล้องกับกฎหมาย
  7. นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ด้านการกำกับให้เกิดการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Compliance)
    • 1 บริษัทจะจัดให้มีกระบวนการติดตามในกรณีที่กฎหมายเปลี่ยนแปลงไป และปรับปรุงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้ทันสมัยและสอดคล้องกับกฎหมายอยู่เสมอ
    • 2 บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนและปรับปรุงนโยบาย (Policy) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standards) แนวปฏิบัติ (Guidelines) ขั้นตอนปฏิบัติ (Procedures) และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำ เพื่อให้ทันสมัยสอดคล้องกับกฎหมายและสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลา
  8. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ
    • 1 คณะกรรมการบริษัท มีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
      • (1) กำกับให้เกิดโครงสร้างการกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคล และการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องของบริษัท เพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
      • (2) กำกับดูแลและสนับสนุนให้บริษัทดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับกฎหมาย
    • 2 คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Committee) ให้คณะจัดการบริหารความเสี่ยงของบริษัท (Risk Management Committee) ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
      • (1) จัดให้มีโครงสร้างการกำกับดูแลข้อมูลส่วนบุคคลและการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนโยบายการบริหารจัดการเหตุการณ์ผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Incident Management Policy) และแนวทางการตอบสนองต่อเหตุการณ์ผิดปกติ (Incident Response Program) เพื่อให้สามารถระบุและจัดการกับเหตุการณ์ผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างทันท่วงที
      • (2) ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท และรายงานผลการประเมินดังกล่าวให้คณะกรรมการบริษัททราบเป็นประจำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีรวมถึงควบคุมดูแลให้มั่นใจได้ว่าความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการจัดการและแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม
      • (3) กำหนดและทบทวนมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standards) และแนวปฏิบัติ (Guidelines) เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัท สอดคล้องกับกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
      • (4) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองช้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท (DPO)
    • 3 ผู้บริหาร มีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการติดตามควบคุมให้หน่วยงานที่ดูแลปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท และส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดขึ้นกับพนักงานของบริษัท
    • 4 เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท (DPO) มีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรวมถึงหน้าที่ดังต่อไปนี้ <
      • (1) รายงานสถานะการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทราบอย่างสม่ำเสมอ และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทให้ทันสมัยและสอดคล้องกับกฎหมายอยู่เสมอ
      • (2) ให้คำแนะนำพนักงานของบริษัท เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
      • (3) ตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานในบริษัท ให้เป็นไปตามกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
    • 5 พนักงานของบริษัท มีบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
      • (1) ปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standards) แนวปฏิบัติ (Guidelines) ขั้นตอนปฏิบัติ (Procedures) และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
      • (2) รายงานเหตุการณ์ผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
  1. โทษของการไม่ปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท การไม่ปฏิบัติตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท อาจมีความผิดและถูกลงโทษทางวินัยรวมทั้งอาจได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท ฉบับนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ตามมติคณะกรรมการบริษัท สมาพันธ์เฮลธ์ จำกัด วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565

ท่านสามารถใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลดังนี้

  1. ขอรับข้อมูลส่วนบุคคล
  2. คัดค้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้เปิดเผยข้อมูลส่งนบุคคล
  3. โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล
  4. เพิกถอนความยินยอม
  5. ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  6. แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
  7. ลบ ทำลายข้อมูลส่วนบุคคล